svasdssvasds

จากเคส หมีพ่นไฟ ชดใช้ เสือพ่นไฟ 10 ล้าน ก่อนสร้างแบรนด์เปิดกฏหมายที่ควรรู้

จากเคส หมีพ่นไฟ ชดใช้ เสือพ่นไฟ 10 ล้าน ก่อนสร้างแบรนด์เปิดกฏหมายที่ควรรู้

จากกรณีศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ สั่งชานมไข่มุกแบรนด์หมีพ่นไฟ ชดใช้เงิน 10 ล้าน แก่ชานมไข่มุกแบรนด์เสือพ่นไฟ ฐานลวงขาย ทำคนเข้าใจผิด ละเมิดเครื่องหมายการค้ กฏหมายเครื่องหมายการค้าที่ควรรู้ก่อนสร้างแบรนด์

แรงบันดาลใจ ไม่ใช่ การลอกเลียนแบบ
จากกรณีชานมไข่มุกแบรนด์ “หมีพ่นไฟ” ถูกศาลพิเคราะห์ว่า ทำแบรนด์เลียนแบบ “เสือพ่นไฟ"
ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดสั่งชดใช้ 10 ล้าน
มาดูข้อกฏหมายกันว่า เวลาจะออกแบบ Logo Brand สินค้า เราต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง 

เสือพ่นไฟ กับ หมีพ่นไฟ ใครมาก่อนกัน?
เสือพ่นไฟ  Fire Tiger แบรนด์ชานมไข่มุกไทยแท้
สาขาแรกที่สยามสแควร์ ช.3 มิ.ย. 2561
เอกลักษณ์คือ น้ำตาลไหม้ บนครีม มัน ไม่หวาน
รวมทั้งต้องลอดชานมส่งออกมาจาก ปากหัวเสือ ประติมากรรมสุดอลังการ ปัจจุบันมี 16 สาขาในไทย อีก 13 สาขาใน ตปท.

ขณะที่ หมีพ่นไฟ The Fire Bear เพิ่งเปิดเมื่อ ส.ค. 62
แต่ขยายกว่า 200 สาขา ทั่วไทย

       ล่าสุด (23 ธ.ค.) ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อ่านคำพิพากษาในคดี
เจ้าของแบรนด์ ชานมไข่มุก "เสือพ่นไฟ" Fire Tiger ยื่นฟ้อง เจ้าของธุรกิจ ชานมไข่มุก "หมีพ่นไฟ" The Fire Bear ว่า ละเมิดเครื่องหมายการค้า  ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า
"หมีพ่นไฟ" The Fire Bear เป็นชื่อร้านค้าและสินค้า ที่เหมือนกับธุรกิจของโจทก์มาก รวมทั้งการใช้ หัวหมีพ่นไฟ เป็นช่องส่งสินค้าด้วย ถือเป็นการลวงทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่า เป็นร้านที่มีเจ้าของเดียวกัน  หรือมาจากแหล่งเดียวกัน หรือ มีความเกี่ยวข้องกัน ถือเป็นการละเมิด ฐานลวงขาย

ให้จำเลยชดใช้ 10,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจำเลยจะยุติการกระทำละเมิดดังกล่าว น่าจะเป็นค่าเสียหายสูงที่สุด
 

จะออกแบบ Logo ต้องระวังอะไรบ้าง?
ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
กำหนดความคุ้มครองไว้แบบนี้

เครื่องหมายการค้า หมายถึงอะไรบ้าง?
เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่น
หมายถึง ภาพถ่าย ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ

มาตรา 108 
การปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กระทำไม่ได้
โทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ปรับสูงสุด 4 แสน

มาตรา 109
เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น  เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นของบุคคลอื่นท่านนั้นโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี ปรับสูงสุด 2 แสน

มาตรา 109/1
ใครนําหีบห่อ หรือ ภาชนะ ที่แสดงเครื่องหมายการค้า
มาใช้สําหรับสินค้าของตนเอง เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของเจ้าของคนแรก หรือเชื่อว่า ได้รับอนุญาตให้ใช้ เครื่องหมายนั้น โทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ปรับสูงสุด 4 แสน

สุดท้ายฝากคำของ เจ้าของแบรนด์ "เสือพ่นไฟ" ว่า
       อยากให้เป็นเคสตัวอย่าง การทำธุรกิจควรให้เกียรติกัน ไม่ควรจะลอกเลียนแบบใคร เพราะแรงบันดาลใจ กับการลอกเลียนแบบ ดูยังไงมันก็ต่างกันค่ะ

related