svasdssvasds

น้ำมันยูโร 5 คืออะไร? ช่วยรักษ์โลกยังไง โรงกลั่นลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านบาท

น้ำมันยูโร 5 คืออะไร? ช่วยรักษ์โลกยังไง โรงกลั่นลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านบาท

พาทำความรู้จัก "น้ำมันยูโร 5" คืออะไร? คุณสมบัติช่วยรักษ์โลกยังไง ทำไมธุรกิจโรงกลั่นถึงลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านบาท

ประเทศไทยได้ประกาศใช้น้ำมันยูโร 5 อย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อ 1 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา เพื่อมุ่งลดมลพิษจากยานยนต์สันดาป วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาทำความรู้จักน้ำมันยูโร 5 คืออะไร? ช่วยรักษ์โลกยังไง ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่า น้ำมันยูโร 5 คือ มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดโดยกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อวางกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในการใช้เชื้อเพลิงในภาคขนส่งโดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จะมีการบังคับให้เป็นมาตรฐานน้ำมัน EURO 5 (กำมะถัน ต่ำกว่า 10 ppm) สำหรับดีเซล

นอกจากกำมะถันแล้ว ไพลีโซคลิก อะโรมาติก ไฮโดคาร์บอนจะลดจาก 11% เหลือ 8% โดยน้ำหนัก สำหรับกลุ่มประเทศยุโรปนั้น มีกฎระเบียบกำหนดมาตรฐานไอเสียรถยนต์เพื่อช่วยป้องกันดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ให้มลพิษเกินเกณฑ์มาตรฐานไล่มาตั้งแต่ EURO 1, EURO 2, EURO 3,  EURO 4, EURO 5, EURO 6

การลดมลพิษจากยานยนต์สันดาปภายใน

  • ปรับคุณภาพน้ำมันให้สะอาดตามมาตรฐาน EURO ปัจจุบัน ประเทศไทยมีมาตรฐานบังคับที่ EURO 4 (กำมะถัน ต่ำกว่า 50 ppm หรือ 50 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก)
  • ปรับมาตรฐานไอเสียรถยนต์ให้สะอาดขึ้นตามมาตรฐานไอเสีย EURO ซึ่งจะระบุปริมาณมลพิษ 4 ตัว คือ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ไฮโดรคาร์บอน (HC) และสารมลพิษอนุภาค (PM) โดยวัดเป็นหน่วยกรัม/กิโลเมตร ตามวัฏจักรขับขี่ในห้องปฏิบัติการทดสอบ

ทั้งนี้กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน สนับสนุนการใช้น้ำมันมาตรฐาน EURO 5 โดยในน้ำมันเบนซินจะมีการปรับลดปริมาณกำมะถันเป็นไม่สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน (10 ppm) ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศลดลงอย่างมาก และในส่วนของน้ำมันดีเซลจะมีการปรับลดปริมาณกำมะถันเป็นไม่สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน (10 ppm) และปรับลดปริมาณสาร Polycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAH) ไม่สูงกว่า 8% โดยน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยลดการระบายก๊าซไฮโดรคาร์บอนและออกไซด์ของไนโตรเจนอีกด้วย

แน่นอนว่าการปรับมาใช้น้ำมันยูโร 5 ของไทย ในครั้งนี้ ทำให้โรงกลั่นมีต้นทุนเพิ่ม โดยโรงกลั่นลงทุนรวม 5 หมื่นล้านบาท แต่การราคาปรับขึ้นไม่ถึง 1 บาทต่อลิตร ซึ่งไม่สอดคล้องกัน จึงทำให้ขณะนี้ต้องมีการหารือกันหลายฝ่าย ล่าสุดนายเกรียงไกร เชียรนุกุล  ประธานสภาอุดสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท. ) ได้ทำหนังสือ ถึง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เรื่องความกรุณาปรับราคาหน้าโรงกลั่นจากการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรฐานน้ำมันยูโร 5 ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นมาตรฐานบังคับของประเทศตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 67 เป็นการปรับปรุงคุณภาพตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562

ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM 2.5)’  กำหนดยกระดับมาตรฐานคุณภาพน้ำมันกลุ่มเบนชิน-แก๊สโซฮอล์ และดีเซลหมุนเร็วจากระดับยูโร 4 ให้เป็นยูโร 5 โดยปรับลดกำมะถันจากไม่สูงกว่า 50 เป็นไม่สูงกว่า10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งทุกโรงกลั่นน้ำมัน ได้มีการลงทุนปรับปรุงคุณภาพน้ำมันรวม 5 หมื่นล้านบาท 

อย่างไรก็ตามขณะนี้ทุกโรงกลั่นฯได้ลงทุนปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเป็นยูโร 5 ให้เสร็จภายในระยะเวลา 4 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศฯ เพื่อให้ทันการณ์กับนโยบายภาครัฐที่กำหนดไว้ ท่ามกลางความท้าทายความผันผวนของราคาน้ำมัน โดยมีตันทุน และค่าใช้จ่ายในการผลิตที่สูงกว่าการผลิตมาตรฐานน้ำมันยูโร 4

ในปัจจุบันอันประกอบไปด้วยการลงทุนและการปรับปรุงระบบการกลั่น การปรับชนิดของน้ำมันดิบเป็นชนิดกำมะถันต่ำเพื่อเข้าสู่กระบวนการกลั่น ดังนั้น กลุ่มฯ โรงกลั่นฯ จึงมี ความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น ตามเงื่อนไขและกลไกดลาด จึงขอความอนุเคราะห์ให้พิจารณาปรับราคาน้ำมันที่สะท้อนตามมาตรฐานและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับตลาดน้ำมันในภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับตลาดโลกต่อไป

“มาตรฐานน้ำมันยูโร 5 ที่มีข้อกำหนดหลักเพื่อใช้ควบคุม คือ ปริมาณกำมะถัน สารอะโรเมติกส์ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ระดับหนึ่ง มีข้อมูลอ้างอิงในกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกา หรือสิงคโปร์ มีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นหลังจากการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยมลภาวะอย่างเข้มงวด”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related