svasdssvasds

ปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่ เมื่อเข้าวัย 40 (ตอนที่ 1)

ปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่ เมื่อเข้าวัย 40 (ตอนที่ 1)

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

มีคำกล่าวว่า ชีวิตเริ่มต้นเมื่ออายุ 40  หรือสำนวนเก่าก็ต้องบอกว่างามในวัย 40 กะรัต เป็นช่วงที่น่าจะค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง และมีวุฒิภาวะมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ตระหนักได้ว่า เราจะไม่มายืนอยู่ที่จุดนี้ หากไม่ได้ทำข้อผิดพลาดในอดีต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหนุ่มสาว คุณอาจทำหรือไม่ทำอะไรหลายอย่างได้โดยไม่คิดอะไรมาก แต่เมื่อเข้าวัย 40 มีหลายสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับสุขภาพที่คุณไม่อาจเพิกเฉยหรือไม่ใส่ใจได้อีกต่อไป เพราะมันหมายถึงการปูทางไปสู่สุขภาพที่ดีในอนาคต วัย 40 จึงถือเป็นช่วงเวลาที่ควรปรับเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น และถึงคุณอายุยังไม่ถึง 40 ปี แต่ก็ควรรู้ไว้เพื่อเตรียมพร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะบางอย่างมักไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในเวลาอันสั้น

มาดูกันว่ามีอะไรในชีวิตบ้างที่คุณควรทบทวน

พ่ายแพ้ต่ออาการโหยน้ำตาล

ในช่วงวัยสาว คุณอาจกินไอศกรีมได้ทีละกระปุก หรือชาไข่มุกได้ครั้งละแก้วใหญ่ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้ช้าลง การกินน้ำตาลมากเกินไปนำไปสู่สภาวะต้านอินซูลิน ซึ่งเป็นสภาวะก่อนโรคเบาหวาน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถจัดการกับคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภทสองได้ ที่น่ากลัวคือ โรคนี้พบได้ทั่วไปหลังวัย 40 ปี

ดังนั้น จงตั้งเป้าลดน้ำตาลสำเร็จรูปในอาหารของคุณ หากคุณต้องการกินขนมหวาน จงหันไปหาผลไม้หรือดาร์กช็อกโกแลต ผลไม้(ที่ไม่ใช่น้ำผลไม้)ประกอบด้วยไฟเบอร์ ซึ่งช่วยชะลอการดูดซับน้ำตาลตามธรรมชาติ ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณจึงไม่พุ่งสูง ดาร์กช็อกโกแลตมีประโยชน์กับร่างกายในระดับปานกลาง และมีน้ำตาลน้อยกว่าช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของนมหรือไวท์ช็อกโกแลต หากอาการโหยน้ำตาลยังไม่บรรเทาลง ลองทำขนมหวานเองโดยใช้สูตรเพื่อสุขภาพ

หลีกเลี่ยงการทำแมมโมแกรม

สถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริการะบุว่า ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมในช่วงอายุ 30 ปีอยู่ที่ 1 ต่อ 227  เมื่อคุณย่างเข้าวัย 40 ปี ความเสี่ยงจะอยู่ที่ประมาณ 1 ต่อ 68  โดยเฉพาะหากครอบครัวของคุณมีประวัติของการเป็นมะเร็งเต้านม ความเสี่ยงของคุณก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น คุณจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำเมมโมแกรมได้อีกแล้ว เพราะผู้หญิงทุกคนควรทำเมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี เมื่อย่างเข้าอายุ 40 ปีเป็นต้นไป และหากครอบครัวมีความเสี่ยง ก็ยิ่งต้องทำก่อนอายุ 40 ปี อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีนี้ก็มีความเสี่ยง ดังนั้น จึงควรฝึกตรวจสอบด้วยตัวเองเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ เพราะอย่างน้อย 40% ของมะเร็งเต้านมพบโดยตัวคนไข้เอง การหมั่นดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดปัญหาก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

ไม่ยอมฝึกความแข็งแกร่งของร่างกาย

รูปแบบการออกกำลังกายแบบออกแรงดัน (Resistant Training) หรือเวทเทรนนิ่ง (Weight Training) มีส่วนสำคัญต่อความแข็งแรงสมบูรณ์ทางกายภาพของร่างกาย เราไม่ได้กำลังจะบอกว่าคุณต้องเลิกทำคาร์ดิโอ ถึงแม้ว่าคุณควรวิ่งน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ข้อเท็จจริงคือทุกคน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิง เริ่มสูญเสียเสียมวลกล้ามเนื้อในวัย 30 ปีขึ้นไป กล้ามเนื้อที่สูญเสียไปหมายถึงอัตราเมแทบอลิซึมที่ลดลง ซึ่งแปลว่าในหนึ่งวัน คุณเผาผลาญแคลอรี่ได้น้อยลง นอกจากเวทเทรนนิ่งจะช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในระยะต้นได้อีกด้วย ดังนั้น จึงควรตั้งเป้าหมายของการฝึกเวทเทรนนิ่ง 2-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และอย่ากลัวที่จะยกตุ้มที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

นอนไม่พอ

ถึงเวลาที่คุณควรจะทบทวนนิสัยการนอนของคุณ การนอนไม่พออย่างต่อเนื่อง หมายถึงการนอนน้อยกว่า 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งอาจส่งผลให้คุณน้ำหนักตัวขึ้น ร่างกายทำหน้าที่ด้านการรับรู้บกพร่อง ทำให้มีโอกาสที่จะบาดเจ็บได้ง่าย นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางสมองอย่างภาวะสมองเสื่อม (Dementia) และโรคอัลไซเมอร์

จมอยู่กับภาวะที่จิตใจเลื่อนลอยไร้จุดหมาย

การใช้ชีวิตแบบจิตใจเลื่อนลอยไร้จุดหมาย กับการเป็นโรคซึมเศร้า มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยคำจำกัดความแล้ว อาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่รู้สึกหดหู่ หมดแรง ไม่สนใจกิจกรรมประจำวันโศกเศร้า กระวนกระวาย และ/หรือขี้รำคาญนานมากกว่า 2 สัปดาห์ ร่างกายของผู้หญิงในวัย 40 ปีกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆในชีวิต จึงเป็นช่วงที่คุณอาจถูกหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าทางการแพทย์ มันแย่ตรงที่ว่า คนที่มีอาการซึมเศร้าเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่ไปพบแพทย์ ดังนั้น หากเกิดอาการ ก็ขอให้รู้ว่าคุณไม่ได้อยู่ตามลำพัง และมีขั้นตอนที่คุณจะได้รับความช่วยเหลือ เพื่อให้คุณรู้สึกดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนแบบเน้นการรักษาแบบองค์รวมหรือแบบดั้งเดิมก็ตาม

อ่านการปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลตัวเองตอนต่อไปได้ที่ ปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่ เมื่อจะเข้าวัย 40 (ตอนที่ 2)