svasdssvasds

Healthygamer แชทบอทปรึกษาปัญหาเด็กติดเกม คู่มือพ่อแม่รับมือก่อนสายเกินไป

Healthygamer แชทบอทปรึกษาปัญหาเด็กติดเกม คู่มือพ่อแม่รับมือก่อนสายเกินไป

แชทบอทปรึกษาปัญหาเด็กติดเกม Healthygamer จากม.มหิดล เพื่อช่วยผู้ปกครองประเมินลูกหลานเบื้องต้น ก่อนเกมกระทบสุขภาพกาย-ใจ ส่งผลเสียกับเด็กและความสัมพันธ์ในครอบครัว

เกมคอมพิวเตอร์ เกมมือถือ วิดีโอเกม เป็นอุตหาสกรรมทำรายได้ปีละหมื่นล้านดอลล่าห์ เว็บไซต์ Androidpolice เปิดเผยข้อมูลตลาดเกมในปี 2021 พบว่า วิดีโอเกมบนมือถือ (รวมแท็บเล็ตด้วย) สามารถทำรายได้รวมไปกว่า 93.2 พันล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้นกว่าเมื่อปี 2020 อีก 7.3% และคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดถึง 52% ซึ่งการระบาดในช่วงโควิด-19 ดูจะเป็นใจให้ตลาดเติบโตขึ้น เพราะคนทั่วโลกไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ พื้นที่สาธารณะรกร้าง ต้องกักตัวติดอยู่ในบ้านนานๆ การมีเกมเป็นเพื่อนก็ช่วยผ่านวันเวลาไปได้เร็วขึ้น รวมถึงจำนวนการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือของคนยุคดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นทุกปี

ทั้งยังขยายตัวเกิดเป็นกีฬาที่เรียกว่า E-sport ที่มีผู้แข่งขันกันในระดับอาชีพ มีเงินรางวัลและสร้างรายได้ เป็นที่ยอมรับของคนในวงการ

ซึ่งเกมแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้ 

  1. Role Play Game (RPG)
  2. Strategy Game
  3. Shooting Game
  4. Action Game
  5. Sports Game
  6. Rhythm Action Game 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยแต่ละประเภทมีความเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีการจัดเรทติ้งเกมต่างๆ ที่ผู้ปกครองสามารถค้นหาได้ในอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นการคัดกรองไม่ให้ลูกหลานเข้าถึงเกมที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ เกมที่ไม่ควรให้เด็กเล่นเลย ไม่ว่าจะวัยไหน คือ 

  • เกมที่มีฉากความรุนแรงมาก เช่น ฉากนองเลือด ภาพน่าหวาดเสียว
  • เกมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศ
  • เกมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพนัน 
  • เกมที่ใช้คำหยาบคาย 

แต่พฤติกรรมแบบไหนถึงเรียกว่าการติดเกม?

ข้อมูลจาก healthygamer ระบุว่า การติดเกมเป็นการเสพติดทางพฤติกรรมอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ สร้างผลกระทบหรือก่อให้เกิดความทุกข์ ผลการสำรวจพบว่า ในประเทศไทย มีเด็กและวัยรุ่นร้อยละ 15-50 ที่มีปัญหาการเล่นเกม  ส่วนเด็กมัธยมศึกษาร้อยละ 5.4 พบว่ามีปัญหาติดเกม ซึ่งแนวโน้มใกล้เคียงกับในต่างประเทศ โดยเป็นเพศชายสูงกว่าเพศหญิง 1.4 เท่า ในช่วงอายุ 12-20 ปี 

Healthygamer แชทบอทปรึกษาปัญหาเด็กติดเกม คู่มือพ่อแม่รับมือก่อนสายเกินไป

ผลการประเมินที่ผู้เขียนทำการทดสอบผ่านเว็บไซต์ https://www.healthygamer.net โดย แพลตฟอร์ม healthygamer เกิดขึ้นโดย สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ต้องการสร้างเกราะคุ้มกันเด็กและเยาวชน ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหา และกระทบกับสุขภาพกาย ใจของเด็ก จากเกมและสื่อออนไลน์ 

รวมถึงภัยร้ายต่างๆ ที่แฝงตัวมากับโฆษณาหรือคนร้ายที่เข้ามารูปแบบการชักชวนเหยื่อที่มีวุฒิภาวะยังน้อย ไม่ทันได้ระวังตัว 

การป้องกันและจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกหลานก่อนสายจึงเป็นอีกหนึ่งทางออก โดยสามารถเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ https://www.healthygamer.net มีแบบทดสอบสุขภาพการเล่นเกมของเด็กๆ ให้ทำฟรี รวมทั้งความรู้อีกมากมายเกี่ยวกับเด็กติดเกม

ผู้เขียนทดลองใช้แล้ว พบว่า ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ก็ตอบคำถามที่ใช้ประเมินได้ครบถ้วน โดยสรุปสุดท้าย ผู้ตอบคำถามจะได้รับการประเมินเบื้องต้น และแนวทางการแก้ไขในอนาคต ทั้งนี้มีชุดแบบสอบถามให้เลือก สำหรับเด็ก และ ผู้ปกครอง เป็นการรีเช็กกันทั้งครอบครัว 

โดยถ้าได้รับการประเมินว่าลูกหลานในบ้านมีภาวะติดเกม สามารถรับคำปรึกษาผ่าน เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/healthygamer ซึ่งจะมีนักจิตวิทยา คอยตอบคำถามผ่านทาง inbox

หรืออีกหนึ่งช่องทางที่รับฟังและให้คำปรึกษา ได้ที่ Line ID: @healthygamer หรือกดที่นี่เพื่อแอดไลน์ https://bit.ly/healthygamerchatbot โดยจะมีแบบทดสอบอื่นๆ ประกอบเพื่อช่วยประเมินพฤติกรรมของเด็กและผู้ปกครองในการรับสื่อออนไลน์ รวมถึงพฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกหลานที่ทำให้คุณต้องหันกลับมามองว่าให้เวลาและความสำคัญกับครอบครัวเพียงพอแล้วหรึอยังประกอบด้วย 

ทั้งนี้ ยังมีคู่มือ E-book ที่ผู้ปกครองควรศึกษาทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจให้ลูกเล่นเกม หรือ ใช้งานในสื่อออนไลน์ สามารถดาว์นโหลดเพื่อเตรียมความพร้อม ได้ที่ "คัมภีร์ป้องกันลูกติดเกม" https://bit.ly/3RjNQ3v

ทั้งนี้ย้ำว่าทุกกระบวนการขั้นต้นที่กล่าวมานั้น สามารถใช้งานได้ ฟรี...ไม่มีค่าใช้จ่าย

related