svasdssvasds

กางโปรเจกต์ เตียงกระดาษ ซัพพอร์ต รพ.สนาม โดยเฉพาะ

กางโปรเจกต์ เตียงกระดาษ ซัพพอร์ต รพ.สนาม โดยเฉพาะ

โปรเจกต์ เตียงกระดาษ ที่ซัพพอร์ตโรงพยาบาลสนามอยู่ในขณะนี้ เป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มีจุดเด่นคือ ออกแบบมาให้ถอดประกอบได้ ขนย้ายสะดวก และทำมาจากกระดาษรีไซเคิล 100% ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลกและใส่ใจเรื่องความยั่งยืนแม้ในสถานการณ์ไม่ปกติ

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่กระจายได้ง่ายขึ้นและมักไม่แสดงอาการให้รู้ว่า ติดเชื้อแล้ว ส่งผลให้หลายคนยังคงใช้ชีวิตตามปกติ รู้ตัวอีกทีก็ตอนที่อาการรุนแรงขึ้น 'โรงพยาบาลสนาม' จึงเป็นทางออกหนึ่งของการแยกกักตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ แต่การตั้ง รพ.สนามเพิ่มขึ้น ก็ต้องการเตียงเพิ่มด้วย ทีมนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ของ บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง หรือ SCGP จึงร่วมกันดีไซน์ เตียงกระดาษ ที่ถอดประกอบได้ ขนย้ายสะดวก เพื่อรองรับการใช้งานในสถานการณ์ฉุกเฉิน

กางโปรเจกต์ เตียงกระดาษ ซัพพอร์ต รพ.สนาม โดยเฉพาะ

เตียงกระดาษ ที่เราเรียกกันสั้นๆ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed) 

ส่องไทม์ไลน์ก่อนจะมาเป็น 'เตียงกระดาษ' ในโรงพยาบาลสนาม

โปรเจกต์ เตียงกระดาษ นี้ ทาง SCG, SCGP และมูลนิธิเอสซีจี ร่วมกันสนับสนุนการผลิตและจัดส่งไปยังโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยให้คนไทยผ่านพ้นมหาวิกฤตที่มาอีกระลอกในปีนี้ โดยบริษัทจะรับคำขอจากโรงพยาบาลสนาม พิจารณาความเร่งด่วนแล้วจึงส่งให้โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษในเครือ SCG ที่สามารถผลิตและกระจาย เตียงกระดาษ ได้ ดำเนินการผลิตพร้อมจัดส่ง

สำหรับขั้นตอนก่อนจะมาเป็น เตียงกระดาษ เริ่มตั้งแต่

เตียงกระดาษ โรงพยาบาลสนาม • รับเรื่องที่ขอ/ตอบกลับภายใน 1 วัน 

• สั่งผลิต 3-4 วัน (หรือจัดส่งทันทีหากมีในสต็อก)

• ขนส่งไปยัง รพ.สนามภายใน 1 วัน (ตามระยะทาง)

• 2 คนประกอบ 1 เตียง ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที

• ใช้งานเตียงกระดาษนี้ได้นาน 3 เดือน 

สำหรับหน่วยงานที่มีความประสงค์ขอรับการสนับสนุน เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed) ติดต่อ Call center ได้ที่เบอร์ 02-586-2222 เวลาทำการ 8.00-16.00 น.

โปรเจกต์ปุบปับ รับสถานการณ์เร่งด่วน

เกี่ยวกับการขนส่งและประกอบเตียงกระดาษ หากเป็นพื้นที่ใหม่ที่กำลังตระเตรียมเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อซึ่งไม่แสดงอาการ พนักงานจัดส่งของ SCG/SCGP จะเป็นผู้ประกอบให้ แต่หากเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง พนักงานจะไม่สามารถเข้าไปได้ เจ้าหน้าที่ที่ประจำ ณ โรงพยาบาลสนาม จึงต้องศึกษาวิธีประกอบ เตียงกระดาษ จากคู่มือหรือดูตัวอย่างบน Youtube ก็สามารถทำเองได้ทั้งง่ายและสะดวก

ด้านการใช้งาน ผู้ใช้อาจต้องระวังว่าจะโดนน้ำหรือไฟ เพราะอย่างไรก็ตาม เตียงนี้เป็นนวัตกรรมที่ทำมาจากกระดาษรีไซเคิล การใช้งานอย่างระมัดระวังจะช่วยให้คนไทยได้ใช้เตียงกระดาษอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กางโปรเจกต์ เตียงกระดาษ ซัพพอร์ต รพ.สนาม โดยเฉพาะ สรุปแล้วโปรเจกต์ เตียงกระดาษ เป็นการผลิตแบบ Made to order เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสนามเท่านั้น 

เพราะมุ่งตอบโจทย์การใช้งาน 3 ความเร่งด่วน ได้แก่ 1) นำไปให้ รพ.สนามที่กำลังจะเปิดเพิ่ม 2) รพ.สนามที่ได้รับไปแล้วขอให้ผลิตมารองรับเพิ่ม และ 3) รพ.สนามขอให้ผลิตเพื่อนำไปเปลี่ยนหรือทดแทนเตียงเดิม

ดังนั้น กรณีบุคคลทั่วไป (ที่คาดว่าจะสนใจไม่น้อย) ไม่สามารถขอไปใช้ที่บ้านหรือใช้ส่วนตัวได้ 

เพราะ เตียงกระดาษ ที่ออกแบบมาใช้ในสถานการณ์เร่งด่วนนี้ ต้องให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต่างๆ บริหารจัดการหรือส่งต่อไปยังแหล่งกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักการเพื่อสุขอนามัย เนื่องจากเป็น 'ขยะติดเชื้อ' 

ไม่เหมือน 'เก้าอี้กระดาษ' ในงานสัปดาห์หนังสือ ที่งานเลิก แล้วต่างคนต่างหิ้วเก้าอี้กระดาษกลับบ้านได้เลย

เตียงกระดาษ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะขอแล้วให้กันได้จริงๆ