svasdssvasds

รู้จักและเข้าใจโรค PTSD สภาวะทางจิตใจหลังเจอเหตุการณ์ร้ายแรง

รู้จักและเข้าใจโรค PTSD สภาวะทางจิตใจหลังเจอเหตุการณ์ร้ายแรง

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เป็นชื่อที่หลายคนอาจคุ้นๆ หูและเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ แต่อาจยังไม่รู้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้ และวิธีรับมือกับโรคนี้กัน

รู้จักและเข้าใจโรค PTSD สภาวะทางจิตใจหลังเจอเหตุการณ์ร้ายแรง

โรค PTSD (โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ) หรือ PTSD (Post-traumatic stress disorder) เป็นความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์คุกคาม สะเทือนขวัญที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง หรือเผชิญเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่มีความเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น เหตุการณ์กราดยิงในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบรูคลินในนิวยอร์ก ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย, เหตุการณ์สึนามิ หรือเหตุการณ์สู้รบกัน ฯลฯ หลังจากเหตุการณ์เหล่านั้น ทำให้เกิดความความเครียด รู้สึกวิตกกังวลโดยไม่สามารถควบคุมได้ เห็นภาพในอดีต ฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจทำให้นอนไม่หลับและไม่มีสมาธิ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

อาการของโรค PTSD

-รู้สึกเหมือนเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น มีอาการฝันร้าย ฝันถึงเหตุการณ์นั้นบ่อย ๆ

-พยายามหลีกเลี่ยงกับเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ เช่น ไม่ไปในสถานที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์ พยายามไม่พูดถึง

-อารมณ์หรือการคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เช่น รู้สึกห่างเหิน ไม่ยินดียินร้าย ไม่สามารถรู้สึกด้านบวกได้

-ตื่นตัวมากเกินปกติ เช่น นอนไม่หลับ กลัวหรือตกใจง่ายกว่าปกติ

-หงุดหงิด โมโหรุนแรง ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมถึงหวาดระแวงและตกใจง่าย 

-นอกจากนี้ยังอาจเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า การติดแอลกอฮอล์ เป็นต้น

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

การดูแลรักษาอาการ PTSD

เบื้องต้นผู้ป่วยอาจมีวิธีดูแลและจัดการความเครียดด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

-เรียนรู้วิธีรับมือกับความเครียด ทำความเข้าใจถึงความรู้สึกหรืออาการของตัวเอง เพื่อหาวิธีรับมือเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เมื่อรู้สึกเครียดหรือมีเวลาว่างควรหางานอดิเรกทำ หรือพบปะสังสรรค์กับเพื่อน คนในครอบครัว หรืออาจจะเข้ากลุ่มบำบัดแลกเปปลี่ยนประสบการณ์

-ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย และหาเวลาผ่อนคลาย

-หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การใช้สารเสพติด หรือสูบบุหรี่ 

หากยังมีอาการ PTSD มากกกว่า 1 เดือน หรือมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษากับแพทย์ ซึ่งมีวิธีการรักษาด้วยกันหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา, วิธีจิตบำบัด หรือใช้ยาร่วมกับการทำจิตบำบัด

หลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง รับมือกับ โรค PTSD อย่างไร

-หลังจากเผชิญสถานการณ์ร้ายแรงหรือมีอาการ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที

-ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา เป็นต้น

-พูดคุยเปิดใจกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทที่สามารถรับฟังปัญหาได้

-ฝึกหายใจลึก ๆ ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือนวด เพื่อเป็นการผ่อนคลาย

-หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดกำลังป่วยเป็น PTSD ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษา

 

Cr : รศ. พญ.รัศมน กัลยาศิริ ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย / www.pobpad.com