svasdssvasds

พลัง ส.ว. (แต่งตั้ง) คว่ำ 12 ญัตติ แก้รัฐธรรมนูญ กลางรัฐสภา

พลัง ส.ว. (แต่งตั้ง) คว่ำ 12 ญัตติ แก้รัฐธรรมนูญ กลางรัฐสภา

สิ่งที่เราได้เห็นจากการแก้รัฐธรรมนูญ รอบใหม่ คือพลังอำนาจของ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง ที่สูงกว่า ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง คำถามก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ผิดหลักการของประชาธิปไตย หรือไม่ ?

ปิดฉากลงไปแล้ว สำหรับศึกแก้รัฐธรรมนูญ วาระแรก จาก 13 ญัตติ ได้ไปต่อเพียงญัตติเดียว คือ ญัตติที่ 13 ของพรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้นำระบบเลือกตั้ง "บัตรสองใบ" แบบรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้ มี ส.ส. ระบบแบ่งเขต 400 คน และระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน

โดยทั้ง 13 ญัตติ ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. ทั้งฝั่งรัฐบาล และฝั่งฝ่ายค้าน ที่มาจากการเลือกตั้ง โหวตรับหลักการกันเป็นส่วนใหญ่ แต่มีจำนวน 12 ญัตติ ที่ไม่สามารถไปต่อได้ ก็เพราะ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ไม่ให้ความเห็นชอบ ตามจำนวน ส.ว.ที่กำหนด

จึงเกิดคำถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง มีอำนาจมากกว่า ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน ? และย้อนแย้งกับหลักการของประชาธิปไตยหรือไม่ ?

รัฐสภา

อ้างอิงผลการโหวตจาก โหวตผ่าน-ไม่ผ่าน 13 มติแก้รัฐธรรมนูญ

ข้อกำหนดในการแก้รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญปี 2560 ได้กำหนดว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วย 1 ใน 3 หรือประมาณ 84 คนขึ้นไป

โดยทั้ง 13 ญัตติ ผลการโหวตของ ส.ว. 250 คน เป็นดังนี้

ญัตติที่ 1 เสนอโดย พลังประชารัฐ 0

ญัตติที่ 2 เสนอโดย เพื่อไทย 6       

ญัตติที่ 3 เสนอโดย เพื่อไทย 36      

ญัตติที่ 4 เสนอโดย เพื่อไทย 15      

ญัตติที่ 5 เสนอโดย เพื่อไทย 1       

ญัตติที่ 6 เสนอโดย ภูมิใจไทย 35   

ญัตติที่ 7 เสนอโดย ภูมิใจไทย 55   

ญัตติที่ 8 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 48           

ญัตติที่ 9 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 15           

ญัตติที่ 10 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 33         

ญัตติที่ 11 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 21         

ญัตติที่ 12 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 50

ญัตติที่ 13 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 210

รัฐสภา

ส่วนคะแนนโหวต จาก ส.ส.ทั้งสิ้น 484 คน เป็นดังนี้

ญัตติที่ 1 เสนอโดย พลังประชารัฐ 335        

ญัตติที่ 2 เสนอโดย เพื่อไทย 394    

ญัตติที่ 3 เสนอโดย เพื่อไทย 341    

ญัตติที่ 4 เสนอโดย เพื่อไทย 441    

ญัตติที่ 5 เสนอโดย เพื่อไทย 327    

ญัตติที่ 6 เสนอโดย ภูมิใจไทย 420  

ญัตติที่ 7 เสนอโดย ภูมิใจไทย 422  

ญัตติที่ 8 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 422         

ญัตติที่ 9 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 401         

ญัตติที่ 10 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 399        

ญัตติที่ 11 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 441        

ญัตติที่ 12 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 408

ญัตติที่ 13 เสนอโดย ประชาธิปัตย์ 343

ดังนั้น เมื่อญัตติที่ได้รับความเห็นชอบจาก ส.ว. (ที่มาจากการแต่งตั้ง) ไม่ถึง 84 คน จึงต้องปิดฉากไปโดยปริยาย แม้จะได้ความเห็นชอบ ส.ส. (ที่มาจากการเลือกตั้ง) อย่างท่วมท้นก็ตาม

โหวตรัฐธรรมนูญ

related