svasdssvasds

เปิดที่มา ร้านซักผ้า สะดวกซัก ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา

เปิดที่มา ร้านซักผ้า สะดวกซัก ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา

ทำความรู้จักร้านสะดวกซัก หรือร้านซักผ้า ที่มีแค่เครื่องและตู้หยอดเหรียญที่นำเทคโนโลยีมาใช้ ทำให้เราไม่ต้องต่อแถวรอเครื่องซักเสร็จอีกต่อไป

ร้านซักผ้า กลายเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศไทย จากการขยายตัวของความแออัดในชุมชนเมือง ธุรกิจนี้เรามันคุ้นชินกับเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญตามหอพักต่าง ๆ

ในอดีตเราจะเรียกว่า ร้านเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ แต่ ปัญหาของ คือ เมื่อผู้ใช้ซักผ้าในแต่ละครั้ง คนต่อไปที่จะมาใช้บริการ ต้องรอจนกว่าที่คนซักก่อนหน้าจะนำผ้าออกจากเครื่องก่อนแล้วจึงใช้ต่อได้ จึงทำให้เป็นปัญหาของผู้ใช้ไม่ใช่น้อย รวมถึงช่วงที่มีผู้ใช้งานต่อคิวเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกสบายสำหรับคนที่ต่อแถวรอซักเป็นอย่างมาก

ร้านสะดวกซัก นำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา

ปัจจุบันธุรกิจ ร้านสะดวกซัก หรือ ร้านซักผ้า นำเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน (Pain Point) ของผู้ใช้ เช่น แฟรนไชส์ Otteri ร้านซักผ้าอัตโนมัติ นำเทคโนโลยีมาใช้ผสมกับการใช้แอปฯ โทรศัพท์มือถือ ด้วยการเปิดให้ดูว่าเครื่องซักผ้าว่างอยู่กี่เครื่อง ที่สาขาไหนบ้าง ? ลดปัญหาการแออัดของคน และจ่ายแบบไร้เงินสดได้ และยังมีแบรนด์อื่น ๆ เช่น 24 wash . ฟองแฟ้บ laundry&dryclean

ซึ่งในต่างประเทศ ธุรกิจร้านสะดวกซัก เป็นหนึ่งในส่วนที่เข้ามาแก้ปัญหาคนเมืองที่มีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงและพื้นที่ที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถซื้อเครื่องซักผ้ามาไว้ที่หอพักได้

โดยสำหรับราคาการลงทุนในร้านสะดวกซักเริ่มต้นที่ 2.2 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดของร้านในการลงทุน

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

 

ร้านสะดวกซักคืนทุนเมื่อไหร่ ?

เว็บไซต์ของ LG ระบุว่า หากมีลูกค้าใช้บริการเฉลี่ย 10 คน ซักผ้าสัปดาห์ละครั้ง ปริมาณการซักเท่ากับ 10 ตะกร้า/สัปดาห์ กรณีตั้งราคาค่าบริการไว้ที่ครั้งละ 20 บาท จะมีรายได้อยู่ที่ 10x20 = 200 บาท/สัปดาห์ หรือประมาณ 28.5 บาท/วัน (ยังไม่หักต้นทุน) และเมื่อรวมกับต้นทุนในส่วนค่าน้ำสำหรับเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญขนาด 8 กิโลกรัม จะใช้น้ำประมาณ 100 ลิตร/ครั้ง หรือคิดเป็น 0.1 หน่วย หากค่าน้ำหน่วยละ 20 บาท ต้นทุนค่าน้ำต่อการซัก 1 ครั้งจะเท่ากับ 0.1 x 20 = 2 บาท

ค่าไฟ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญขนาด 8 กิโลกรัม ใช้เวลาซักประมาณ 1 ชั่วโมง จะกินไฟโดยเฉลี่ย 0.3 หน่วย หากค่าไฟหน่วยละ 4 บาท นั่นหมายความว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อการซัก 1 ครั้งจะเท่ากับ 0.3 x 4 = 1.2 บาท รวมเป็นเงินต้นทุน ค่าน้ำ+ค่าไฟ = 2 + 1.2 = 3.2 บาท/ครั้ง

หากคุณตั้งราคาซักครั้งละ 20 บาท หักต้นทุน (ค่าน้ำ/ค่าไฟ) 3.2 บาท จะเหลือรายได้ 16.8 บาท/ครั้ง ลูกค้าทั้งหมด 10 ตะกร้า/สัปดาห์ จะมีรายได้หักค่าใช้จ่าย = 10 x 16.8 = 168 บาท/สัปดาห์ หรือ 24 บาท/วัน หรือคิดเป็น 24 x 365 = 8,760 บาท/ปี

ถ้าราคาเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ขนาด 8 กิโลกรัม เครื่องละ 11,700 บาท ค่าอุปกรณ์จิปาถะในการติดตั้งรวมทั้งหมด 500 บาท

รวมเงินลงทุนทั้งสิ้น = 12,200 บาท เมื่อรวมกับรายได้ขั้นต่ำจากลูกค้า 10 คน = 8,760 บาท/ปี จะใช้ระยะเวลาในการคืนทุน = 12,200 / 8,760 = 1.4 ปี หรือ 16.8 เดือน อย่างไรก็ตามนี่เป็นการคำนวณโดยคร่าว ๆจากจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการแค่เพียง 10 คนเท่านั้น ในกรณีร้านตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมาก ผู้ใช้บริการมากขึ้นก็จะยิ่งคืนทุนได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตามร้านซักผ้าถูกออกแบบมาให้เป็นที่พักคอย รอเครื่องซักผ้าให้ซักเสร็จเท่านั้น บางร้านอาจมีเกมและทีวีให้พักผ่อนหย่อนใจ แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ในที่แจ้ง

related