svasdssvasds

คู่รักร่วมเพศในญี่ปุ่นต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์แต่งงาน

ในวันพรุ่งนี้ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์ คู่รักร่วมเพศในญี่ปุ่นหลายคู่ เตรียมยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่รัฐไม่อนุญาตให้พวกเขาหรือพวกเธอแต่งงานกัน แล้วการเป็นคู่รักร่วมเพศในญี่ปุ่นต้องเผชิญกับการปัญหาอะไรบ้าง

ชิซูกะ โอเอะ และโยโกะ โอกาวะ คือคู่รักที่อยู่ด้วยกันมานาน 25 ปีแล้ว และพวกเธอเคยยื่นคำร้องขอแต่งงานต่อศาลาว่าการกรุงโตเกียว แต่มันก็ถูกปฏิเสธกลับมาด้วยเหตุผลที่ว่า ทั้งคู่เป็นผู้หญิง

คู่รักร่วมเพศในญี่ปุ่นต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์แต่งงาน

ตามรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นแล้ว มีคำที่ระบุเอาไว้ว่า การแต่งงานควรเกิดขึ้นด้วยความเห็นชอบของทั้งสองเพศ ซึ่งรัฐบาลมองว่า นั่นหมายความว่า การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ไม่มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเดียวกัน ทนายความและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายก็มองว่า ในรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ห้ามเอาไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่าไม่ให้เพศเดียวกันแต่งงานกัน พวกเขาชี้ว่า ประโยคดังกล่าวที่ระบุในรัฐธรรมนูญฉบับปี 1947 ของประเทศ มีความหมายเพียงแค่ต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างคู่รักและป้องกันไม่ให้เกิดการบังคับให้แต่งงาน

คู่รักร่วมเพศในญี่ปุ่นต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์แต่งงาน

ดังนั้นในวันพรุ่งนี้ ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์ คู่รักหญิงหญิง 5 คู่และ คู่รักชายชายอีก 8 คู่ จะยื่นฟ้องต่อศาลทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายคนละ 1 ล้านเยน ฐานที่ถูกปฏิเสธสิทธิตามกฎหมายไม่ให้แต่งงาน

คู่รักร่วมเพศในญี่ปุ่นต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์แต่งงาน

ผลสำรวจเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาพบว่า เกือบ 80 เปอร์เซ้นต์ของชาวญี่ปุ่นที่อายุระหว่าง 20-59 ปี สนับสนุนให้กฎหมายอนุญาตให้คนเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ แต่ญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวของกลุ่มประเทศจี 7 ที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างล้ำหน้า ที่ยังไม่ยอมรับการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน และตามประวัติศาสตร์ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เคยมีชาวรักร่วมเพศอย่างเปิดกว้าง และเอกสารของพวกซามูไรระบุว่า บ่อยครั้งที่พวกซามูไรมีคนรักเป็นผู้ชาย

คู่รักร่วมเพศในญี่ปุ่นต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์แต่งงาน

แต่ในความท้าทายนี้ที่ชิซูกะ และโยโกะ กำลังเฝ้ารอให้พวกเธอได้สิทธิ์ ก็ยังคงมีเรื่องดีๆเกิดขึ้นบ้าง เพราะเมื่อปี 2015 เขตชิบูย่า ในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นเขตที่ทั้งคู่อาศัยอยู่ ยินยอมออกเอกสารความเป็น “คู่ชีวิต” ให้แก่คู่รักเพศเดียวกัน นั่นทำให้เมื่อตอนที่ชิซูกะเข้าโรงพยาบาลเมื่อปีที่แล้ว โยโกะสามารถเซ็นต์ยินยอมได้เลย แต่ไม่ใช่คู่รักร่วมเพศทุกคู่ในญี่ปุ่นจะอาศัยอยู่ในเขตที่ยอมเอกสารคู่ชีวิตให้ นั่นหมายความว่าพวกเขาก็ยังคงไม่มีสิทธิ์ที่จะลงชื่อยิมยอมเมื่ออีกฝ่ายเข้าโรงพยาบาล เพราะความสัมพันธ์และความรักของพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมาย

 

 

related