svasdssvasds

ผู้สูงวัยไทย เผชิญภัยกับ โรคระบาด COVID-19 อย่างไร?

ผู้สูงวัยไทย เผชิญภัยกับ โรคระบาด COVID-19 อย่างไร?

เทศกาลสงกรานต์ใกล้เข้ามา ในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ตรงกับวันผู้สูงอายุ “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ (Center for Aging Society Research – CASR) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ผู้สูงวัยไทย เผชิญภัยกับโรคระบาด COVID-19 อย่างไร?”

poll

​การรับรู้ ช่องทางการรับรู้ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19

จากการสำรวจเมื่อถามถึงเรื่องที่รับรู้หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.50 ระบุว่า สวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า/ถุงมือ รองลงมา ร้อยละ 79.98 ระบุว่า ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่/เจลแอลกอฮอล์/น้ำยาฆ่าเชื้อ ร้อยละ 53.21 ระบุว่า เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ร้อยละ 46.50 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการอยู่สถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันจำนวนมาก ร้อยละ 21.92 ระบุว่า เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็นให้ออกนอกบ้านน้อยที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด ร้อยละ 13.70 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และร้อยละ 10.12 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการจับมือ

ผู้สูงวัยไทย เผชิญภัยกับ โรคระบาด COVID-19 อย่างไร?

ระดับความกังวลหรือความเครียดในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในรอบแรกและรอบที่สอง
​ด้านระดับความกังวลหรือความเครียดในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว (ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563) ซึ่งมีการประกาศ พรก. ฉุกเฉิน และการ lockdown) พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 21.46 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดน้อยที่สุด (1 – 2 คะแนน) ร้อยละ 6.40 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดน้อย (3 – 4 คะแนน) ร้อยละ 27.85 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดปานกลาง (5 – 6 คะแนน) ร้อยละ 19.86 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดมาก (7 – 8 คะแนน) และร้อยละ 24.43 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดมากที่สุด (9 – 10 คะแนน)
สำหรับระดับความกังวลหรือความเครียดในช่วงการระบาดของ COVID-19 ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึง 20 มีนาคม 2564 (ระหว่าง เดือนธันวาคม 2563 – 20 มีนาคม 2564) พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 26.41 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดน้อยที่สุด (1 – 2 คะแนน) ร้อยละ 9.82 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดน้อย (3 – 4 คะแนน) ร้อยละ 32.88 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดปานกลาง (5 – 6 คะแนน) ร้อยละ 14.30 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดมาก (7 – 8 คะแนน) และร้อยละ 16.59 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดมากที่สุด (9 – 10 คะแนน)