svasdssvasds

อดีตรมว.คลัง ค้าน! แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย หวั่นเศรษฐกิจประเทศทรุด

อดีตรมว.คลัง ค้าน! แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย หวั่นเศรษฐกิจประเทศทรุด

อดีตรมว.คลัง ค้านแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ-สภาพคล่องในระบบต่ำ หวั่นเศรษฐกิจประเทศทรุด เสนอเดินตามประเทศพัฒนาแล้ว

ศ.ดร.สุชาติ​ ธาดา​ธำรง​เวช​ อดีตรมว.คลัง​ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคไทยรักษาชาติให้ความเห็นว่า​ "แบงค์ชาติ​ไม่ควรขึ้นดอกเบี้ย​ จนกว่า​ ความสามารถในการผลิต​ (Capacity​ utilization rate) จะสูงขึ้นกว่านี้​ ซึ่งจะทำให้ศก.ปท.เจริญเติบโตมากที่เป็นอยู่"

อดีตรมว.คลังกล่าวในรายละเอียดว่าศก.สหรัฐฯ​ เติบโตมากเกินไป​ เขาจึงขึ้นดอกเบี้ย​ แต่เศรษฐกิจไทยแย่ โตต่ำ​กว่าความสามารถมาก​ โตต่ำกว่าเพื่อนบ้านทุกประเทศใน​ ASEAN เงินเฟ้อก็ต่ำเกินไป​ ประชาชนผลิตแล้วขายของไม่ได้​จึงไม่มีกำลังซื้อ​ ความจริงเราต้องลงดอกเบี้ย​ เพื่อให้มีปริมาณเงินในประเทศเพิ่มขึ้น​ ประชาชนมีเงินใช้สอยมากขึ้น​ ชาวบ้านจะขายของได้ และค่าเงินบาทที่แข็งเกินไป​ทุกวันนี้ จะได้อ่อนค่าลงตามธรรมชาติ​ จะได้ส่งออก​ คือขายของให้ต่างประเทศได้มากขึ้น​

แบงค์ชาติควรมีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพ​ ในระบบเศรษฐกิจที่เติบโตสูง​ ไม่ใช่กดเศรษฐกิจจนแทบไม่เจริญเติบโต​ แล้วรักษาเสถียรภาพให้เงินเฟ้อต่ำๆ​

เป้าหมายของชาติ​ ในการดำเนินนโยบายการคลัง​ การเงิน​ และอัตราแลกเปลี่ยน​ เพื่อให้คนทุกคนมีงานที่ดีๆ​ทำ​ มีรายได้มากๆ​ ครอบครัวเขาจะได้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี​ ประเทศเจริญเติบโตในอัตราสูง​

ผมหวังว่า​ผู้บริหารแบงค์ชาติ​ จะกลับมาคิดเรื่องนี้​ เหมือน​ประเทศญี่ปุ่น, เกาหลีใต้​ และจีน​ ที่เจริญเติบโตอย่างมหัศจรรย์​ ในทศวรรษ​ที่​ 1960​ ถึง​ 1990

หนทางหนึ่งที่รัฐบาลควรคิด​ ก็​คือ​ การเปลี่ยนนโยบายการเงิน​มาเป็นการกำหนดเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม​ (Exchange​ rate targeting)​

"การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ​ มีแต่ประเทศที่รวยแล้ว​ เขาทำกัน​ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่​ จะกำหนด​เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน​ที่เหมาะสม เช่น​ ประเทศสิงคโปร์

ดร. สุขาติ​กล่าว

related