svasdssvasds

ไทยก็ใช้เพจเจอร์ อยู่ในร้านอาหาร เรียกว่า ‘เครื่องเรียกคิวไร้สาย’

ไทยก็ใช้เพจเจอร์ อยู่ในร้านอาหาร เรียกว่า ‘เครื่องเรียกคิวไร้สาย’

รู้จักความเป็นมาของ ‘เครื่องเรียกคิวไร้สาย’ ตามร้านอาหาร และคาเฟ่ ระบบเพจเจอร์ที่ยังไม่ตาย แถมได้รับความนิยมล้นหลาม

SHORT CUT

  • ในอดีต ประเทศมหาอำนาจตะวันตก มักจะสำรองที่นั่งไว้ให้ นักธุรกิจ มหาเศรษฐี และนักการเมืองที่เป็นลูกค้าประจำของพวกเขาก่อน
  • ช่วงปี 1980 ร้านอาหารเริ่มแจก เพจเจอร์ เพื่อให้ลูกค้าไปเดินเล่นรอที่ไหนก็ได้ จนกว่าเสียงจากเพจเจอร์จะดังเป็นสัญญาณว่าถึงคิวทานอาหารของพวกแล้ว
  • ในปี 1995 เพจเจอร์รูปจานรองแก้วถูกสร้างขึ้น เพื่อให้ลูกค้าพกพาได้สะดวกกว่าเดิม และใช้ต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

รู้จักความเป็นมาของ ‘เครื่องเรียกคิวไร้สาย’ ตามร้านอาหาร และคาเฟ่ ระบบเพจเจอร์ที่ยังไม่ตาย แถมได้รับความนิยมล้นหลาม

หลายคนมักคิดว่า ‘เพจเจอร์’ หรือ ‘วิทยุติดตามตัว’ คือระบบการสื่อสารที่ล้าสมัยจนแทบไม่มีใครใช้ ทั้งที่ปัจจุบัน ยังมีคนใช้เพจเจอร์อยู่หลายร้านเครื่อง ไม่ว่าเป็นในวงการแพทย์ วงการอุตสาหกรรม และงานด้านความปลอดภัย ที่มักต้องไปอยู่ในพื้นที่อับสัญญาณมือถือ

ยิ่งไปกว่านั้น ในสังคมผู้สูงอายุของประเทศต่างๆ ก็ยังมีการใช้เพจเจอร์อยู่บ้าง เนื่องจากใช้ง่าย ไม่ซับซ้อนเหมือนอุปกรณ์รุ่นใหม่

รู้จักความเป็นมา ‘เครื่องเรียกคิวไร้สาย’ ร้านอาหาร  เพจเจอร์ที่ยังไม่ตาย ! PHOTO : Hades2k

แต่ระบบเพจเจอร์ที่ยังคงได้รับความนิยม และใกล้ชิดกับชีวิตประวันในแบบที่เราอาจไม่รู้ตัวคือ ‘เพจเจอร์ร้านอาหาร’ หรือ ‘เครื่องเรียกคิวไร้สาย’ รูปร่างกลมๆ เหมือนจานรองแก้ว ที่จะส่งสัญญาณเสียงเรียกเมื่อ อาหารหรือเครื่องดื่มที่เราสั่ง พร้อมเสิร์ฟหน้าเคาน์เตอร์แล้ว !

ประวัติ ‘เพจเจอร์ร้านอาหาร’ หรือ ‘เครื่องเรียกคิวไร้สาย’

โดยความเป็นมาของเครื่องสื่อสารแสนสะดวกนี้ ต้องย้อนกลับไปถึงช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 เวลานั้น ร้านอาหารสุดหรูต่างๆ ในประเทศมหาอำนาจตะวันตก มักจะสำรองที่นั่งไว้ให้ นักธุรกิจ มหาเศรษฐี และนักการเมืองที่เป็นลูกค้าประจำของพวกเขาก่อน ด้วยการใช้ป้ายจองวางบนโต๊ะ หรือใช้การพับเก้าอี้ไว้ใต้โต๊ะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าโต๊ะตัวนั้นถูกจองแล้ว แม้ว่าลูกค้าผู้มั่งคั่งเหล่านั้นจะไม่ได้จองล่วงหน้าเอาไว้ก็ตาม

ส่วนลูกค้าที่เป็นคนทั่วไปจะไม่มีสิทธิ์นั่งแม้ว่าทั้งร้านจะมีที่ว่างแค่ไหน และต้องรออย่างน้อย 15-30 นาที หากลูกค้าที่เป็นคนรวยไม่มา เจ้าของร้านอาหารถึงจะอนุญาตให้คนทั่วไปเข้ามาใช้บริการได้ แน่นอนว่าวิธีการจองที่ไม่เท่าเทียมนี้ สร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าทั่วไปอย่างมาก

การจองโต๊ะไว้ล่วงหน้าแบบแบ่งชนชั้นนี้ มักทำให้คนที่ไม่มีโต๊ะรู้สึกว่าตนเองถูกเมินและถูกมองว่าด้อยกว่า ซึ่งในกรณีของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ไม่ว่าจะแต่งตัวดีแค่ไหน มีมารยาทดีแค่ไหน หรือจ่ายเงินมากแค่ไหน พวกเขาก็มักจะถูกบอกว่าไม่มีโต๊ะว่าง

ไทยก็ใช้เพจเจอร์ อยู่ในร้านอาหาร เรียกว่า ‘เครื่องเรียกคิวไร้สาย’

แต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่เทคโนโลยีเริ่มมีความทันสมัยขึ้น และ ‘เครื่องเพจเจอร์ยุคแรก’ ก็ถูกพัฒนาในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งมันมีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา เน้นใช้ในการติดต่อสื่อสาร ด้วยการส่งเสียง "บี๊บ" เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้รู้ว่าถึงเวลาต้องทำอะไรสักอย่าง ตามที่นัดกับคนอื่นไว้ ซึ่งเวลานั้นนับเป็นวิธีติดต่อกันที่สะดวกที่สุดแล้ว!

เพจเจอร์ เริ่มได้ครับความนิยมในปี 1980 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกมีความเท่าเทียมมากขึ้น ร้านอาหารหลายแห่งเลยเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและแฟนกีฬาจำนวนมาก ด้วยความนิยมที่ล้นหลาม จึงทำให้ร้านอาหารชั้นนำ มียอดจองโต๊ะหนาแน่นแทบทุกคืน และลูกค้าก็ต้องยืนรอคิวยาวเหยียด อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงถึงจะได้นั่ง ซึ่งหลายครั้งมักจบที่ลูกค้ารอไม่ไหว ทำร้านอาหารขาดรายได้อย่างน่าเสียดาย

จึงมีหลายร้านนำเพจเจอร์ใช้อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ซึ่งร้านที่ถูกบันทึกว่าใช้เทคโนโลยีนี้ก่อนใครคือ The Cheesecake Factory ที่แจกเพจเจอร์เพื่อให้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องรออย่างเคร่งเครียดอยู่กับที่ แต่สามารถออกไปเดินเล่นรอที่ไหนก็ได้ จนกว่าเสียงจากเพจเจอร์จะดังเป็นสัญญาณว่าถึงคิวทานอาหารของพวกแล้ว

เพจเจอร์ร้านอาหาร คืออะไร PHOTO Donald Trung Quoc Don (Chữ Hán: 徵國單)

ในปี 1995 เพจเจอร์รูปจานรองแก้วถูกสร้างขึ้น เพื่อให้ลูกค้าพกพาได้สะดวกกว่าเดิม และใช้ต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เรียบง่าย และไม่เคยล้าสมัยสำหรับร้านอาหารเลยแม้แต่น้อย

ที่มา : Restaurant-ing through history

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related