svasdssvasds

ไร้ปัญหา "สนช." ผ่านภาษีที่ดินฉบับใหม่ ช่วยอุดช่องโหว่ของเดิม [คลิป]

ไร้ปัญหา "สนช." ผ่านภาษีที่ดินฉบับใหม่ ช่วยอุดช่องโหว่ของเดิม [คลิป]

สนช. ฉลุยผ่านร่างกฎมาย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกาศใช้เป็นกฎหมาย รัฐบาลขอบคุณ เพราะจะช่วยอุดช่องโหว่ภาษีเดิม โครงสร้างระบบภาษีสอดคล้องกับสากล

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้ลงมติเป็นรายมาตรา ในร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่กรรมาธิการวิสามัญพิจารณา หลังเมื่อวานนี้(15พ.ย.)ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงพิจารณารายมาตราในวาระ 2 โดยเนื้อหา ยังคงประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ แต่ลดอัตราการเสียภาษีลง ได้แก่ ที่ดินเพื่อการเกษตร  , ที่ดินที่อยู่อาศัย/ที่ดินเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม และ ที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยกำหนดอัตราไว้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถนำเงินภาษีดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นได้โดยตรงไม่ต้องนำเงินส่งคลัง โดยจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม ปี 2563

ทั้งนี้ในระหว่างลงมติมาตรา 34 สมาชิก สนช. กังวลว่า จะส่งผลกระทบกับเกษตรกรที่มีจำนวนมาก และเจ้าของที่ดิน ที่มีที่ดินที่อยู่อาศัยที่มีราคาประเมินสูงขึ้น ในขณะที่ก้าวสู่วัยสูงอายุ ไม่มีรายได้มาจ่าย และยังมีข้อกำหนดว่ารัฐมีสิทธิขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องรอคำสั่งศาล จึงอาจทำให้ที่ดินตกเป็นของนายทุน อย่างไรก็ตามตัวแทนจากรัฐบาลที่เป็นกรรมาธิการยืนยันว่าได้มีการสำรวจก่อนที่จะผลักดันกฎหมายนี้ พบว่าถ้ากฎหมายมีผลบังคับใช้จะไม่กระทบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 97 ที่จะไม่ได้รับผลกระทบ จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา

ทั้งนี้จากการลงมติรายมาตรา ไม่มีการแก้ไขจากร่างเดิมของกรรมาธิการ และเมื่อลงมติรายมาตราในวาระ 2 เสร็จสิ้นก็ได้ลงมติ วาระ 3 ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 169 เสียงงดออกเสียง 2 เห็นชอบให้ประกาศใช้ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายต่อไป

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กล่าวขอบคุณสมาชิกที่ผ่านความเห็นชอบ และย้ำว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ และโครงสร้างระบบภาษีทรัพย์สินจะสอดคล้องกับสากล สามารถอุดช่องว่างช่องโหว่ภาษีเดิม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของที่ดิน และท้องถิ่นมีเงินไปใช้พัฒนาพื้นที่ และ สร้างธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมในพื้นที่

สำหรับร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังคงแบ่งประเภทที่ดินเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดินเพื่อการเกษตร หากมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 1 ล้านบาท ต่อ 100 บาท ยกเว้น 3 ปีแรกไม่ต้องเสียภาษี แต่ นิติบุคคลรายใหญ่ เริ่มจัดเก็บทันที และ ที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี ส่วน ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 1 ล้านบาทต่อ 200 บาท โดยบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป ทุก ๆ 1ล้านบาท เสียภาษี 200 บาท ห้องเช่า / บ้านเช่า เจ้าของที่ดินเป็นผู้รับผิดชอบ / ตามสัญญาที่ตกลง ด้านที่ดินเพื่อการพาณิชย์-อุตสาหกรรม จัดเก็บอัตราขั้นบันได สูงสุดไม่เกิน 0.7 % ของราคาประเมิน แต่โรงพยาบาล ,สนามกีฬา ,สนามกอล์ฟ ,สถานศึกษาเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน และที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า เก็บในอัตราตั้งแต่ 0.3 – 3% ของราคาประเมิน และทุก 3 ปี ต้องเสียเพิ่ม 0.2 – 0.3 % ต่อเนื่อง ไม่เกิน 27 ปี หรือจนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน

related