svasdssvasds

เคลียร์ปมจ่ายยา พร้อมแนะวิธีเข้าระบบรักษาพยาบาล โดย อธิบดีกรมการแพทย์

เคลียร์ปมจ่ายยา พร้อมแนะวิธีเข้าระบบรักษาพยาบาล โดย อธิบดีกรมการแพทย์

มีเสียงเรียกร้องและคอมเมนต์มากมายบนโซเชียล เกี่ยวกับระบบการรักษาพยาบาล ที่ประชาชนต้องโทร.เข้าเพื่อให้ข้อมูล แต่โทรเท่าไหร่ก็ไม่ติด โทรติดยาก นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ จึงออกมาชี้แนวทางที่ทุกคนทำได้ พร้อมตอบคำถามที่หลายคนสงสัย เช่น ได้เตียง ได้ยายาก

สารพันคอมเมนต์และประเด็นชวนปวดหัวที่หลายหน่วยงานเปิดสายด่วนให้ติดต่อ แต่มีคนจำนวนมากติดต่อขอรับยา พาตัวเองเข้าสู่ระบบการรักษาไม่ได้ หลายเคสรอยานานเกินไป บางเคสไม่มีเตียง เข้ารับการรักษาไม่ทัน สุดท้ายก็รอเตียงจนเสียชีวิต กรมการแพทย์ หน่วยงานที่เป็นแหล่งรวมของภาคทฤษฎี วิชาการแพทย์ จึงออกเสริมทัพในภาคปฏิบัติ และร่วมกำหนดแนวทาง เชื่อมความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขที่วิกฤตหนักในกรุงเทพฯ 

อธิบดีกรมการแพทย์ ออกโรงแนะขั้นตอนเข้าระบบที่ปรับมาแล้ว

ปัญหาของระบบการรองรับด้านสาธารณสุขที่มีผู้ป่วยมากจนล้นทรัพยากรที่มีอยู่ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงแนวทางที่ดึงภาครัฐและภาคเอกชนมาร่วมซัพพอร์ตในระบบรับผู้ติดเชื้อโควิดเข้าสู่การรักษา โดย นพ.สมศักดิ์ เผยว่า ล่าสุดกำหนด 4 ช่องทางให้ทุกคนเข้าสู่ระบบการรักษาได้สะดวกขึ้น ดังนี้

การนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาล

ช่องทางที่เปิดให้เข้าสู่ระบบ

  • 1. ตรวจที่โรงพยาบาล ทำตามระบบของโรงพยาบาล
  • 2. ตรวจเชิงรุก โดย CCRT 30 ทีม ทั้งการตรวจหาเชื้อ ป้องกันการติดเชื้อ ตลอดจนช่วยฉีดวัคซีน
  • 3. ตรวจด้วยตนเอง โดยใช้ Antigen Test Kit หรือยืนยันผลบวกด้วยวิธีตรวจแบบ PCR 
  • 4. โทร.สายด่วน 1669 ช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่มีอาการหนัก หรือเป็นเคสฉุกเฉินเร่งด่วน

หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ช่องทางทำ Home Isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน), ขอรับยา, Community Isolation (ศูนย์พักคอยการส่งตัว), Hospitel หรือ Hospital แตกต่างกันไปตามอาการและความรุนแรงของโรค และไม่ว่าผู้ติดเชื้อจะจัดอยู่ในกลุ่มสีเขียว ก็จะได้รับสิ่งสนับสนุน ดังนี้

  • อาหาร 3 มื้อ
  • เครื่องวัดอุณหภูมิ
  • เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด
  • ยาที่จำเป็น
  • การเยี่ยมโดยแพทย์/พยาบาลผ่านระบบทางไกล

Home Isolation howto

ประเด็นเกี่ยวเนื่องเรื่องการจ่ายยา

นอกจากนี้ นพ.สมศักดิ์ยังเตรียมแผนสำรอง หากยังติดขัดจากช่องทางข้างต้น นั่นคือ เบอร์ติดต่อ 50 เขตใน กทม. ซึ่งจะให้บริการตลอด 24 ชม. ดังนี้

กรุงเทพ

กรุงเทพ

กรุงเทพตะวันออก กรุงเทพใต้ กรุงธนเหนือ กรุงเทพ เคลียร์เรื่องตรวจพบเชื้อแล้วจ่ายยากับ อธิบดีกรมการแพทย์

ต่อกันที่การสอบถาม นพ.สมศักดิ์ เกี่ยวกับปัญหาการจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ผู้ป่วยร้องเรียนกันมากว่า ไม่ได้รับ ติดต่อขอรับยาไม่ได้ และยิ่งตรวจเชิงรุกก็จะพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น แบบนี้ยาจะพอหรือไม่?

Q : กรณีที่ปลดล็อกชุดตรวจ ATK แล้ว ถ้าตรวจพบผลบวก ให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบ Home Isolation และ Community Isolation ได้ทันที ตรงนี้ดีต่อประชาชน

A : ขณะนี้ได้ตรวจเชิงรุกค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ด้วยชุดทดสอบรู้ผลเร็ว Antigen Test Kit (ATK) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขต กทม. นำโดยทีมแพทย์ชนบท ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และ กทม. ส่งหน่วยตรวจเชิงรุกประมาณ 30 พื้นที่ต่อวัน เพื่อค้นหาและคัดแยกผู้ติดเชื้อออกจากชุมชน ป้องกันการแพร่เชื้อต่อ และหากพบผู้ที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวก ทางระบาดวิทยาเรียกว่า “ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย” จะนำเข้าระบบแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) โดยไม่ต้องทำ RT-PCR ซ้ำ และ สปสช.ก็จะสนับสนุนเงินให้โรงพยาบาลในการจัดส่งอาหาร 3 มื้อ เป็นเวลา 14 วัน เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ยาที่จำเป็น รวมถึงหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และถุงแดงสำหรับใส่ขยะติดเชื้อ ตามมาตรฐานการทำ Home Isolation แต่หากอยู่แบบ HI ไม่ได้ ให้เข้ารักษาใน Community Isolation ศูนย์พักคอย หรือในโรงพยาบาลสนามต่อไป

Q : ตรวจได้สะดวกขึ้นก็จะพบอัตราผู้ป่วยมากขึ้น เตรียมการรองรับ CI, Hospitel ไว้อย่างไร?

A : ถ้าเป็น CI ตอนนี้มีมากกว่า 68 แห่ง รวมแล้วมากกว่า 5,000 เตียง และคาดว่าจะเพิ่มเกิน 10,000 เตียง ส่วน Hospitel เราร่วมกับโรงพยาบาล 138 แห่ง ตัวเลขเตียงในกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมกันก็ประมาณ 30,000 เตียง 

Q : ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน เราจะมียาฟาวิพิราเวียร์พอแจกจ่ายหรือไม่?

A : ทุกวันนี้ ตัวเลขใช้ฟาวิพิราเวียร์ประมาณวันละ 600,000 เม็ด 30 วัน ก็ประมาณไม่เกิน 20 ล้านเม็ดนะครับ เดือนนี้ องค์การเภสัชกรรมผลิตเองและเราสั่งซื้อมาสำรอง ก็เตรียมไว้ประมาณเกือบ 40 ล้านเม็ด

Q : แสดงว่าไม่ขาดแคลนยา แต่ทำไมยาไปไม่ถึงผู้ป่วยบางส่วน?

A : ส่วนนึงเท่าที่เราทราบก็คือ ตอนนี้มีความช่วยเหลือจากมูลนิธิ อาสา และคนในกรุงเทพฯ ปริมณฑล คือมีผู้ติดเชื้อที่เดิมเนี่ยอาจไม่ได้ลงทะเบียนในระบบก่อนจึงไม่ได้ยา เมื่อเราทำงานกับภาคประชาสังคม เช่น เราต้องรอด เป็ดไทยสู้ภัย บางกลุ่มเขาติดต่อกันแล้วก็มีคนเข้าไปดูแลกันเอง ของเดิมเนี่ยก็จะมีปัญหาว่า กลุ่มประชาสังคมเหล่านี้ให้ยาคนไข้ไม่ได้ ถ้าต้องการจะให้ยาคนไข้ คนไข้ต้องขึ้นทะเบียนชื่อสถานพยาบาลเดิมหรือคลินิกชุมชนอบอุ่นก็ได้ เป็นศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพฯ ก็ได้ พอให้ยาได้ก็ดึงคนไข้มาขึ้นทะเบียนกับกรมฯ ให้ถูกต้อง แค่นั้นเองครับ แล้วเราก็จะให้เขาสต็อกยาเอาไว้ส่วนหนึ่งเพื่อแจกจ่ายคนที่ทำ HI

Q : ผู้ป่วย 1 คน ต้องกินยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์กี่เม็ด?

A : จริงๆ ถ้าใช้แล้วได้ผลครั้งละ 50 เม็ด 2 ครั้งแรก ครั้งละ 9 เม็ดเป็น 18 เม็ดในวันแรก และต้องกินต่ออีก 4 วัน วันละ 8 เม็ดก็คือ 32 เม็ด 18 + 32 ก็เท่ากับ 50 เมตร

แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นสามารถขยายให้กินต่อวันละ 8 เม็ด ต่ออีก 5 วัน ก็อีก 40 เม็ด รวมเป็น 90 เม็ด สำหรับคนอ้วนก็จะขึ้นอยู่กับน้ำหนัก แต่ภาพรวมก็อยู่ที่ 50-90 เม็ด

Q : มีข่าวว่า อภ.หาทางผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ร่วมกับภาคเอกชนอยู่ จริงไหม?

A : ทราบเพียงว่า ตอนนี้มีการเจรจากันอยู่ระหว่างองค์การเภสัชกรรมกับภาคเอกชน ซึ่งผมก็ไม่รู้รายละเอียดอื่นๆ 

Q : จากแนวทางเข้าสู่ระบบข้างต้น เราอาจไม่เห็นภาพการเสียชีวิตในบ้านหรือข้างถนนอีก?

อันนี้เป็นระบบที่เราตั้งนะครับ ผมก็ยังไม่กล้ารับประกันซะทีเดียว เพราะระบบในกรุงเทพฯ ค่อนข้างซับซ้อนมาก เนื่องจาก กทม.มีโรงพยาบาล 91 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ส่วนเจ้าภาพที่มีโรงพยาบาลเยอะๆ คือเอกชน ที่มีเป็นร้อย เราก็เลยต้องรวมทุกคนมาอยู่ด้วยกันนะครับ แล้วก็มาทำงานเหมือนกับ Under One System ตกลงกันว่า ต่อไปนี้ เราไม่อยากเห็นภาพคนไข้เสียชีวิตที่บ้านก็ให้มาร่วมมือกัน

อัปเดตจำนวนหน่วยบริการที่ร่วมมือกันเพื่อทำ Home Isolation ในพื้นที่ กทม.

หน่วยบริการที่ร่วมมือกันในพื้นที่ กทม.

 
related