svasdssvasds

อุทยานศรีน่าน นำร่องใช้นวัตกรรมชามกาบไผ่ของชุมชน

อุทยานศรีน่าน นำร่องใช้นวัตกรรมชามกาบไผ่ของชุมชน

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ได้เตรียมความพร้อมเป็นอุทยานปลอดพลาสติก นำร่องชูผลิตภัณฑ์ชุมชนรอบๆ อุทยาน คือ ภาชนะที่ทำจาก กาบไม้ไผ่ ใบกล้วย และใบตองตึง มาคอยให้บริการนักท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสนุกขอรับ Green Heart Passport สะสมตราประทับแลกรับรางวัลตามกติกา "ไม่สร้างขยะ" รวมถึงใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ซึ่งทางอุทยานศรีน่านได้เตรียมแก้วน้ำกระบอกไม้ไผ่ และภาชนะที่ทำจาก กาบไม้ไผ่ ใบกล้วย และใบตองตึง ที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนมาให้นักท่องเที่ยวได้ใช้แทนที่ภาชนะใส่อาหารที่เป็นพลาสติก

ผลิตภัณฑ์จาน ชาม กาบไผ่ และใบตอง ของชุมชนรอบๆ อุทยานศรีน่านนั้น เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของอุทยาน กับ ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและคณะ ที่เข้ามาทำวิจัย "นวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตเกษตรกรบนพื้นที่สูงสู่ความยั่งยืน" โดยการสนับสนุนของ สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในพื้นที่หมู่บ้านที่อยู่ติดกับอุทยาน อาทิ บ้านวนาไพร บ้านหนองผำและบ้านน้ำปี้

ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์กาบไผ่และใบตองตึงอยู่ระหว่างการพัฒนาเครื่องขึ้นรูปภาชนะของพระอาจารย์วิจิตร วัดถ้ำกระบอก และ ผศ. ดร. สุพิณ แสงสุข สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งในด้านของคุณภาพ รูปแบบ และลดต้นทุนการผลิต โดยปัจจุบันบ้านวนาไพรผลิตชามกาบไม้ไผ่ได้ประมาณ 200 ใบ เฉลี่ยต้นทุนตกใบละ 2 บาท ซึ่งถือว่ายังทำได้น้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่อุทยานศรีน่าน และต้นทุนยังสูงกว่าท้องตลาดประมาณเท่าตัว

อย่างไรก็ดี ผลที่ทีมวิจัยคาดว่าจะได้รับ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติของเกษตรกร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติระหว่างชุมชนกับอุทยาน โดยชุมชนที่อยู่รอบอุทยานจะรักษาทรัพยากรให้อุดมสมบูรณ์ ในขณะที่อุทยานสามารถส่งเสริมอาชีพเสริมสำหรับชุมชนอีกทางหนึ่ง

อุทยานศรีน่าน นำร่องใช้นวัตกรรมชามกาบไผ่ของชุมชน   อุทยานศรีน่าน นำร่องใช้นวัตกรรมชามกาบไผ่ของชุมชน อุทยานศรีน่าน นำร่องใช้นวัตกรรมชามกาบไผ่ของชุมชน

related