svasdssvasds

แชร์ข่าวปลอมบิดเบือน Facebook เริ่มส่งแจ้งเตือน-ข้อเท็จจริงให้ผู้ใช้แล้ว

แชร์ข่าวปลอมบิดเบือน Facebook เริ่มส่งแจ้งเตือน-ข้อเท็จจริงให้ผู้ใช้แล้ว

นักแชร์ฟังทางนี้ แชร์ข้อมูลมั่ว เฟซบุ๊ก เริ่มแจ้งเตือน-ชี้แจงข้อเท็จจริง ของข่าวปลอม-ข่าวบิดเบือน ให้ผู้ใช้ไม่ถูกหลอกจากข่าวปลอม

Facebook (เฟซบุ๊ก) หนึ่งในแพลตฟอร์มที่ถูกคนร้ายแสวงหาผลประโยชน์จากการใช้ข่าวปลอมและข่าวบิดเบือนสร้างควมเข้าใจผิดมากที่สุดแห่งหนึ่ง(เพราะมีผู้ใช้เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก) เริ่มต่อต้านข่าวปลอมแล้ว ด้วยการแจ้งเตือนและข้อเท็จจริงตามโพสต์ข่าวปลอม-ข่าวบิดเบือนต่าง ๆ

ล่าสุด ผู้สื่อข่าว SPRiNG News ได้รับรายงานว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊กถูกแจ้งเตือนโพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับ "เพื่อนเดิน" บนแอปฯ Uber(คล้ายแอปฯ Grab , Line Man) โดยระบุว่า "โพสต์มีรูปภาพ/วิดีโอที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระ ระบุว่า ถูกดัดแปลง" หรือข่าวบิดเบือนนั่นเอง

ข่าวปลอม : เพื่อนเดิน UBER

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สิ่งเหล่านี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Debunk หรือ หักล้าง ซึ่งใช้ในการหักล้างข่าวปลอมและข่าวบิดเบือนต่าง ๆ โดยกรณีดังกล่าว "ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระตรวจสอบรูปภาพที่คล้ายกันแล้วและระบุว่ารูปภาพดังกล่าวถูกดัดแปลงในทางที่อาจทำให้ผู้คนเข้าใจผิดได้"

แชร์ข่าวปลอมบิดเบือน Facebook เริ่มส่งแจ้งเตือน-ข้อเท็จจริงให้ผู้ใช้แล้ว

เมื่อกดเข้าไปจะพบว่า เป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ checkyourfact.com (แปลว่า "เช็กข้อเท็จจริงของคุณ") แต่ภายในเป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจมีกำแพงด้านภาษาสำหรับคนไทย

ส่วนโพสต์ที่แชร์ก็มีกราฟิกขึ้นมากั้น พร้อมข้อความระบุว่า "รูปภาพที่มีการดัดแปลง : รูปภาพที่มีการดัดแปลงเดียวกันนี้ได้รับการตรวจสอบในโพสต์อื่นโดยผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระ"

ข่าวปลอม : เพื่อนเดิน UBER

คลิปข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำหรับข้อเท็จจริงเรื่อง "เพื่อนเดิน(Walking Buddy)" เป็นมุขตลกที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งทำขึ้นมาเมื่อปี 2020 และทวิตเตอร์ของ Uber ทวิตกลับว่า "น่าสนใจ"

อย่างไรก็ตาแม้นี่จะเป็นมุขตลกทำอำกันขำขันแต่ในมุมมองของแพลตฟอร์มสิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่โตเมื่อผู้ที่อยู่ในสังคมออนไลน์อื่น ๆ มาเห็นแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นความจริง ขณะเดียวกันนี่แสดงให้เห็นว่า แพลตฟอร์มเริ่มเอาจริงเอาจังกับข่าวปลอมที่เกิดขึ้นและอาศัยผู้ตรวจสอบที่เชื่อถือได้มาช่วยในการหักล้างข่าวปลอมต่าง ๆ

สำหรับใครที่ต้องการตรวจสอบข่าวที่เกิดขึ้นว่าจริงเท็จแค่ไหน และมีข่าวปลอมอะไรถูกหักล้างไปแล้วบ้างตรวจสอบได้ที่ SPRiNG Fact Check

related