svasdssvasds

Siemens ชี้ เทคโนโลยีไทยต้องพร้อม หากจะใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ

Siemens ชี้ เทคโนโลยีไทยต้องพร้อม หากจะใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ

อนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ในหัวข้อ Innovation Megatrend 2023 โดย สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย ได้พูดถึงการเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรมต่างๆ จนถึงยุคดิจิทัลในปัจจุบัน

อนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งได้มีหัวข้อ Innovation Megatrend 2023 โดย สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย ได้พูดถึงแนวโน้มของนวัตกรรมต่างๆที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนประเทศ และมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมอะไรบ้างที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาชีวิตคนไทยให้ดียิ่งขึ้น

สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย ได้กล่าวว่า

การเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรมต่างๆในอดีต จนปัจจุบันมาเป็นสมาร์ทโฟน และยังนวัตกรรมอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ปัจจุบันกลายเป็น 'โลกไร้พรมแดน' เราสามารถซื้อของด้วยนิ้วมือจากที่ไหนก็ได้ทั่วโลก

 

ซึ่งมีนวัตกรรมอยู่เบื้องหลังและนวัตกรรมเหล่านี้ถูกคิดค้นต่อยอดเพื่อขับเคลื่อน ซึ่งในวันนี้เรื่องสำคัญก็คือเรื่องของนวัตกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ และการแก้ปัญหาเรื่องความท้าทายหรือแนวโน้มที่เราต้องการในชีวิตประจำวันในโลกยุคใหม่ โดยความท้าทายในวันนี้ ดร.สุวรรณี ได้ลองถามเข้าไปใน ChatGPT ว่า วันนี้ในเรื่องของความท้าทายของโลกเราในวันนี้มีอะไรบ้าง และได้คำตอบดังนี้

Siemens ชี้ เทคโนโลยีไทยต้องพร้อม หากจะใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ 1.ภาวะโลกร้อน

2.สภาพแวดล้อม 

3.การเมืองระหว่างประเทศ

4.สุขภาพโรคภัย

5.การเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี

โดยทั้ง 5 ข้อนี้ มีผลต่อชีวิตของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน และนี่คือความท้าทายที่เกิดขึ้นกับพวกเราในปีนี้ ซึ่งในปีข้างหน้าความท้าทายก็อาจจะเปลี่ยนไปจากคำตอบของ ChatGPT 

หากจะพูดถึงเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอาเซียน รวมถึงในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น Sustainablity ซึ่งกลายเป็นหัวข้อหลักสำหรับประเทศเนื่องจากมีการไปเซ็นอนุสัญญากับทาง UN ในตัว COP26 

Siemens ชี้ เทคโนโลยีไทยต้องพร้อม หากจะใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ทำให้ตอนนี้เองก็มีริเริ่มหลายๆเรื่องที่ออกมาจากทางภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้พวกเราสามารถบรรลุเป้าหมายที่ไดเ้ทำสัญญาเอาไว้ ในปี 2050 หรือในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่เป็น 0 ก็ยังมีภาครัฐและเอกชนสนับสนุนกันในหัวข้อนี้ 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ปัจจุบันยังมีความท้าทายในเรื่องของ 'การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานของคนที่เข้ามาในเมือง' ซึ่งจะเห็นได้ชัดเนื่องจากคนมักย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่ให้ความสะดวกสบายกว่าอยู่แล้ว จากสถิติในประเทศไทยปัจจุบันมีผู้คนเข้ามาอยู่ในเมืองสูงถึง 50% ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ

ในปี 2050 เราจะมีผู้คนสูงถึง 72% ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง ซึ่งเราต้องเตรียมรับสาธารณูปโภคให้กับคนที่จะอพยพเข้ามาในเมือง

ในส่วนของการเติบโตการผลิตและภาคอุตสาหกรรม อาเซียนเองเป็นภูมิภาคที่มีความเป็นกลางในขณะเดียวก็มีการลงทุนจากนาๆประเทศ ในด้านแรงงานต่างๆ ในปี 2022 มีนักลงทุนเข้ามาในภาคการผลิตยานยนต์หรือชิ้นส่วนๆต่างในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆถึง 39% 

 

นวัตกรรมจะเข้ามาช่วยสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ได้อย่างไรบ้าง? 

Sustainbility จะต้องมีการใช้ Green Technology เข้ามาช่วย ส่วนใหญ่พลังงานส่วนใหญ่ที่เราใช้อยู่คือฟอสซิล จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม ,​แสงแดด และน้ำ ซึ่งภาครัฐก็มีวางแผนที่จะส่งเสริมการผลิต Green Power ให้สูงขึ้น 50% ในปี 2050

ซึ่งการผลิต Green Power เป็นแหล่งพลังงานที่มีขนาดเล็กลง และปัจจุบันยังมีการจัดการแหล่งพลังงานที่ไม่เสถียร ยังไม่สามารถควบคุมได้ การบริหารจัดการไฟฟ้าหรือสร้างความเสถียรให้กับระบบจ่ายไฟฟ้า จำเป็นต้องมี 'เครือข่ายอัจฉริยะ' ในการบริหารจัดการพลังงานใหม่นี้ และจะสามารถต่อยอดไปสู่ Green Hydrogen และพัฒนาต่อไปได้อีกมากมาย

ซึ่งยังมีนวัตกรรมของ Green Building คือตึกที่มีความฉลาดที่สามารถกักเก็บพลังงานและแลกเปลี่ยนพลังงานได้ หรือในด้านของรถยนต์ไฟฟ้า (รถ EV) ที่ไม่ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งในปัจจุบันรถทั่วไปหรือรถสันดาปมีการปล่อยคาร์บอนประมาณ 25% จากมลภาวะทั้งหมด

Siemens ชี้ เทคโนโลยีไทยต้องพร้อม หากจะใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ

ดร.สุวรรณี ยังได้ย้อนกลับมาพูดถึงคนอพยพเข้าเมือง ซึ่งควรจะต้องมี Smart City Technology รองรับเนื่องจากคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองคาดหวังถึงชีวิตที่ดีขึ้นความสะดวกสบายที่มากขึ้น

เริ่มจากสาธารณูปโภคที่จะต้องมีในเรื่องของ สัญญาณโทรศัพท์มือถือ, WiFi ซึ่งกลายเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานไปแล้ว หรือความปลอดภัย ไม่ใช่เพียงแค่กล้องวงจรปิด แต่จะต้องมีระบบความปลอดภัยที่สามารถส่งความช่วยเหลือได้ทันที เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล , การจราจรต่างๆภายในเมือง สามารถควบคุมได้ทันท่วงที 

อีกหนึ่งจุดสำคัญคือส่วนของการเดินทาง ซึ่งถ้าหากว่าเราสามารถจะไปถึงป้ายรถโดยสารหรือสถานีรถไฟฟ้าด้วยการเดินภายใน 10-15 นาที และสามารถดูตารางของรถได้ด้วย การเดินทางภายในเมืองจะอำนวยความสะดวกให้กับคนจำนวนมากได้ และสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทางอ้อมได้ด้วย 

คนที่อพยพเข้ามาในเมืองยังคาดหวังการรักษาพยาบาลหรือการได้พบแพทย์พยาบาล และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่สามารถให้คำแนะนำได้ใน 24 ชม. ซึ่งนี่เห็นได้ชัดว่าต้องมีเทคโนโลยีที่จะอยู่เบื้องหลัง

ในด้านของการลงทุนทางภาคการผลิตที่สูงขึ้นในอนาคต นวัตกรรมที่จะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่จะตอบโจทย์คือ Digital Native Plant หากถ้าเราจะสร้างโรงงานในการสร้างโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบคงเป็นเรื่องเก่าไปแล้ว แต่เราจะสร้างโรงงานระบบคู่ขนาน (Digital Twins) ซึ่งสามารถจำลองหรือแทรกรายละเอียดต่างๆ หรือกำหนดสเปคให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้หมด

ไม่ว่าจะเป็นสายการผลิต, การทดลองผลิต ซึ่งนี่คือนวัตกรรมอีกนวัตกรรมหนึ่งที่จะช่วยลดการต้นทุนในการออกแบบ การจำลองที่ให้เหมาะสมได้มากที่สุด ซึ่งจะเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้อีกด้วย

นอกจากโรงงานจำลองหรือคู่แฝด (Digital Twins) ยังมีขั้นกว่าของการออกแบบจะทำอย่างไรให้การผลิตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น คือ 'Industrial Metaverse' เข้ามาต่อยอดใน Digital Twins ซึ่งโลกเสมือนจริงจะทำให้เราสามารถทำโปรเจคต่างๆ และสามารถเดินในโรงงานที่ถูกออกแบบไว้ในโลกเสมือนจริง และยังสามารถเรียกผู้เชี่ยวชาญ อีกสองหรือสามประเทศเข้ามาแก้ปัญหาในโลกเสมือนจริง ด้วยภาพเดียวกันที่ไม่ใช่แค่ 3D

สามารถเชื่อมต่อทุกได้มุมโลกและทุกๆเวลา และการลองแก้ปัญหานั้นๆด้วยการจำลอง ซึ่งเทคโนโลยีนี้เราคงต้องการความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่มากกว่า 6G ที่จะทำให้โลกเสมือนจริงเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ 

และไม่ใช่เฉพาะในส่วนขของโรงงานหรือการผลิต สามารถใช้กันส่วนอื่นๆได้ด้วย เช่น ตึกอาคาร, โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือการคมนาคมต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน ได้อีกด้วย 

ดร.สุวรรณี กล่าวเสริมว่า 

Metaverse คือหนึ่งในอนาคตที่จะเกิดขึ้น สำหรับนวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนประเทศไทย การที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาต่อยอดและพัฒนาประเทศ เพื่อประชากร การขับเลคื่อนในประเทศไทย นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่ง และการนำมาใช้ในถูกวิธีและถูกทาง และทัดเทียมกับทั่วโลกได้ 

 

 

related