SHORT CUT
คนสั่งซื้ออาหารแบบเดลิเวอรีลดลง 3.7% หลังพบราคาอาหารแพงกว่านั่งทานในร้าน ด้าน The Pizza Company เผยใช้แอป 1112 ทำตลาดมานาน ลูกค้าสั่งผ่านแอปมากถึง 60% แล้ว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์ปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ลดลง 3.7% เมื่อเทียบกับปี 2566 เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตกลับไปเป็นเหมือนช่วงก่อนเกิดโควิด รวมทั้งราคาอาหารในแอป ปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับปริมาณอาหารที่น้อยลงกว่าเดิม
นอกจากนี้ การลดโปรโมชันส่งเสริมการขายลงทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องแบกรับต้นทุนแทน จึงเลือกที่จะออกไปสั่งซื้อเองหรือเลือกช่องทางของแบรนด์ที่เป็นร้านค้าตรงดีกว่าสั่งผ่านแอปเดลิเวอรีที่เป็นตัวกลาง
ทางด้านของเดอะพิซซ่า คอมปะนี หนึ่งในธุรกิจร้านอาหารในเครือไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป มองว่าการให้บริการเดลิเวอรีเอง แม้จะต้องแบกต้นทุนในการบริหารจัดการ และควบคุมคุณภาพอาหารเองทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ได้รับรู้ถึงพฤติกรรมของลูกค้าได้ดีกว่า และสามารถทำโปรโมชันได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่า
นายปัทม์ พงษ์วิทยาพิพัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีการให้บริการแอปพลิเคชัน 1112 มานานกว่า 10 ปีแล้ว ควบคู่กับการให้บริการผ่านสายด่วน 1112 ซึ่งการที่เราเลือกลงทุนด้านนี้ก่อนที่แพลตฟอร์มเดลิเวอรีจะเข้ามาเพราะมองว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่จะไม่เหมือนเดิม
วัตถุประสงค์ที่เรามองเรื่องของการทำแอปพลิเคชัน นอกจากตอบโจทย์ผู้ใช้บริการที่มีความต้องการหลากหลายแล้ว ยังสามารถควบคุมคุณภาพของอาหารได้ดีกว่าด้วย
แม้ว่าเราจะทำแอปพลิเคชันมานานแต่ก็ต้องยอมรับว่าช่องทางเดลิเวอรีของเราเพิ่งบูมช่วงโควิดนี้เอง เพราะผู้บริโภคออกจากบ้านไม่ได้และการสั่งผ่านแอปของแบรนด์โดยตรงก็ทำให้ได้ข้อมูลว่า แบรนด์สินค้าของเรากลายเป็นที่ตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้ดีและกลายเป็นภาพจำว่า
แม้ว่า เดอะพิซซ่า คอมปะนี จะใช้การสื่อสารผ่านพรีเซนเตอร์คนดังมาโดยตลอดเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์แบรนด์ อย่างล่าสุดก็ใช้ พีพี-บิวกิ้น แต่ส่วนนี้แค่ตอกย้ำว่าเรามีแอปที่ช่วยส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
ตัวเลขที่น่าสนใจจากข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าเดลิเวอรีของเดอะ พิซซ่า คอมปะนี คือ
ตอนนี้นอกจากการมีหุ่นยนต์ช่วยเสิร์ฟในร้านสาขาแล้ว เราก็มองเทรนด์ที่น่าสนใจอื่นๆ ด้วย อย่างที่เห็นนิยมในต่างประเทศคือการใช้หุ่นยนต์ส่งของในบริเวณที่ใกล้ๆ สาขา แต่เรายังมองเรื่องข้อจำกัดด้านความปลอดภัยในการขับขี่ของหุ่นยนต์ที่จะไปส่งปลายทาง อาจติดปัญหาด้านกฎหมายบางอย่าง แต่ก็มีการดูความพร้อมของเทรนด์ทั่วโลกด้วย
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม