svasdssvasds

เวียดนามมอบสิทธิประโยชน์ ดึงบริษัท semiconductor ขอเป็นผู้นำตลาดอาเซียน

เวียดนามมอบสิทธิประโยชน์ ดึงบริษัท semiconductor ขอเป็นผู้นำตลาดอาเซียน

เวียดนามตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2045 พวกเขาจะกลายมาเป็นแหล่งสำคัญในห่วงโซ่อุตสาหกรรม semiconductor หรือ Chip ซึ่งเป็นวัสดุที่สำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หวังดึงดูดวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญเข้ามา ประกาศยกเว้นภาษีให้แก่บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนอีกด้วย

SHORT CUT

  •  อุตสาหกรรม Semiconductor หรือ Chip ซึ่งเป็นวัสดุที่สำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น  ใช้ในการผลิตแผงวงจรเล็กๆ เพื่อเป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 
  • ทั้งนี้ Chip นับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและได้ถูกนำไปพัฒนาและใช้งานหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์, ด้านการแพทย์, คอมพิวเตอร์, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), หุ่นยนต์อัตโนมัติ, 5G และ Internet of Things
  •  เวียดนาม ตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2045 เวียดนามจะกลายมาเป็นแหล่งสำคัญในห่วงโซ่อุตสาหกรรมนี้  โดยจะมี การให้สิทธิประโยชน์ผ่านกองทุนด้านวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยร่วมระหว่างรัฐกับบริษัทเทคโนโลยีเอกชน

เวียดนามตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2045 พวกเขาจะกลายมาเป็นแหล่งสำคัญในห่วงโซ่อุตสาหกรรม semiconductor หรือ Chip ซึ่งเป็นวัสดุที่สำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หวังดึงดูดวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญเข้ามา ประกาศยกเว้นภาษีให้แก่บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนอีกด้วย

รัฐบาลเวียดนามประกาศ ยกเว้นภาษีและให้สิทธิประโยชน์อื่นๆแก่บริษัทที่ทำธุรกิจด้าน semiconductor  เพื่อหวังก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในภูมิภาค เนื่องจากในเวลานี้ หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการผลิต semiconductor มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งอย่างมาเลเซีย
 

อุตสาหกรรม Semiconductor คืออะไร

สำหรับ อุตสาหกรรม Semiconductor หรือ Chip ซึ่งเป็นวัสดุที่สำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น  ใช้ในการผลิตแผงวงจรเล็กๆ เพื่อเป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงเป็นสารกึ่งตัวนำและมีส่วนประกอบ เช่น ซิลิคอน เจอร์เมเนียม และซีลีเนียม

ทั้งนี้ Chip นับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและได้ถูกนำไปพัฒนาและใช้งานหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์, ด้านการแพทย์, คอมพิวเตอร์, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), หุ่นยนต์อัตโนมัติ, 5G และ Internet of Things

สิ่งเหล่านี้มีความต้องการใช้ Chip ที่มีคุณภาพเป็นส่วนประกอบหลักในสินค้าและบริการมากขึ้น อย่างเช่นในปี 1983 ที่มีการผลิตโทรศัพท์มือถือเพื่อการพาณิชย์ครั้งแรกในสหรัฐฯ โดยในยุคแรกนั้นโทรศัพท์มือถือมีราคาสูงถึง 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 120,000 บาท และการใช้งานในรุ่นแรกๆ นั้น ค่อนข้างจำกัด ใช้ได้เพียงการสื่อสารผ่านทางเสียง ยังไม่สามารถส่ง SMS หรือใช้งานอื่นๆ ได้มากนัก ต่างจากปัจจุบันที่โทรศัพท์มือถือมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก กลายเป็นสมาร์ทโฟนและมีขนาดเล็กลงตอบโจทย์การใช้งานมากมาย ที่สำคัญมีราคาถูกลงซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถจับต้องและเป็นเจ้าของได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากประสิทธิภาพที่สูงขึ้นของ Chip แบบเท่าทวีคูณ 

แผนการ เวียดนามมอบสิทธิประโยชน์ดึงบริษัท semiconductor นั้นจะ ประกอบไปด้วยการให้สิทธิประโยชน์ผ่านกองทุนด้านวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยร่วมระหว่างรัฐกับบริษัทเทคโนโลยีเอกชน เช่น บริษัท FPT 

 

เวียดนามมอบสิทธิประโยชน์ ดึงบริษัท semiconductor ขอก้าวเป็นผู้นำตลาดอาเซียน

มีรายงานว่าหลายบริษัท ตั้งแต่บริษัท Nvidia ไปจนถึง Samsung ก็กำลังเล็งจะขยายธุรกิจผลิตชิปในเวียดนาม ซึ่งคาดว่า เวียดนามจะสร้างเม็ดเงินจากจุดนี้ได้ถึงหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในเวลานี้เวียดนามก็เป็นที่ตั้งโรงงานผลิตและทดสอบของบริษัท Intel ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เวียดนามก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการวิจัย และทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ 

นอกจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่กล่าวไปเบื้องต้น ก็ยังมีบริษัท AT&S สัญชาติออสเตรเลีย ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ตัดสินใจเลือกมาเลเซียในฐานสำคัญในการผลิต ขณะเดียวกัน เวียดนามเองก็สามาถดึงดูดบริษัทในธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้หลายสิบบริษัท โดยโฆเซ่ เฟอร์นานเดซ ผู้ช่วยรัฐมนตรีการเติบโตของเศรษฐกิจ พลังงานและสิ่งแวดล้อมมองว่า จะมีบริษัทสัญชาติอเมริกันอีกหลายแห่งกระโดดเข้ามาในเวียดนาม ถ้าหากว่า เวียดนามมีโครงสร้างด้านพลังงานสะอาดมากพอที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของพวกเขา 

ด้านรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเวียดนามมองว่า เวียดนามเองจำเป็นต้องบรรลุข้อตกลงด้านการถ่ายโอนเทคโนโลยีกับชาติต่างๆที่เข้ามามีส่วนลงทุนในธุรกิจด้านชิป อย่างไรก็ตาม เขายังไม่ได้ระบุเจาะจงถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีในแผนการ แต่ระบุเพียงว่า เวียดนามจะออกนโยบายที่ให้สิทธิประโยชน์อันเป็นที่น่าพอใจเพื่อดึงผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติเข้ามาเป็นแรงงานสำคัญ 

ขณะที่ นายกรัฐมนตรีฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ ของเวียดนาม ผลักดันให้ 4 บริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศที่รัฐเป็นเจ้าของ ได้แก่  Viettel, VNPT, MobiFone และ Gtel Mobile ก้าวขึ้นมารับบทนำในการบังคับใช้ยุทธศาสตร์การขยายตัวภาคธุรกิจ semiconductor ด้วย

ที่มา  ft  vietnamplus.vn

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related