svasdssvasds

'มะเร็งตับ' โรคร้ายคร่าชีวิต 'ตั้ว ศรัณยู' ภัยมืดนี้มาอย่างไร พบบ่อยแค่ไหน?

'มะเร็งตับ' โรคร้ายคร่าชีวิต 'ตั้ว ศรัณยู' ภัยมืดนี้มาอย่างไร พบบ่อยแค่ไหน?

โรคมะเร็งตับ หนึ่งในโรคร้ายพรากชีวิตคนไทยมากมาย ที่ล่าสุดพรากชีวิต ตั้ว ศรัณยู วงศ์กระจ่าง คนดังในแวดวงบันเทิงไปอีกหนึ่งราย

โรคมะเร็งตับ หนึ่งในหลายๆ ชนิดของโรคมะเร็งที่พบมาในประเทศไทย ล่าสุดได้พรากชีวิตนักแสดง และผู้กำกับมาฝีมืออย่าง ตั้ว ศรัณยู วงศ์กระจ่าง ไปอีกหนึ่งชีวิตอย่างน่าเสียดาย ท่ามกลางความเศร้าโศก เราจึงต้องรู้จักกับมะเร็งตับให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสามารถรับมือ หรือดูแลสังเกตุตัวเองได้ว่า ร่างกายของเรานั้นมีอาการผิดปกติอะไรบ้าง

 

คนสนิท ตั้ว ศรัณยู เผยสาเหตุอาการป่วย ก่อนเสียชีวิต

3 อันดับมะเร็งที่พบมากที่สุดในไทย

 

มะเร็งตับ เป็นอีกหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบบ่อย โดยพบเป็นอันดับ 1 ในเพศชายที่ป่วยเป็นมะเร็ง และพบเป็นอันดับ 4 ของทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง มะเร็งตับเป็นโรคร้ายที่ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยวิธีการรักษาหลายวิธี ที่สำคัญคือการเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีตรวจสุขภาพและอื่น ๆ หากรู้ตัวว่าตนเองอยู่ในความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ มีอาการอย่างไร?

โรคมะเร็งตับในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการแสดง โดยจะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นขนาดเล็กประมาณ 2-3 เซนติเมตร เป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยอาจรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งตับเมื่อตรวจสุขภาพ ส่วนอาการแสดงของโรคมะเร็งตับนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งมีขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ยาก

การรักษาโรคมะเร็งตับ

การรักษาโรคมะเร็งตับมีหลายวิธีด้วยกัน เลือกใช้ตามอาการของคนไข้ หากป่วยระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด แต่ถ้าอาการที่เป็นมากกว่าระยะเริ่มต้นอาจใช้การรักษาเฉพาะที่ ด้วยวิธีฉีดยาเข้าเส้นเลือดเพื่อให้เซลล์มะเร็งยุบลง หรือถ้าหากอยู่ในระยะลุกลามไปยังอวัยวะอื่น อาจใช้วิธีการรักษาด้วยยามุ่งเป้า ซึ่งเป็นตัวยาในปัจจุบันที่ใช้รักษามะเร็งนอกเหนือจากเคมีบำบัดซึ่งมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า

วิธีการรักษาโรคมะเร็งตับที่หายขาด

มะเร็งตับเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ใช้ได้กับผู้ป่วยระยะเริ่มต้น มีทั้งหมด 3 วิธี ได้แก่

ผ่าตัดรักษาตับ

ผ่าตัดเปลี่ยนตับ

ใช้ความร้อนฆ่าเซลล์มะเร็งที่ตับ

ผลการรักษาด้วยการผ่าตัด หากสามารถผ่าตัดชิ้นเนื้อมะเร็งออกได้ทั้งหมด สามารถหายขาดได้ แต่ที่ต้องระวังคือการกลับมาเป็นซ้ำ จึงต้องมีการติดตามอาการของคนไข้อย่างต่อเนื่อง

ข้อจำกัดในการรักษามะเร็งตับ

กายวิภาคตับค่อนข้างซับซ้อน การรักษามะเร็งตับจึงรักษาได้ยาก

มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดมากพอสมควร ที่ผ่านมามีอัตราการเสียชีวิตจากการผ่าตัดรักษามะเร็งตับร้อยละ 3

ผลการรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ตัวคนไข้ ภาวะการทำงานของตับ หากร่างกายคนไข้ไม่แข็งแรงพอ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย หรือถ้าหากภาวะการทำงานของตับเสื่อมประสิทธิภาพจะมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายจากการผ่าตัด

สามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะเริ่มต้น หากเป็นมากจะรักษาได้ยาก

การผ่าตัดเปลี่ยนตับสามารถทำได้ในคนไข้ที่มีอาการไม่มาก และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ในผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเหลือง ขาบวม ท้องโต แสดงออกถึงภาวะการทำงานของตับที่เสื่อมประสิทธิภาพ การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การฉายแสง หรือการได้รับยาที่รุนแรง อาจเป็นอันตราย

การรักษามะเร็งตับด้วยวิธีแพทย์ทางเลือก

ปัจจุบันพบว่ามีการรักษามะเร็งตับหลายวิธีด้วยกัน นอกจากแพทย์แผนปัจจุบันยังมีแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยเลือกรักษา แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าแพทย์ทางเลือกจะให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับแพทย์แผนปัจจุบัน จึงแนะนำว่าถ้าหากผู้ป่วยยังมีอาการไม่มาก มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบันก่อน เพื่อลดอัตราการเสียโอกาสในการรักษาให้หายขาด เพราะถ้าหากเลือกรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกก่อนแล้วไม่ได้ผล อาจทำให้อาการป่วยลุกลามจนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน

การรักษามะเร็งตับด้วยแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กับแพทย์ทางเลือกเป็นเรื่องที่ไม่แนะนำ เพราะทำให้การประเมินผลการรักษาเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะในกรณีที่อาการป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา และการได้รับยารักษาโรคหลายขนานพร้อมกันอาจทำให้ยาเสริมฤทธิ์กันมากเกินไป หรืออาจทำให้ยาหักล้างกันได้ รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่มากขึ้น

 

คนบันเทิงสุดเศร้า! ร่วมโพสต์อาลัย ตั้ว ศรัณยู หลัง มะเร็งตับคร่าชีวิต

 

กลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ

ผู้ที่ดื่มสุรามาก ๆ

ผู้ใช้ยาบางชนิด ที่เสี่ยงต่อโรคตับ

ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี

ผู้ที่มีภาวะตับแข็ง

ผู้ที่มีภาวะไขมันเกาะตับ

การสังเกตตัวเองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ

หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง ควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อการคัดแยกโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น นำไปสู่การรักษาให้หายขาดได้

 

ข้อมูลจาก : รายการพบหมอรามา