svasdssvasds

เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน

เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน

เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร ช่วยป้องกันแนวตลิ่งจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว กระจายรายได้เป็นแหล่งเศรษฐกิจชุมชนอีกด้วย

กรมโยธาธิการและผังเมืองสร้าง เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร ที่ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา หลังประชาชนในพื้นที่ได้ร้องขอให้กรมช่วยเหลือแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของ ซึ่งสร้างผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง และทวีความรุนเพิ่มมากขึ้น มีปัญหาการกัดเซาะสูงมากกว่า 5 เมตรต่อปี

กรมโยธาธิการและผังเมืองสร้าง ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงสร้าง พร้อมจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น(IEE) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการฯ

เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน

โดยได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนจำนวน 2 ครั้ง ซึ่งมีทั้งผู้ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากโครงการ หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนิติบุคคลผู้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หน่วยงานราชการในระดับต่างๆ องค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม, องค์กรพัฒนาเอกชน, สถาบันการศึกษา, สถาบันศาสนา, นักวิชาการอิสระ, สื่อมวลชน และ ประชาชนผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมประชุม

จากนั้นได้นำแนวทางแก้ไขปัญหามาทำการสรุปวิเคราะห์ สำรวจ ออกแบบ รวมทั้งนำความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบ เพื่อให้การออกแบบสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพชายฝั่ง และ สามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีความมั่นคงแข็งแรงตลอดอายุการใช้งาน โดยเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร แบ่งออกเป็นเขื่อนกำแพงคอนกรีตผิวบล็อกตลอดความยาว 1,750 เมตร

สำหรับเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร มีการออกแบบให้ทำหน้าที่ป้องกันชายฝั่งทะเลและช่วยสลายพลังงานคลื่น จุดเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่บริเวณสวนสาธารณะเทศบาลเมืองสิงหนคร เป็นเขื่อนกำแพงกันคลื่นผสม Block Revetment โครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สันเขื่อนลักษณะเป็นจงอย(Parapet) ซึ่งเป็นโครงสร้างสำหรับป้องกันคลื่นกระเซ็นข้ามสันเขื่อนเข้ามายังตัวเขื่อน

เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน

ด้านหน้าหาด ช่วงแรกมีความลาดชัน 1 : 1 โดยมีบล็อกคอนกรีตวางสลับบนผิวหน้าเขื่อนในลักษณะตารางหมากรุกทำหน้าที่สลายพลังงานคลื่น คั่นด้วยพื้นที่ชานพัก ทำหน้าที่สลายพลังงานคลื่น

ขณะที่ตัวเขื่อนช่วงที่ 2 มีความลาดชัน 1 : 3 ส่วนโครงสร้างป้องกันทรายใต้เขื่อนไม่ให้ไหลออก สำหรับชั้นล่างของตัวเขื่อนเป็นชั้นทรายถมบดอัดแน่น โดยมีรูระบายน้ำออก เพื่อลดแรงดันต่อโครงสร้าง ใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเพื่อรองรับตัวเขื่อน ด้านหน้าตีนเขื่อนกำแพงกันคลื่นจะมีชั้นถุงทรายวางเรียงจำนวน 3 ชั้น เพื่อป้องกันการคุ้ยทรายบริเวณตีนเขื่อน และ มีกล่องลวดบรรจุหินใหญ่(กล่องเกเบียน) สำหรับทำหน้าที่เป็นตัวดักทรายด้านหน้าถุงทรายอีกชั้นหนึ่ง โดยด้านล่างสุดจะปูพื้นด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ ซึ่งห่อหุ้มชั้นหินขนาดเล็ก หรือชั้นหินกรองไว้

หลังจากที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แล้วเสร็จ ต่อมามีการศึกษาผลกระทบหลังจากการก่อสร้างตลอดจนหาแนวทางป้องกันและแก้ไข

นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีพื้นที่ปรับปรุงภูมิทัศน์สำหรับเป็นประโยชน์ใช้สอยในด้านการพักผ่อนหย่อนใจ โดยบริเวณหัวเขื่อนบริเวณสวนสาธารณะของเทศบาล ได้ออกแบบเป็นลักษณะขั้นบันไดเพื่อให้สามารถลงชายหาดได้สะดวก เพื่อความต่อเนื่องกับการใช้ประโยชน์บริเวณลานกีฬาชายหาดและลานเอนกประสงค์ การก่อสร้างได้มาตรฐานมั่นคงสามารถช่วยป้องกันแนวตลิ่งช่วยป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง มีความเจริญในชุมชน และพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน ทำให้มีสภาพความเป็นอยู่และกลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจชุมชนหลังการสร้างเขื่อนอีกด้วย

เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสิงหนคร ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน

 

 

related