SHORT CUT
บรรดาประเทศอาเซียนยังถือว่า มีความแตกต่างกันค่อนข้างเยอะในความก้าวหน้าของการเป็นสังคมไร้เงินสด (cashless society) แต่รัฐบาลแต่ละประเทศก็พยายามส่งเสริมความร่วมมือร่วมกัน
ล่าสุดระหว่างชาติต่างๆในอาเซียน คือการเข้าร่วมเครือข่าย QR code ประกอบไปด้วย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าและลูกค้าจากทั้งหกประเทศใช้ระบบเดียวกัน วันนี้เรารวบรวมความก้าวหน้าของสังคมไร้เงินสดบางประเทศในอาเซียนที่น่าสนใจมาฝาก
การใช้ระบบจ่ายเงินแบบไร้เงินสดค่อนข้างมีความแตกต่างในเมืองใหญ่และชนบท โดยผลการศึกษาของ YouGov เมื่อปี 2023 พบว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่มาจากเขตกรุงเทพฯ นิยมใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินออนไลน์สำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่า แต่ยิ่งไกลออกไปในพื้นที่ชนบท ประชาชนจะนิยมใช้เงินสดมากกว่า และพบว่าประชาชนในภาคเหนือและภาคใต้นิยมจ่ายเงินสดให้กับขนส่งเมื่อสินค้ามาถึงแล้ว
ผลการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคนยังคงพกเงินสดติดตัว โดย 50% ยังคงใช้เฉพาะเงินสดเพื่อจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ใช้ที่ตลาดสด ตลาดนัด ร้านอาหารริมทาง และร้านรถเข็น แต่ก็พบว่ากลุ่มตัวอย่างอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยกว่า มีการใช้ e-payment เป็นทางเลือกหลัก
จึงอาจตีความได้ว่าปริมาณการใช้ e-payment ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนั้น น่าจะกระจุกตัวอยู่ในบางกลุ่มเท่านั้น
จำนวนการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลของเวียดนามนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กระแสการใช้ก็ยังถือว่าอยู่ในขั้นต้นอยู่ เพราะเวียดนามเป็นสังคมที่ใช้เงินสดอย่างเดียวตั้งแต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ด้านสถาบันจัดการเศรษฐกิจกลางของรัฐบาล เปิดเผยว่า จำนวนการทำธุรกรรมแบบไม่ใช้เงินสดอยู่ที่ 11.49 เปอร์เซ็นต์ในปี 2019
ด้วยความที่อินโดนีเซียเป็นประเทศเกาะน้อยใหญ่ ทำให้ประชากรมีปัญหาค่อนข้างมากในการเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร ดังนั้นการทำธุรกรรมออนไลน์นับว่าเป็นความสะดวกสบายของอินโดนีเซียเลยทีเดียว ซึ่งอินโดนีเซียก็มุ่งหวังการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเช่นกัน ข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติของอินโดนีเซียพบว่า เฉพาะในปี 2019 มีการทำธุรกรรมแบบไร้เงินสด 4.7 ล้านครั้ง อินโดนีเซียยังพยายามร่วมมือกับบริษัทที่ชำนาญเรื่องนี้ อย่างรถไฟ MRT ที่กรุงจาการ์ตา ปัจจุบันก็สามารถใช้บัตรเครดิตของมาสเตอร์การ์ดจ่ายได้แล้ว
ผลการสำรวจเมื่อปี 2022 พบว่า ชาวมาเลเซียมากถึง 74 เปอร์เซ็นต์กำลังเดินหน้ามุ่งสู่สังคมไร้เงินสด และน่าจะใช้เวลาราว 3 ปีเพื่อเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด โดยมีรายงานการใช้จ่ายแบบออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การใช้บัตรต่างๆก็เพิ่มขึ้นถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ในระหว่างช่วงการระบาดของโควิด 19 สำหรับรูปแบบการใช้จ่ายเงินที่ได้รับความนิยมในมาเลเซียก็คือการใช้กระเป๋าเงินออนไลน์ในโทรศัพท์มือถือ และการใช้จ่ายผ่านบัตร
ผลการศึกษาพบว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายแบบไม่ใช้เงินสดมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ 97 เปอร์เซ็นต์ของประชากร โดยใช้วิธีต่างๆ เช่น บัตร โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์ออนไลน์ทางโทรศัพท์มือถือ และจ่ายผ่าน QR code เป็นต้น
แต่สิ่งที่น่าชื่นชมของสิงคโปร์คือ นับตั้งแต่ปี 2020 สิงคโปร์ประสบความสำเร็จกลายเป็นประเทศที่ระบบขนส่งมวลชนไม่ใช้เงินสด โดยสามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตจ่ายได้เลย
ที่มา