svasdssvasds

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบตำแหน่งที่เป็นไปได้ "ดาวเคราะห์ดวงที่ 9" ในระบบสุริยะ

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบตำแหน่งที่เป็นไปได้ "ดาวเคราะห์ดวงที่ 9" ในระบบสุริยะ

นักดาราศาสตร์ได้จำกัดตำแหน่งที่เป็นไปได้ในระบบสุริยะให้แคบลง ซึ่ง "ดาวเคราะห์ดวงที่ 9" อาจซ่อนตัวอยู่ ถือเป็นความก้าวหน้าที่อาจให้ความกระจ่างมากขึ้นเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่พำนักของเราในกาแลคซีทางช้างเผือก

SHORT CUT

  • นักวิทยาศาสตร์ พบการเคลื่อนตัวของวัตถุที่ขอบของระบบสุริยะ ลักษณะถูกแรงโน้มถ่วงบางอย่างที่มีมวลขนาดใหญ่ดึงไปรอบๆ 
  • ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 (ถ้ามีอยู่) มีแนวโน้มจะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในระบบสุริยะ มีมวลอยู่ระหว่างมวลของโลกกับดาวยูเรนัส
  • มีวงโคจรทรงรีรอบดวงอาทิตย์ ประมาณ 500 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือประมาณ 75 ล้านล้านกิโลเมตร

นักดาราศาสตร์ได้จำกัดตำแหน่งที่เป็นไปได้ในระบบสุริยะให้แคบลง ซึ่ง "ดาวเคราะห์ดวงที่ 9" อาจซ่อนตัวอยู่ ถือเป็นความก้าวหน้าที่อาจให้ความกระจ่างมากขึ้นเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่พำนักของเราในกาแลคซีทางช้างเผือก

ค้นพบตำแหน่งที่เป็นไปได้ "ดาวเคราะห์ดวงที่ 9" ในระบบสุริยะ

ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่เป็นสมมุติฐานนี้เป็นประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งคำถามมานานหลายทศวรรษ เนื่องจากการเคลื่อนตัวของวัตถุที่ไม่สามารถอธิบายได้ที่ขอบระบบสุริยะ โดยนักวิจัยได้สังเกตเห็นว่าวัตถุบางชนิดที่อยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ ซึ่งอยู่เลยวงโคจรของดาวเคราะห์แคระอย่างดาวพลูโต

มีพฤติกรรมราวกับว่าพวกมันถูกดึงไปรอบๆ ด้วยบางสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ซึ่งน่าจะเป็นดาวเคราะห์ดวงอื่น ซึ่งการค้นพบวัตถุนี้สามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจองค์ประกอบของระบบสุริยะ การกำเนิดของระบบสุริยะ และกระบวนการวิวัฒนาการได้ดีขึ้น

ผลการศึกษาล่าสุดที่เพิ่งส่งไปยัง The Astronomical Journal ยังคงค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่ 9  (หรือที่เรียกว่า Planet X) ซึ่งเป็นดาวเคราะห์สมมุติที่อาจโคจรรอบนอกระบบสุริยะและอยู่เลยวงโคจรของดาวเคราะห์แคระพลูโต  เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือการจำกัดตำแหน่งที่เป็นไปได้ของดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ให้แคบลง และมีศักยภาพที่จะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจองค์ประกอบของระบบสุริยะของเราได้ดีขึ้น 

ค้นพบตำแหน่งที่เป็นไปได้ อาจเป็น "ดาวเคราะห์ดวงที่ 9" ในระบบสุริยะ

สมมติฐานการมีอยู่ของดาวเคราะห์ดวงที่ 9

นักดาราศาสตร์ได้ประเมินข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ Pan-STARRS ของฮาวาย ซึ่งเป็นระบบสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่ที่หอดูดาว Haleakala เพื่อค้นหาดาวเคราะห์ดวงนี้ ทำให้สามารถจำกัดตำแหน่งที่เป็นไปได้ของดาวเคราะห์สมมุตินี้ให้แคบลง เหลือเพียง 20% ของพื้นที่ที่คาดการณ์ไว้เดิม

นักวิทยาศาสตร์เริ่มตั้งสมมติฐานการมีอยู่ของดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ไม่นาน หลังจากการค้นพบดาวเนปจูนในปี พ.ศ. 2389 และในปี พ.ศ. 2489 บทความที่เขียนโดยนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ไคลด์ ทอมบอห์ ผู้รับผิดชอบในการค้นพบดาวพลูโตก็เป็นส่วนหนึ่งที่พูดถึงการมีอยู่ของ ดาวเคราะห์ดวงที่ 9

และในปี 2558 นักดาราศาสตร์สองคนจากคาลเทคได้แสดงหลักฐานว่าวัตถุ 6 ดวงที่อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนถูกมัดรวมกันในลักษณะที่บ่งบอกว่าพวกมันถูก "ดึง" โดยแรงโน้มถ่วงของบางสิ่งที่มีมวลขนาดใหญ่

ขณะนี้ ทีมเดียวกันได้จำกัดขอบเขตที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของวัตถุนั้น ซึ่งพวกเขาบอกว่าอาจมีรัศมี 2-4 เท่าของรัศมีโลก แต่มีข้อเสนอแนะว่าอาจเป็นเพียงความผิดปกติทางสถิติและอคติในการคัดเลือกข้อมูลของนักดาราศาสตร์จากคาลเทคเองก็เป็นได้เช่นกัน

การค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ 9 อาจคลี่คลายปริศนาขอบนอกของระบบสุริยะ

ข้อมูลใหม่ซึ่งตีพิมพ์ในการศึกษาทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ระบุว่า ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 (ถ้ามีอยู่) มีแนวโน้มจะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในระบบสุริยะ มีมวลอยู่ระหว่างมวลของโลกกับดาวยูเรนัส

โดยมีวงโคจรทรงรีรอบดวงอาทิตย์ คาดว่าจะอยู่ที่มากกว่า 500 AU (หน่วยดาราศาสตร์) หรือประมาณ 500 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือประมาณ 75 ล้านล้านกิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเตือนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่ไม่มีอยู่จริง ทำให้จำเป็นต้องมีทฤษฎีใหม่เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่พบในระบบสุริยะชั้นนอก

ที่มา