svasdssvasds

ลาซาด้า เริ่มเลิกจ้างพนักงานทั่วอาเซียน หลายร้อยตำแหน่ง เหตุปรับโครงสร้าง

ลาซาด้า เริ่มเลิกจ้างพนักงานทั่วอาเซียน หลายร้อยตำแหน่ง เหตุปรับโครงสร้าง

Lazada "ลาซาด้า" เตรียมปลดพนักงานหลายร้อยอัตราทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยให้เหตุผลเรื่องการปรับโครงสร้างของบริษัทเพื่อรองรับอนาคต ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดจากคู่แข่งอย่างช้อปปี้ และติ๊กต็อก

Lazada (ลาซาด้า) บริษัทในเครือ Alibaba (อาลีบาบา) อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน ได้เริ่มปลดพนักงาน เมื่อวันที่ 3 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา โดยพนักงานที่ถูกปลดออกในรอบนี้ มีผลกระทบกับพนักงานในทุกระดับ จำนวนรวมหลายร้อยตำแหน่ง  โดยมีผลกับ สำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสำนักงานสิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากที่สุด

Lazada (ลาซาด้า) ปลดพนักงาน

สำนักข่าว CNBC รายงานว่าโฆษกของ Lazada ในสิงคโปร์ไม่ได้ยืนยันว่าจะปลดพนักงานออก แต่อธิบายว่าบริษัทกำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานการ เพื่อการทำงานที่คล่องตัวมากขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในอนาคต

บริษัทกล่าวเสริมว่า “การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราจำเป็นต้องประเมินข้อกำหนดด้านบุคลากรและโครงสร้างการดำเนินงานของเราอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า Lazada จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการรองรับธุรกิจและบุคลากรของเราในอนาคต”

 

ลาซาด้า (ลาซาด้า) ดำเนินงานในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม

ตามแหล่งข่าวของ CNBC ซึ่งพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างในสัปดาห์นี้ บางส่วนจะได้รับคำเชิญเข้าร่วมประชุมจากบริษัท

การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น บริษัทอีคอมเมิร์ซกำลังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งเช่น

ลาซาด้า ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีนมาตั้งแต่ปี 2559 ได้เริ่มปลดพนักงานในสัปดาห์แรกของศักราชใหม่ 2567 ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดกับบริษัทช้อปปี้ และติ๊กต๊อก ในตลาดอีคอมเมิร์ซ รวมทั้งกระแสความคาดหมายที่ว่า บริษัทกำลังจะทำ IPO ในปี 2567

ดังนั้น ลาซาด้าจึงต้องการลดพนักงานเพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานและรองรับการเติบโตของบริษัทในอนาคต แม้ว่ากลางเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา อาลีบาบาซึ่งเป็นบริษัทแม่ของลาซาด้า จะประกาศลงทุนเพิ่มในลาซาด้าอีก 634 ล้านดอลลาร์ แต่คู่แข่งอย่างติ๊กต๊อก ซึ่งมีบริษัทไบท์แดนซ์เป็นเจ้าของ ก็ลงทุนหนักเพื่อสร้างโอกาสที่เหนือกว่าในการแข่งขันเช่นกัน โดยติ๊กต๊อกมีแผนจะลงทุน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการโทโคพีเดีย (Tokopedia) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย และอินโดนีเซียนั้นก็เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนทั้งในแง่ GDP และจำนวนประชากร

related