svasdssvasds

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เทคโนโลยีการแพทย์ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เทคโนโลยีการแพทย์ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จัดเป็น มะเร็งที่พบได้บ่อยมากเป็น Top 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมดทั้งในผู้ชายและผู้หญิงทั่วโลก แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ด้วยการส่องกล้องตรวจ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

เรายังอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ เดือนของวันมะเร็งโลก ที่วันนี้เราอยากจะพูดถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่จัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ เพราะมักพบในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยมากเป็น Top 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมดทั้งในผู้ชายและผู้หญิงทั่วโลก ซึ่งทางโรงพยาบาลไทยนครินทร์ อยากหยิบยกประเด็นในเรื่องของเกล็ดความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ด้วยการส่องกล้องตรวจ (screening) เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ และสามารถตรวจวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาเป็นลำดับขั้นตอนต่อไป

อาการเริ่มต้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่

ด้วยลำไส้ใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 ซม. หากมีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกระยะเริ่มต้นขนาด 1-2 ซม. อาจทำให้ผู้ป่วยยังไม่มีอาการผิดปกติมากนัก ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการผิดปกติ เมื่อติ่งเนื้อหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่านั้น ซึ่งได้แก่

  • ขับถ่ายอุจจาระเป็นลำเล็กลง
  • ถ่ายเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายกระสุน
  • ลักษณะการขับถ่ายผิดปกติไป เช่น ท้องผูกมากขึ้น ท้องเสียบ่อยครั้ง หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
  • ส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเป็นผลต่อเนื่องจากการอักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease) และติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ (Colon Polyp) ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุ หากตรวจพบในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาจนหาย และลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ในอนาคตได้

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เทคโนโลยีการแพทย์ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใครควรส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

ด้วยมาตรฐานการแพทย์ปัจจุบัน สมาคมแพทย์ทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยแนะนำให้ส่องกล้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องรอให้ผู้ป่วยมีอาการในผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้

  • คนทั่วไปที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ควรส่องกล้องประเมินสภาพและความผิดปกติในลำไส้ หากตรวจไม่พบความผิดปกติ อาจพิจารณาตรวจซ้ำทุก 5-10 ปี
  • คนที่มีอาการปวดท้อง ร่วมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องโต หรือคลำเจอก้อนในท้อง
  • คนที่มีรูปแบบการขับถ่ายผิดปกติ หรือมีท้องผูกสลับท้องเสีย
  • คนที่มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งในระยะเริ่มต้นอาจตรวจพบเม็ดเลือดแดงปนมาในอุจจาระ หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและทันท่วงทีอาจทำให้เกิดมีอาการถ่ายเป็นเลือดสีแดง หรือลิ่มเลือดได้
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่

1. ก่อนเข้ารับการตรวจ 1 วัน ควรรับประทานอาหารอ่อน ไม่มีกากใย และเริ่มรับประทานยาระบายเพื่อช่วยล้างของเสียที่ค้างในลำไส้ออกให้หมด หลังรับประทานยาระบาย อาจมีถ่าย 6-10 ครั้ง ควรดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือแร่ชดเชยเพื่อลดอาการอ่อนเพลีย

2. งดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

3. การตรวจ โดยทั่วไปใช้เวลาไม่เกิน 15-30 นาที โดยแพทย์ต้องมีวิธีทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการส่องกล้อง โดยทีมวิสัญญีแพทย์จะให้ยานอนหลับที่ออกฤทธิ์สั้น เพื่อให้ผู้ป่วยหลับในระยะสั้นๆ ระหว่างการตรวจ

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เทคโนโลยีการแพทย์ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ โอกาสที่ติ่งเนื้อในลำไส้จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น

 

  • ติ่งเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 ซม.
  • ตรวจพบติ่งเนื้อมากกว่า 3 ชิ้น
  • ติ่งเนื้อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติ ที่เรียกว่า Dysplasia ร่วมด้วย

นพ. อภิชาติ สุรเมธากุล แพทย์หัวหน้าศูนย์ทางเดินอาหาร โรงพยาบาลไทยนครินทร์

บทความโดย นพ. อภิชาติ สุรเมธากุล แพทย์หัวหน้าศูนย์ทางเดินอาหาร โรงพยาบาลไทยนครินทร์

อ่านบทความสุขภาพอื่นๆได้ที่  www.thainakarin.co.th  อบอุ่น มั่นใจ ที่ รพ.ไทยนครินทร์ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Call Center โทร. 02-340-7777

Line Official Account: @thainakarin

related