svasdssvasds

เศรษฐา ปักธงแก้หนี้นอกระบบวาระแห่งชาติ ดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายต้องหมดไป

เศรษฐา ปักธงแก้หนี้นอกระบบวาระแห่งชาติ ดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายต้องหมดไป

เศรษฐา ปักธงแก้หนี้นอกระบบวาระแห่งชาติ ลั่นจ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น จี้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดการแก้ไขหนี้สินรายย่อยเชิงรุก เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินที่ต้นทางให้ประชาชน

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่าน X ระบุว่า...ความรับผิดชอบในการจัดการเรื่องหนี้นอกระบบ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกฝ่ายต้องหาแนวทางในการแก้ไข เพราะเป็นปัญหาที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ซึ่งผมตั้งใจให้เป็นวาระแห่งชาติ

เศรษฐา ปักธงแก้หนี้นอกระบบวาระแห่งชาติ ดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายต้องหมดไป

เพราะในบางครั้งมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยที่สูงเกินกฎหมาย และลูกหนี้ต้องรับภาระหนี้ที่เกินเงินต้นเป็นจำนวนมากเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ผมได้สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหาแนวทางในการจัดการแก้ไขหนี้สินรายย่อยเชิงรุก เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินที่ต้นทางให้ประชาชนครับ

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่  2 พ.ย. 2566 ได้เกิดดราม่าเกี่ยวกับดอกเบี้ยจนกลายเป็นกระแสสังคม โดย มีผู้ใช้เฟซบุ๊กของหญิงสาวรายหนึ่ง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กพร้อมลงรูปการชำระเงิน โดยระบุว่า 

“ชาติไหนหมดเนี่ย หนักเลยวันนี้ ไปตัดต้น 5฿ ฝากถึงคนที่จะกู้บ้าน5555555ตาย 2ปีแรกชิว พอปีที่3…. รอรีไฟแนนซ์!!!”

เศรษฐา ปักธงแก้หนี้นอกระบบวาระแห่งชาติ ดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายต้องหมดไป  

 

 

อย่างไรก็ตามข้อมูลของทั้งสองฝ่ายยังน้อยเกินไปที่จะระบุได้ว่าเรื่องทั้งหมดเป็น,kอย่างไร แต่วิธีการที่ช่วยประหยัดดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย สามารถทำง่ายๆได้ดังนี้

  • จ่ายบัตรเครดิตเต็มจำนวน-ตรงเวลา (เน้น)เพื่อให้ได้ประโยชน์จากระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย และไม่ควรใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดออกมา
  • สินเชื่อบ้าน-คอนโด ทยอยโปะ (ถ้าไหว) (เน้น)จะช่วยลดเงินต้นได้เพิ่มขึ้น ประหยัดดอกเบี้ย ควรโปะในวันที่ครบกำหนดชำระทุกเดือน หากอยากตัดเงินต้นเต็มจำนวน
  • เช่าซื้อรถจ่าย ก้อน-โปะ-ปิด-จบ (เน้น) ต้องจ่ายเงินก้อนโปะปิดบัญชีครั้งเดียว ถึงจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 
  • ดูอัตราดอกเบี้ยให้เคลียร์- เทียบให้ชัด (เน้น) ควรแปลงดอกเบี้ยให้เป็น % ต่อปี เพื่อเทียบความคุ้มค่าในการขอสินเชื่อจากเจ้าหนี้หลายๆ ราย จะได้ไม่เสี่ยงกับดอกเบี้ยแพง -หนี้สินเยอะจนจ่ายไม่ไหว

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related