svasdssvasds

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

จากกรณี 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง ที่กลายเป็นข่าวใหญ่ในไทยและทั่วโลก แม้ว่าจะพบตัวผู้ประสบภัย ซึ่งปลอดภัยทั้งหมดแล้ว แต่ความท้าทายใหม่ คือการนำตัวพวกเขาออกมา และอุปสรรคสำคัญ คือระดับน้ำภายในถ้ำหลวงที่สูง และเด็กๆว่ายน้ำไม่เป็น

แน่นอน เกิดคำถามว่า ทักษะการว่ายน้ำ ควรบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับหรือไม่ ในฐานะส่วนหนึ่งของ “วิชาเอาตัวรอด” (Survival Class) เราจึงอยากนำกรณีศึกษาที่น่าสนใจในต่างประเทศมานำเสนอ

คุณทราบไหมว่า มหาวิทยาลัยระดับโลก อย่าง “ฮาร์วาร์ด”ในสหรัฐฯ มีข้อกำหนดลับๆว่า นักศึกษาต้องว่ายน้ำได้ไกล 45 เมตร หรือ 50 ยาร์ด โดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วย ก่อนจะสำเร็จการศึกษา โดยบทความหนึ่งของนายโรเบิร์ต เรคเตอร์ ของพาซาเดนา สตาร์ นิวส์ วิเคราะห์ว่า เพราะฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในเครือไอวี ลีค เชื่อมั่นว่า บัณฑิตของสถาบัน เป็นตัวแทนของความชาญฉลาด ภายในร่างกายที่แข็งแรง ดังนั้น ข้อกำหนดด้านกายภาพ อย่างทักษะการว่ายน้ำนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

อีกความเชื่อหนึ่ง คือ ศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดคนหนึ่ง เสียชีวิตจากเหตุเรือสำราญ “ไททานิค”ล่ม เพราะว่ายน้ำไม่เป็น นับแต่นั้น มหาวิทยาลัยฯจึงกำหนดทักษะการว่ายน้ำ เป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา ก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ฮาร์วาร์ดไม่ได้บังคับว่า ต้องว่ายน้ำได้ 45 เมตรแล้ว แต่นักศึกษาทุกคน รู้ดีว่า ถ้าจะเป็นบัณฑิตฮาร์วาร์ดที่แท้จริง คุณต้องว่ายน้ำเป็น

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

ถ้าจะมีใครเชื่อตำนานเงื่อนไขว่ายน้ำของฮาร์วาร์ด และนำมาใช้จริงแล้วล่ะก็ คงเป็นประเทศจีน เพราะมหาวิทยาลัย“ชิงหวา” สถาบันการศึกษาชั้นนำของจีน ที่มีฉายาว่า “ฮาร์วาร์ดแห่งตะวันออก” กำหนดว่า นักศึกษาทุกคนต้องว่ายน้ำเป็น ในฐานะทักษะจำเป็นเพื่อเอาชีวิตรอด และไม่ใช่เป็นทักษะเพื่อสำเร็จการศึกษา แต่เป็นข้อสอบภาคบังคับ ก่อนเข้าเรียน ที่นักศึกษาทุกคนต้องว่ายน้ำท่าไหนก็ได้ ไกลอย่างน้อย 50 เมตร แต่ช่วงหลังนั้น เกิดกระแสต่อต้าน จนผ่อนผันว่า อย่างน้อยต้องว่ายน้ำเป็นก่อนจบ

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

พูดถึงทักษะการเอาชีวิตรอด คงไม่มีประเทศไหนที่ตื่นตัวมากเท่ากับญี่ปุ่น ที่เผชิญกับแผ่นดินไหวบ่อยครั้งทุกปี โรงเรียน บริษัท สถานที่ราชการทุกแห่ง มีการฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัติอยู่เป็นประจำ เป็นปัจจัยที่ทำให้เวลาเผชิญภัยธรรมชาติ ญี่ปุ่นจะมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บค่อนข้างน้อย

รัฐบาลญี่ปุ่นเอง มีคู่มือการเอาตัวรอดด้วย และเพื่อให้เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ง่ายขึ้น จึงจัดทำเป็นการ์ตูนเข้าใจง่าย ทั้งภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม? เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

วัฒนธรรมมังงะ หรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นเอง สอดแทรกความรู้ด้านทักษะเซอร์ไววัลไว้ไม่ใช่น้อย ยกตัวอย่าง มังงะเรื่อง “โตเกียว X เดย์” ที่จินตนาการถึงวันที่กรุงโตเกียว เผชิญกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และเราจะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างไร

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

เยาวชนไทยควรเรียน..."วิชาเอาตัวรอด" ไหม?

บทความโดย: ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ SpringNews

related