svasdssvasds

ฉาย บุนนาค : เหตุผลที่ “ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และทุก “สถานศึกษา” ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น

ฉาย บุนนาค : เหตุผลที่ “ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และทุก “สถานศึกษา” ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ฉาย บุนนาค : เหตุผลที่ “ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และทุก “สถานศึกษา” ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น

ขอบคุณสำหรับมากมายหลายความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ว่าด้วยเรื่อง “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และ “สถานศึกษา” ที่คิดจะเข้าตลาดหุ้น โดยเฉพาะจากคุณ “Noom Kittisak Imduaikiat” คุณ “Phasuvut Note Vilainerun” และ คุณ “Chalermporn Tantikarnjanarkul”

เข้าตลาดหุ้น เข้าไปเพื่ออะไร?

ตามทฤษฎี  ประโยชน์ต่อกิจการ คือเพื่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงเพื่อความภูมิใจของบุคลากร  เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อลดต้นทุนการเงินจากการเข้าถึงแหล่งทุนระยะยาว เพื่อนำเงินไปพัฒนาและขยายธุรกิจ

ประโยชน์ต่อเจ้าของคือ เพื่อความมั่งคั่ง เพื่อสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้น เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีเวลาขายหุ้นได้กำไร

ฉาย บุนนาค : เหตุผลที่ “ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และทุก “สถานศึกษา” ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น

จากทุกความเห็นต่าง...

ถูกต้องครับ ที่ “สถานศึกษาเอกชน” คือ “ธุรกิจแสวงหากำไร” และมีอิสระตามกฎหมายในการแสวงหาประโยชน์

ถูกต้องครับ ที่ “สถานศึกษาเอกชน” ปัจจุบันไม่ได้ผูกขาดและมีการแข่งขันอย่างเสรี

ถูกต้องครับ ที่ในเชิงจริยธรรมที่คงมีโรงเรียนและครูแย่ๆ กว่าโรงเรียนที่จะเข้าตลาดนี้

วันนี้เรากำลังพูดถึงธุรกิจ “สถานศึกษา” ที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ใช่โรงเรียนนานาชาตินี้แห่งเดียว!

วัฒนธรรมปกติในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ คุณเลือกผู้ถือหุ้นไม่ได้ ใครจะซื้อจะขายเมื่อไหร่ก็ได้ตามอุปสงค์อุปทานและราคาที่กำหนดโดยกลไกตลาด

ทุกอย่างเป็นไปตามระบบทุนนิยม ผู้มีหุ้นมากมีสิทธิ์เลือกกรรมการบริษัท และกรรมการบริษัทมีอำนาจกำหนดนโยบายต่างๆ

ฉาย บุนนาค : เหตุผลที่ “ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และทุก “สถานศึกษา” ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น

“สถานศึกษา” คือโรงงานผลิตทรัพยากรมนุษย์ของชาติ คืออนาคต คือความมั่นคงของประเทศ ไม่ใช่โรงงานเหล็ก ไม่ใช่ธุรกิจปกติ

ในโลกแห่งทุนนิยมและในตลาดทุน โลกที่นิยมเงินทองผลประโยชน์มากกว่าความมั่นคง และจริยธรรม

โลกที่มีปรัชญาสวนทางกับความพอเพียง ซึ่งเป็นอุดมคติของสังคมไทยตามพระราชดำริพ่อหลวงรัชกาลที่ 9

ผมขอจำแนกความเสี่ยงและพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อ “สถานศึกษา” เข้าตลาดหุ้นให้ฟังดังนี้...

1.เมื่อสถานศึกษา ที่เข้าตลาดหุ้น กลไกและระบบจะบังคับให้ทุกองค์กรต้องมุ่งแสวงหากำไรสูงสุด หรือ “Maximize Profit”แปลว่า เพิ่มรายได้ (ค่าเล่าเรียน) และลดรายจ่าย นั้นคือคุณภาพและสิ่งอื่นๆ ที่นักเรียนพึงได้รับ

2.โรงเรียนจะอยู่ในสภาวะเสี่ยงตลอดเวลากับการเปลี่ยนเชิงนโยบายจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่สามารถเปลี่ยนได้ทุกวัน ทุกเดือนและทุกปี

3.จะเกิดการขยายสาขาแบบดอกเห็ด ไล่ซื้อกิจการการศึกษา ไล่ซื้อบุคลากร เพื่อลดการแข่งขันและความเป็นเสรี

4. “นักเรียน” จะถูกแปรค่าจากอนาคตของชาติไปสู่ “ลูกค้า” ค่านิยมและคุณค่าของ “ครู” ซึ่งเปรียบดั่ง “แม่พิมพ์ของชาติ” จะเปลี่ยนไป

จินตนาการได้เลย ไม่ต่างจากวันนี้ที่โรงพยาบาลเอกชน (ในตลาดหุ้น) ที่กึ่งผูกขาดและคิดค่ายาแก้ปวดเราแผงละเป็นร้อย ๆ ทั้งๆ ที่โรงพยาบาลคืออาชีพรักษาชีวิต!

โดยนายทุนเจ้าของกิจการโรงพยาบาลไม่กี่คนร่ำรวยล้นฟ้า และมีกำไรปีละหลายหมื่นล้าน!

ฉาย บุนนาค : เหตุผลที่ “ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และทุก “สถานศึกษา” ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น

ความแตกต่างของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ความแตกต่างของโรงเรียนรัฐและเอกชนที่จะเพิ่มขึ้น จะสร้างความเหลื่อมล้ำของสังคมให้มากไปกว่าปัจจุบัน!

นี่ไม่ใช่สังคมอุดมคติของสังคมไทย สังคมที่เชิดชูคุณธรรมและความพอเพียงแน่นอน...

สำหรับ “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์”

ด้วยทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท ปี 2559 และ 2560 มีกำไร 80 ล้านบาท และ 60 ล้านบาทตามลำดับ มิหนำซ้ำยังได้สิทธิพิเศษไม่ต้องเสียภาษี นี่ยังไม่พออีกหรือ?

ส่วนสำหรับท่านผู้ไม่รู้ ท่านควรทราบว่า “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์” จะระดมทุนไปเพื่อคืนหนี้ของโรงเรียน ไม่ใช่เพื่อมุ่งเน้นการศึกษาอย่างที่ท่านเดา และอัตราดอกเบี้ยที่ “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์” จ่ายอยู่นั้นอยู่ที่ 3.15% และ MLR ลบ 1-2% ทั้งหมด ซึ่งต่ำมาก

ฉาย บุนนาค : เหตุผลที่ “ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และทุก “สถานศึกษา” ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น

และด้วยสินทรัพย์ของโรงเรียนจำนวนกว่า 1.7 พันล้านบาทและมูลหนี้โรงเรียนจำนวน 1 พันล้านบาท กับกระแสเงินสดจากการดำเนินธุรกิจปีละเฉียด 200 ล้านบาท เพียง 5 ปีก็จะปลอดหนี้แล้วไม่ใช่หรือ?

ทำไมต้องกระสันจะคืนหนี้ขนาดนี้? หรือว่ามองที่ประโยชน์ด้านความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นเป็นหลัก?

อย่างที่เคยเรียนให้ทราบ ผู้ดำเนินอาชีพธุรกิจการศึกษาต้องมีจิตที่เป็นสาธารณะและมีจิตวิญญาณเพื่อเยาวชนมากกว่าคำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน

ด้วยทุกเหตุผลข้างต้น การระดมทุนเข้าตลาดหุ้นรอบนี้ของ “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์” จึงไม่มีเหตุผลที่เพียงพอต่อความเสี่ยงที่เยาวชนและสังคมไทยพึงได้รับ

|คอลัมน์ :ฉาย บุนนาค 

|โดย :ฉาย บุนนาค

|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 18 ฉบับ 3398 ระหว่างวันที่ 6-8 ก.ย.2561

 

ฉาย บุนนาค : เหตุผลที่ “ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ” และทุก “สถานศึกษา” ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น

related