svasdssvasds

ลุ้น! กนง.ประชุมนัดแรก “ขึ้นดอกเบี้ย” หรือไม่? ส่วนเงินเฟ้อลดต่ำรอบ 35 เดือน

ลุ้น! กนง.ประชุมนัดแรก “ขึ้นดอกเบี้ย” หรือไม่? ส่วนเงินเฟ้อลดต่ำรอบ 35 เดือน

ลุ้นระทึก! ประชาชนต่างลุ้นว่า กนง.ประชุมนัดแรก 7 ก.พ.67 จะ “ขึ้นดอกเบี้ย” หรือไม่? ส่วนเงินเฟ้อลดต่ำรอบ 35 เดือน มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง

ที่ผ่านมาประเทศไทยอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น แน่นอนว่ากระทบกับธุรกิจ SME ธุรกิจที่มีสายป่านสั้น เงินหมุนเวียนน้อย รวมถึงคนที่เป็นหนี้กับแบงก์ หรือคนที่กำลังจะกู้เงินจากแบงก์เพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือยังเป็นหนี้กับสถาบันการเงินอยู่ต้องขนลุกไปตามตามกัน เพราะต้องแบกรับภาระหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น จากผลกระทบดอกเบี้ยขึ้น แต่…กลับกันใครที่มีเงินฝากในแบงก์จำนวนมากก็ยิ้มหวาน เพราะจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้นเช่นกัน

ดอกเบี้ยขาขึ้นต้องทำยังไง?

ปี2567 เป็นอีกหนึ่งปีที่ประชาชนต่างลุ้นว่าดอกเบี้ยจะไปในทิศทางไหน อย่างเช่น พรุ่งนี้ พุธ 7 ก.พ.67 คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.จะมีการประชุมกำหนด “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” นัดแรก ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 2.50% ต่อปี ซึ่งนับเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบ 10 ปี

ความคืบหน้าล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า กรอบเงินเฟ้อที่ตอนนี้ยังติดลบอยู่ ยังไม่อยู่ในจุดขั้นต่ำของกรอบเงินเฟ้อที่ตั้งไว้ ฉะนั้น 2.5 % ลดลงไปเหลือ 2.25 % ก็ยังมีพื้นที่อีกเยอะ ถ้าเกิดมีวิกฤตหรืออะไรเกิดขึ้นก็ยังสามารถลดลงไปได้อีกเยอะมาก วันนี้ทำไมเราถึงไม่เริ่มทำกัน สำหรับมาตรการที่จะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ลดต้องดูที่เงินเฟ้อที่เกิดจากดีมานพูลคือเกิดจากการใช้จ่าย แสดงว่าดีมานด์มไม่มี เงินเฟ้อไม่มี ถ้าตรงนี้ไม่เกิดแสดงว่าปลอดภัยหรือเปล่าที่จะเลิกลดดอกเบี้ยได้แล้วเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ถ้าเกิดลดดอกเบี้ยมาแล้วเกิดมีปัญหาเรื่องของดีมานซึ่งมันเยอะอยู่แล้วก็อาจจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อได้ แต่อย่างนี้ตนคิดว่าดูจากตัวเลขทั้งสองฝ่ายแล้วคอสพุชหรือเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาแพงที่เกิดขึ้นมาในอดีต จริงๆแล้วตรงนี้ตนเชื่อว่าพื้นที่ในการลดดอกเบี้ยมีอีกเยอะมาก

อย่างไรก็ตามต้องการให้มีการหั่นดอกเบี้ยจาก 0.25 % เหลือ 2.25 % เพื่อช่วยเศรษฐกิจ เนื่องจากเงินเฟ้อมีการติดลบต่อเนื่อง โดย มองว่าดอกเบี้ยเป็นเรื่องใหญ่กระทบค่าใช้จ่ายประชาชนก่อน เพราะหากยังมีการขึ้นดอกเบี้ยอยู่ ไทยมีโอกาสเกิดภาวะเงินฝืดส่งผลต่อเศรษฐกิจมาก

พามาดูตัวเลขเงินเฟ้อไทยล่าสุด นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ม.ค.2566 เท่ากับ 106.98 เทียบกับ ธ.ค.2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 เทียบกับเดือน ม.ค.2566 ลดลง ร้อยละ 1.11 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน นับจาก ก.พ.2564

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญเกิดจากมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะผักสดและเนื้อสัตว์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งฐานราคาเดือน ม.ค.2566 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ขณะที่สินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ

จากข้อมูลที่นำเสนอเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าเงินเฟ้อในไทยลดลงต่อเนื่อง ซึ่งตามความเป็นจริงควรมีการลดดอกเบี้ยเพื่อให้สอดคล้องกับเงินเฟ้อ เรามาลุ้นกันว่าพรุ่งนี้ กนง. จะลดดอกเบี้ยหรือไม่? แล้วถ้าไม่ลดจะให้เหตุผลว่ายังไง !

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related