svasdssvasds

รู้จัก “LOLE” เกณฑ์วัดใช้ไฟทั้งประเทศ ป้องกันซ้ำรอยเหตุ Blackout ปี 2521

รู้จักเกณฑ์ LOLE หรือ ดัชนีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ ใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าทุกช่วงเวลาแบบใหม่ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟดับทั้งประเทศไทยหรือ Blackout ซ้ำรอยปี 2521 เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

รู้จัก “LOLE” ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ Blackout ซ้ำรอยปี 2521

ไฟฟ้าสำคัญฉไหน

       ถ้าเราลองไม่มีไฟฟ้าใช้เลยสัก 1 ชั่วโมง โดยไม่มีแบตสำรอง คุณว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างคะ? ไม่อยากจะคิดเพราะไฟฟ้า เป็นพลังงานที่สำคัญมากกับทุกชีวิตในปัจจุบันตั้งแต่ลืมตา ก็ต้องเปิดไฟ ชาร์จโทรศัพท์ เสียบคอมพิวเตอร์  ไฟจราจร ฯลฯ

ย้อนเหตุ Blackout 2521

       แต่รู้ไหมคะว่าประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ พร้อมกันทั่วประเทศ ยาวนานถึงกว่า 9 ชั่วโมง มาแล้ว เมื่อปี 2521 เรียกเหตุการณ์นั้นว่า Blackout  สาเหตุเกิดจาก 
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโรงงานพระนครใต้ ที่เป็นแหล่งจ่ายไฟหลักของประเทศขัดข้อง หรือเคสไฟดับในต่างประเทศ ที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์มาก คือที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่ไฟฟ้าดับทั้งเมือง นานถึง 2 วัน ปี 1977   และล่าสุดอีกครั้งปี  2019 กรุงแมนฮัตตันย่านธุรกิจสำคัญของมหานครนิวยอร์ก 5 ชั่วโมง ไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ครัวเรือนและภาคธุรกิจกว่า 70,000 แห่ง ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ สาเหตุคาดว่าสถานีย่อยแห่งหนึ่งขัดข้องและเกิดระเบิดขึ้นนั่นเอง

ไฟดับทีความเสียหายมากขนาดไหน?  
       เคยมีการศึกษาโดย มหาลัยพระจอมเกล้ามหาลัยพระนครเหนือ ปี2555 ว่า หากเกิดไฟดับ 1คร้ัง จะมีมูลค่าความเสียหาย 90,000 บาท ต่อคร้ัง แต่แน่นอนว่าเศรษฐกิจมีความเติบโตขึ้น ผ่านมา 10 ปี มูลค่าการเสียหายเพิ่มขึ้นอีกเยอะ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ไม่อยากให้เกิด ไฟฟ้าดับ หรือกำลังการผลิตไม่เพียงพอ งั้นต้องทำยังไง?  

       ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในทุกๆ ภาคส่วนเพิ่มสูงขึ้นยิ่งโดยเฉพาะหลังโควิด เศรษฐกิจดี แถมใกล้ช่วงพีค อย่างหน้าร้อนด้วย ปีนี้คาดการณ์การใช้ไฟของคนไทย น่าจะสูงแตะ 34,000 เมกะวัตต์ สูงสุดในรอบ 7 ปี ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ตามปกติกระทรวงพลังงาน จะมีการเตรียมแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP
(Power Development Plan) ไว้อยู่แล้ว คือ จัดหาแหล่งผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน เราจึงมีแผนที่เรียกว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรอง หรือ Reserve Margin

       เป็นการวัดกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองในจุดเดียว จุดพีค หรือ จุดสูงสุด ในหนึ่งปี มาวัดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของทั้งประเทศ ซึ่งใช้มานานตั้งแต่ 2539   ซึ่งแน่นอนว่าไม่สอดคล้องกับความต้องการ การใช้ไฟในปัจจุบันอีกต่อไป ที่ความต้องการใช้ไฟ คาดการณ์ได้ยากขึ้น ทุกคนมี Smart phone ใช้รถEV มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ กิจกรรมต่างๆมากมายที่ต้องใช้ไฟฟ้ากันมากขึ้น และมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป

       รวมถึงไทยจะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม ซึ่งเป็นพลังงานที่มีความไม่เสถียร  เพราะฉะนั้นเกณฑ์การสำรองไฟฟ้า จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง วัดจุดเดียวไม่ได้ แต่ต้องเป็นการวัดทุกช่วงเวลาแทน  มติ กพช. ปี 2564 จึงให้เปลี่ยนมาใช้ LOLE มาประกอบการพยากรณ์กำลังการผลิตไฟฟ้า

เกณฑ์ LOLE คืออะไร?

       LOLE หรือ ดัชนีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ (Loss of Load Expectation) เป็นเกณฑ์วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลี สิงคโปร์ ใช้เนื่องจากสามารถวัดได้จากทุกช่วงเวลา มีความมั่นใจในเรื่องความมั่นคงของระบบไฟฟ้ามากขึ้น

       เป็นการคำนวณโดยความน่าจะเป็น ผ่านโมเดลหรือแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อหาโอกาสที่จะเกิดไฟฟ้าดับ โดยค่า LOLE ยิ่งมีน้อย ยิ่งดี เพราะมันคือ ค่าดัชนีที่แสดงจำนวนวันที่คาดว่าจะมีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับในรอบ 1 ปี  ไทยเราตั้งเป้าตัวเลขค่า LOLE อยู่ที่ 0.7 วัน/ปี สหรัฐอเมริกา กำหนดเกณฑ์ LOLE ไม่เกิน 0.1 วัน / ปี  มาเลเซีย กำหนดเกณฑ์ LOLE ไม่เกิน 1 วัน / ปี

มีโอกาสเกิดไฟดับมากน้อยแค่ไหน?

        ถือเป็นเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะผ่านการศึกษามาอย่างดี การันตีได้ว่าประเทศไทยจะมีกำลังไฟฟ้าใช้เพียงพอและไม่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า ทั้งในแง่ประสิทธิภาพและคุณภาพในการบริการ ทุกชั่วโมงและตลอดทั้งปี อย่างแน่นอน ยืนยัน ไม่ว่าจะใช้เกณฑ์ไหนวัด ค่าไฟไม่เพิ่ม จากข้อสงสัยว่า แผน PDP ใหม่ จะส่งผลกระทบต่อการขึ้นค่าไฟนั้น ข้อเท็จจริงคือ ไม่เกี่ยวเพราะในแผน PDP (ลูกค้าเพิ่ม) ของประเทศไทย ใช้เกณฑ์วัดความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ทั้งแบบ Reserve Margin และ  LOLE ควบคู่กัน มานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งในปัจจุบันปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นนั้นมาจาก “ต้นทุนเชื้อเพลิง” ที่มีความผันผวนสูง จากปัจจัยภายนอก ทั้งภาวะสงคราม ราคาในตลาดโลกสูงขึ้น ซึ่งราคาต้นทุนเชื้อเพลิงคิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 60% ในการพิจารณาปรับขึ้นค่าไฟ นั่นเอง

related