svasdssvasds

ภูมิปัญญาแห่งวัฒนธรรมไทย สู่นาฏศิลป์มีชีวิต "คนเชิดคน"

ภูมิปัญญาแห่งวัฒนธรรมไทย สู่นาฏศิลป์มีชีวิต "คนเชิดคน"

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

บันเทิงสปริงนิวส์ – หลายคนอาจเคยเห็นการชักสายเชือกของหุ่นไร้ชีวิต หุ่นที่ทำขึ้นแทนตัวละคร มีขนาดและเทคนิคการเชิดตามรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับการเชิด “หุ่นคน” คือ การใช้คนแทนตัวละครที่เป็นผู้ถูกเชิด ซึ่งอาจเป็นภาพที่เห็นไม่บ่อยนัก แต่เมื่อได้ดูได้ชมแล้ว ต้องบอกว่า น่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กัน

 

ภูมิปัญญาแห่งวัฒนธรรมไทย สู่นาฏศิลป์มีชีวิต "คนเชิดคน"

 

การเชิดหุ่น เป็นมหรสพไทยที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น หุ่นกระบอก, หุ่นหลวง และหุ่นละครเล็ก เป็นต้น ถือเป็นมรดกด้านศิลปะการแสดงที่ทรงคุณค่า ซึ่งมหรสพต่าง ๆ เหล่านี้หาดูได้ยากและกำลังกลายเป็นอดีตที่คนไทยลืมเลือน แต่มีกลุ่มคนเล็ก ๆ อย่าง “ชมรมการเชิดหุ่น” ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ ที่ได้เสาหลัก อาจารย์สุกฎตาวัฒน์ บำรุงพานิช ผู้ให้กำเนิดศิลปะการแสดงแขนงนี้ ที่พยายามพัฒนาต่อยอดสิ่งใหม่ ด้วยการสร้างสรรค์ศิลปะ “หุ่นคน” โดยเป็นการแสดงรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานศิลปะหลายแขนง นำเสนอรากเหง้าความเป็นไทย อีกทั้งแฝงเอกลักษณ์ของมหรสพไทยโบราณไว้อย่างแยบยล งดงาม และประณีต

 

ภูมิปัญญาแห่งวัฒนธรรมไทย สู่นาฏศิลป์มีชีวิต "คนเชิดคน"

 

ที่ผ่านมา ประเทศไทยมักจะตีกรอบแนวคิดให้กับศิลปินที่นำวัฒนธรรมไทยไปดัดแปลงให้เกิดเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย แต่สำหรับอาจารย์สุกฎตาวัฒน์ไม่หวั่นต่อสิ่งนี้ เพราะตั้งใจทำงานตามหลักที่ถูกต้อง คงรูปความเป็นไทยไว้อย่างชัดเจน

“สิ่งที่พี่สนใจ คือ ความเหมาะสม ความเหมาะสมว่าถูกหลักถูกการหรือเปล่า ถูกหลักการไหมกับสังคมไทยเรา บางสิ่งบางอย่างถ้าเราทำงานสร้างสรรค์ขึ้นมา ถ้ามีที่มาที่ไปตอบโจทย์ได้ มันก็จบ ถ้าเราสร้างสรรค์เลอะเทอะไป มันก็ไม่งาม แต่ของพี่มีความหลากหลายมาก พี่สร้างงาน พี่ก็สร้างของพี่ไปเรื่อย ๆ แต่พี่จะยึดอย่างหนึ่ง คือ มีที่มา มีที่ไป และมีความเหมาะสม ถูกกาลเทศะในการทำ พัฒนาโดยที่มีรากเหง้าของมันเอง และพัฒนาให้เด็กรุ่นใหม่ได้เห็นภาพแค่นั้นเอง ไม่ใช่พัฒนาแบบเละเทะ รากเหง้าไม่มีเลย มันก็จะสูญ มันต้องต่อยอดในทางที่ดี” อาจารย์สุกฎตาวัฒน์ กล่าว

 

ภูมิปัญญาแห่งวัฒนธรรมไทย สู่นาฏศิลป์มีชีวิต "คนเชิดคน"

 

หัวใจสำคัญของวัฒนธรรมไทยที่จะคงอยู่ได้ต่อไป คือ คนรุ่นใหม่จะต้องหันมาใส่ใจและร่วมกันอนุรักษ์

 

[embed]https://youtu.be/AjKz_fzG38U[/embed]

 

related