svasdssvasds

“โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ความหวัง...ช่วยลดต้นทุนค่าไฟให้ถูกลง

“โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ความหวัง...ช่วยลดต้นทุนค่าไฟให้ถูกลง

“โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ความหวังช่วยลดต้นทุนค่าให้ถูกลง พาส่องขุมกำลังของ กฟผ. กว่า 2,725 เมกะวัตต์ อยู่ที่เขื่อนไหนบ้าง?

SHORT CUT

  • ก่อนหน้านี้“เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี สั่งบูมโซลาร์เซลล์ลอยน้ำในเขื่อนเต็มสูบ 5 พัน - 1 หมื่นเมกะวัตต์ รับเทรนด์พลังงานสีเขียวโลกกำลังเติบโต
  • สอดคล้องกับ "กระทรวงพลังงาน" ย้ำชัด เดินหน้าลดโลกร้อนสู่เป้า Net Zero เร่งลดสัดส่วนฟอสซิล เพิ่มพลังงานสะอาด ลุยนโยบายสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
  •  พาส่องขุมกำลังโซลาร์เซลล์ลอยน้ำของ กฟผ. กว่า 2,725 เมกะวัตต์ อยู่ที่เขื่อนไหนบ้าง?

“โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ความหวังช่วยลดต้นทุนค่าให้ถูกลง พาส่องขุมกำลังของ กฟผ. กว่า 2,725 เมกะวัตต์ อยู่ที่เขื่อนไหนบ้าง?

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ หรือ โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ ถือเป็นนวัตกรรมที่หลายประเทศทั้งในยุโรปและภูมิภาคเอเชียนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด แต่สำหรับโซลาร์เซลล์ลอยน้ำของประเทศไทยยังมีความพิเศษมากขึ้น

โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ได้พัฒนาต่อยอดสู่ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดแบบผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์ กับพลังนํ้าจากเขื่อนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro-floating Solar Hybrid) หรือ โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด จำนวน 16 โครงการทั่วประเทศ กำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน

ทั้งนี้นำร่องที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแห่งแรก มีกำลังผลิตติดตั้ง 45 เมกะวัตต์ และยังนับเป็นโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้แผงโซลาร์เซลล์มากถึง 144,420 แผ่น ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ หรือเทียบเท่า สนามฟุตบอลประมาณ 70 สนาม โดยมีกำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเป็นต้นแบบโรงไฟฟ้าแห่งอนาคต ที่จะเข้ามาแทนโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเป็นรูปธรรม เป็นการผลิตไฟฟ้าแบบไฮบริดระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ควบคุมด้วยระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ร่วมกับการพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System)  เพื่อลดข้อจำกัดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ปกติแล้วจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ โดยนำพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยเสริมความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายแทนพลังน้ำ และนำมวลน้ำมาเสริมความต้องการสูงสุดในช่วงค่ำ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้มากขึ้นและยาวนานขึ้น

ซึ่งโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อนของ กฟผ. ไม่เพียงเป็นพลังงานสะอาดเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์พลังงานเพื่อทุกคน เพราะการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผิวน้ำในเขื่อนของ กฟผ. โดยเฉพาะในพื้นที่เขื่อนสิรินธร คิดเป็นพื้นที่ไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำ จึงไม่กระทบต่อพื้นที่ทางการเกษตร อีกทั้งยังมีค่าไฟฟ้าในอัตราที่ต่ำ เนื่องจากเป็นการพัฒนาโครงการที่มีขนาดใหญ่ (Economy of Scale) บนพื้นที่ผิวน้ำของเขื่อน กฟผ. ที่สามารถลดต้นทุนค่าที่่ดินได้ และใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เต็มประสิทธิภาพ เช่น หม้อแปลง สายส่ง เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายการดำเนินการที่เกี่ยวข้องลงได้ส่งผลให้ได้ราคาที่ถูกและสามารถแข่งขันได้

วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาดูขุมกำลังของ กฟผ. กว่า 2,725 เมกะวัตต์ อยู่ที่เขื่อนไหนบ้าง? รายละเอียดดังนี้

  • ปี2564 เขื่อนสิรินธร 45  เมกะวัตต์
  • ปี2566 เขื่อนอุบลรัตน์ 24  เมกะวัตต์
  • ปี2569 เขื่อนภูมิพล 158  เมกะวัตต์
  • ปี2569 เขื่อนศรีนครินทร์ 140 เมกะวัตต์
  • ปี2570 เขื่อนวชิราลงกรณ 50 เมกะวัตต์
  • ปี2572 เขื่อนศรีนครินทร์(ส่วนขยาย) 280 เมกะวัตต์
  • ปี2573 เขื่อนภูมิพล (ส่วนขยาย) 300 เมกะวัตต์
  • ปี2574 เขื่อนวชิราลงกรณ (ส่วนขยาย)  250 เมกะวัตต์
  • ปี2574 เขื่อนวชิราลงกรณ (ส่วนขยาย)  250 เมกะวัตต์
  • ปี2575 เขื่อนศรีนครินทร์ (ส่วนขยาย2)  300 เมกะวัตต์
  • ปี2576 เขื่อนจุฬาภรณ์ 40 เมกะวัตต์
  • ปี2576 เขื่อนบางลาง 78 เมกะวัตต์
  • ปี2576 เขื่อนบางลาง (ส่วนขยาย2) 320 เมกะวัตต์
  • ปี2577 เขื่อนรัชชประภา 140 เมกะวัตต์
  • ปี2578 เขื่อนสิริกิติ์ 325 เมกะวัตต์
  • ปี2579 เขื่อนรัชชประภา (ส่วนขยาย) 100 เมกะวัตต์
  • ปี2580 เขื่อนสิริกิติ์(ส่วนขยาย)  175 เมกะวัตต์ “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ความหวัง...ช่วยลดต้นทุนค่าไฟให้ถูกลง

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” นอกจากจะเป็นการผลิตไฟฟ้ารองรับอนาคต และจะยังช่วยให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดลงอีกด้วย ที่สำคัญเป็นการนำไปสู่สังคมไร้คาร์บอนอย่างแท้จริงในอนาคต เพื่อคนไทยทุกคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

related