svasdssvasds

จากป่าล้านแรก โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ สู่ป่าล้านที่ 2 ของปตท.

เพราะป่าไม้เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ปตท. จึงได้จุดพลังชีวิต พลิกผืนป่า ปลูก 1 ต้นกล้า… สู่ป่าล้านที่ 2 Kick off ปลูกต้นไม้ 4,500 ต้น ณ แปลงปลูกป่า ปตท. จ.ลพบุรี เพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2050 เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

       จากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านแรก สู่การเริ่มต้น ปลูกป่าล้านที่ 2 ของ ปตท. เฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ณ แปลงปลูกป่า ปตท. จังหวัดลพบุรี

ป่าไม้ สำคัญยังไง?
       เพราะป่าไม้ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต สร้างความสมดุลของระบบนิเวศ เป็นแหล่งต้นน้ำ แหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนสำคัญในการบรรเทาสภาวะโลกรวน เพราะ ปตท. เห็นความสำคัญของผืนป่า จึงได้ดำเนิน โครงการ "ปตท. จุดพลังชีวิต พลิกผืนป่า 1 ต้นกล้า… สู่ป่าล้านที่ 2” Kick off พื้นที่แรก ประเดิมปลูกต้นไม้ 4,500 ต้น ณ แปลงปลูกป่า ปตท. จังหวัดลพบุรี เฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ เพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  1 ใน 3 กลยุทธ์หลักที่ขับเคลื่อน ปตท. สู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  ภายในปี ค.ศ. 2050

การปลูกป่า 1 ล้านไร่ ไม่ใช่เรื่องง่าย
       แม้ไม่ง่าย แต่ ปตท. เคยทำสำเร็จมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2545 จุดเริ่มต้นจากเมื่อปี พ.ศ. 2537 ประเทศไทยประสบกับภัยแล้ง วิกฤตป่าไม้ลดลง รัฐบาลได้ทำโครงการปลูกป่าถาวร เฉลิมพระเกียรติรวม 5 ล้านไร่ ปตท. ขออาสาได้เข้าไปมีส่วนร่วมปลูก 1 ล้านไร่
       ป่า 3 ล้านไร่ โดย กลุ่ม ปตท. จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 20 % ปตท. ตั้งเป้า ปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร่ และความร่วมมือจากบริษัทในกลุ่ม  อีก 1 ล้านไร่ ภายในปี พ.ศ. 2573 เมื่อรวมกับแปลงปลูกป่า เฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่แล้ว ผืนป่าที่ ปตท. ร่วมฟื้นฟูกว่า 3 ล้านไร่นี้  จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้กว่าร้อยละ 20 ของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ปตท.
หรือกว่า 4.15 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ผืนป่าที่ฟื้นฟูกลับมา จะทำหน้าที่ให้บริการทางนิเวศ เป็นแหล่งต้นน้ำ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงช่วยสร้างทุนทางสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนคิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาทต่อปี

หัวใจสำคัญที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จ  คือต้องเริ่มจากการปลูกป่าในใจคน
       ..ดั่งพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือ ต้องให้คน ชุมชน มีส่วนสำคัญในการดูแลรักษาผืนป่าด้วยตัวเอง ให้เห็นประโยชน์  มีผลผลิตเก็บกิน เก็บขายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น เพราะคนกับป่า ต้องเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

       ด้วยประสบการณ์ กว่า 3 ทศวรรษ ต่อยอดเป็นสู่ สถาบันปลูกป่า และ ระบบนิเวศ ปตท. ทำหน้าที่ขยายผลองค์ความรู้การฟื้นฟูป่า พัฒนาศูนย์เรียนรู้  เป็นห้องเรียนธรรมชาติ พัฒนางานวิจัย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้

       เพราะเพียงเราเริ่มต้นทำในเรื่องเล็กน้อย ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ได้ เฉกเช่นเดียวกับ ปตท. ที่พร้อม จุดพลังและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ดูแลสังคมและทรัพยากรธรรมชาติ   ให้เติบโตเคียงข้างกันไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน
 

related