svasdssvasds

ประเทศยากจนเผชิญทั้งปัญหาโรคอ้วนและโรคขาดสารอาหาร

ประเทศยากจนเผชิญทั้งปัญหาโรคอ้วนและโรคขาดสารอาหาร

วารสารการแพทย์ The Lancet เผยแพร่รายงานเรื่อง “The Double Burden of Mulnutrition” (ภาระสองเท่าของภาวะการขาดสารอาหาร) ระบุกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกต้องเผชิญกับปัญหาสองทาง ทั้งปัญหาโรคอ้วนและปัญหาประชากรขาดสารอาหารในเวลาเดียวกัน

The Lancet ระบุว่า ภาระสองเท่าที่ว่า คือการมีอยู่ของสถานการณ์ที่ต่างกันคนละขั้วของภาวะโภชนาการเกิน (overnutrition) ทำให้น้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน ในขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาภาวะขาดสารอาหารซึ่งทำให้การเติบโตหยุดชะงัก ซึ่งประเทศที่ประสบปัญหาเหล่านี้มักเป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มรายได้ต่ำ ถึงรายได้ปานกลาง ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียและประเทศแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า

รายงานระบุว่ามีประชากรทั่วโลกราว 2,300 ล้านคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่กำลังมีปัญหาน้ำหนักเกิน ขณะที่เด็กกว่า 150 ล้านคนกำลังประสบปัญหาการเจริญเติบโตหยุดชะงักเพราะขาดสารอาหาร นั่นหมายความว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกกำลังประสบปัญหาน้ำหนักเกิน และ 30 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี ไม่สามารถมีพัฒนาการได้เต็มที่ และยังมีผู้หญิงอีก 20 เปอร์เซ็นต์ที่น้ำหนักน้อยเกินไป และแม้ว่าจะมีการพบปัญหาการเจริญเติบโตในเด็กหยุดชะงักลดลง แต่ปัญหาที่พบมากขึ้นคือการที่เด็กรับปะทานอาหารที่ผ่านการแปรรูปมามากตั้งแต่ยังเล็กๆ

รายงานยังระบุอีกว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ควรต้องเริ่มหามาตรการจัดการกับปัญหานี้ สหประชาชาติต้องตระหนักถึงปัญหานี้ และต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีที่คนกิน ดื่ม และออกกำลังกาย และสิ่งที่นำไปสู่ปัญหาประชากรน้ำหนักเกินเพิ่มมากขึ้นคือ จำนวนซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มากขึ้น อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยที่หาซื้อได้ง่ายๆ และการลดลงของกิจกรรมทางกายภาพหรือการออกกำลังกาย ซึ่งปัญหาเหล่านี้กระทบทั้งประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางและรายได้สูง

นักวิชาการระบุว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลง “ระบบอาหาร” จากการผลิตสู่การแปรรูป ผ่านการค้าและการจัดส่ง ราคา การตลาด การติดฉลาก ไปจนถึงการบริโภค และการเหลือทิ้ง และรัฐบาลประเทศต่างๆ ควรต้องตรวจสอบนโยบายและการลงทุนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหานี้

related