ข่าวกราดยิงสายไหมล่าสุด เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมตัวสารวัตรคลั่ง ทำความเข้าใจผ่านการวิเคราะห์จากนักอาชญวิทยา อ.โต้ง หรือ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
ทำไมเคส สารวัตรคลั่ง ย่านสายไหม ผ่านไป 24 ชม. กว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าชาร์จและคุมสถานการณ์ได้ ตำรวจรออะไร ทำไมต้องใช้ยุทธวิธีที่ละมุนละหม่อมขนาดนั้น เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟังค่ะ
หลังเหตุ สารวัตรคลั่ง ย่านสายไหม ผ่านไปกว่า 24 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่สามารถคุมสถานการณ์ได้ โดยไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น มีเพียงความเสียหายของชาวบ้านใกล้เคียง และตัวผู้ก่อเหตุได้รับบาดเจ็บเท่านั้น อ่านต่อ : ผบ.ตร. ขอโทษประชาชน ได้รับผลกระทบ เตรียมชดใช้ ระบุ สารวัตรกานต์ เจ็บหนัก
แต่คำถามที่สังคมคาใจกับเรื่องนี้คือ ยุทธวิธีในการ ควบคุมสถานการณ์ สารวัตรคลั่ง ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดูคล้ายจะละมุนละม่อม มากเกินไปหรือไม่? ทั้งที่คนร้ายเป็นตำรวจ มีอาวุธ และอยู่ในอาการคลั่ง เรื่องนี้จ๊ะโอ๋มีโอกาสได้สัมภาษณ์นักอาชญวิทยา อ.โต้ง รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ช่วยวิเคราะห์ ยุทธวิธีของตำรวจ ในการรับมือจากเคส สารวัตรคลั่ง นี้กันค่ะ
ยุทธวิธีตำรวจในการคุมสถานการณ์คนร้ายคลั่ง เขาทำยังไง?
1.เจ้าหน้าที่ต้องประเมินสถานการณ์ก่อน
- ผู้ก่อเหตุเป็นใคร? มีความเชี่ยวชาญอาวุธ หรือไม่?
- มีตัวประกันไหม?
- มีอาวุธอะไรไหม? (ไม่มี ใช้คน กับ ไม้ง่ามได้) ถ้ามีไปต่อ
- ยังคุยรู้เรื่องไหม
- พื้นที่เกิดเหตุเป็นไง เข้าทางไหน เข้าง่ายไหม ใกล้บ้านเรือนชุมชนไหม? กันพลเรือนออกมาก่อน
2. ปฏิบัติตามยุทธวิธี ค่อยๆเพิ่มระดับความเข้มข้น
- เจรจา เกลี้ยกล่อม โดยใช้ญาติ คนใกล้ชิด
- แก๊สน้ำตา
- เข้ากระชับพื้นที่ เข้าชาร์จในระยะประชิดตัว
- ถ้ามีการยิงสวนโดยคนร้าย ตำรวจใช้อาวุธป้องกันตัวได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ทำไมเคส สารวัตรคลั่ง บ้านพักย่านสายไหม ผ่าน24 ชม.ตำรวจ ไม่เข้าชาร์จสักที?
เพราะตำรวจประเมินสถานการณ์ก่อน แล้วทราบว่า
1. เคสนี้ไม่มีตัวประกัน เชื่อว่าตำรวจต้องการ จับเป็น คนร้าย เพื่อจะได้ทราบถึงแรงจูงใจของคนร้าย และสามารถนำมากำหนดมาตรการป้องกันในอนาคตได้
2. พื้นที่ก่อเหตุ การเข้าถึงของเจ้าหน้าที่ไม่ง่าย ผู้ก่อเหตุอยู่ชั้น 2 เป็นอาคารพาณิชย์ แคบ ติดๆกันหลายหลัง ไม่ใช่ที่ราบโล่ง
3. ต้องการให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด เพราะเคยมีบทเรียนจากกราดยิงโคราชมาแล้ว ครั้งนั้นก็เกิดความสูญเสีย ซึ่งสิ่งที่คล้ายกันของ 2 เคสนี้คือ ผู้ก่อเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ รู้ยุทธวิธี รู้เขารู้เรา รู้เรื่องการใช้อาวุธ คิดแบบตำรวจเป็น จึงไม่เหมือนการรับมือกับพลเรือน มีโอกาสเกิดความสูญเสียมากกว่า