จัดอันดับประเทศที่ดึงดูดคนเก่งปี 2021 คุณภาพชีวิตที่ดีสำคัญในการตัดสินใจ
By Chanjira_Yee
เปิดรายชื่อ ประเทศดึงดูดคนเก่ง อยากเข้ามาทำงาน พบว่า สวิตเซอร์แลนด์ติดอันดับ 1 สมัยที่ 5 ติดต่อกัน ยุโรปภูมิภาคที่ดึงดูดคนเก่งได้มากที่สุดยึดครอง 10 อันดับแรกได้ทั้งหมด ส่วนไทยคงที่ในอันดับ 43 จากทั้งหมด 64 ประเทศ ผลสำรวจจาก World Talent Ranking 2021
ผลสำรวจจาก IMD ในหัวข้อ World Talent Ranking 2021 ที่ทำการสำรวจใน 64 ประเทศทั่วโลก พบว่า สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจให้คนเก่งมีความสามารถ และทักษะเฉพาะตัวสูงขับเคลื่อนถ่ายโอนไปยังประเทศต่างๆ นั่นก็คือ คุณภาพชีวิตที่ดี การทำงานที่หยืดหยุ่น และการเปิดโอกาสในการพัฒนาอบรมศักยภาพเพิ่มเติม โดยแนวโน้มหลังจากการเกิดโรคระบาดใหญ่ พบว่า พนักงานมีแรงจูงใจมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง และน้อยลงในกลุ่มที่ไม่มีการแข่งขัน
แม้ก่อนหน้านี้พบว่าค่าตอบแทนเป็นเบื้องหลังแรงผลักดันที่สำคัญในการตัดสินใจโยกย้ายปรับเปลี่ยนประเทศในการทำงาน แต่ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้พบว่า ใช้ไม่ได้กับวิถีชีวิตและแนวคิดของคนในปัจจุบัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-
IMD Digital Competitiveness จัดให้ไทยได้อันดับ 38 จาก 64 ประเทศ คือดีแล้วมั้ย?
-
ส่องแผนพัฒนา Bangkok Smart City กรุงเทพฯ เมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้)
การดึงดูดและรักษาคนเก่งให้อยู่ในประเทศไว้ได้นาน นอกจากเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับนโยบาย ในการส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจแก่แรงงานที่มีทักษะสูงรอบโลกซึ่งปัจจัยภายนอก เช่น เงินเดือน ความปลอดภัย หรือคุณภาพชีวิต อาจไม่พออีกต่อไป ต้องมีการทำงานที่ยืดหยุ่นคล่องตัว และเน้นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริม
โดยใช้เกณฑ์ในการวัดผล 3 ปัจจัย ประกอบด้วย
- การลงทุนและพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ
- การดึงดูดใจแรงงานต่างชาติ (เช่น คุณภาพชีวิต ภาษี และค่าครองชีพ)
- ความสามารถในการสร้างโอกาสงานและฝึกอบรมพนักงานใหม่
10 อันดับประเทศที่ดึงดูดคนเก่งและมีทักษะความสามารถสูง มีดังนี้
ส่วนในเอเชีย มี ฮ่องกง (11) และสิงค์โปร์ (12) ที่สามารถเกาะในอันดับต้นๆ ของตารางไว้ได้ เช็กอันดับทั้งหมดได้ ที่นี่
ทั้งนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างขานรับในการเป็น ประเทศดึงดูดคนเก่ง พนักงานที่มีความรู้เเฉพาะทางด้วยการสนับสนุนนโยบายที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดพวกเขาให้เคลื่อนย้ายมาพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ เริ่มจากประเทศเทศใกล้ตัว เช่น
สิงค์โปร์
- มาตรการ Tech pass ดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง หรือผู้มีประสบการณ์บริหาร Tech company เข้ามาทำงานในประเทศ
ฮ่องกง
- มีมาตรการ QMAS หรือ Quality Migrant Admission Scheme ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้าน เอไอ, 5G, ไซเบอร์ซีเคียวริตี้, ดาต้า อนาไลติกส์, ฟินเทค, ไบโอเทค, โรบอต, IC ดีไซน์ และไมโครอิเล็กซ์ทรอนิกส์
มาเลเซีย
- จัดตั้งหน่วยงาน TalentsCorp ออกนโยบาย
- ให้คนต่างชาติทักษะสูง ถือวีซ่านาน 10 ปี
- ดึงคนเก่งกลับมาทำงานในประเทศ
- ให้ทุนแก่นักเรียนไปศึกษาต่อเพื่อกลับมาทำงาน เป็นต้น
จีน
- การออกวีซ่า 5-10 ปี สำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษที่เข้ามาทำงานในประเทศ
- เข้าออกจีนได้หลายครั้ง แต่ละครั้งอยู่ได้นานถึง 180 วัน
- ตั้งโครงการ เพื่อดึง Talents กว่า 200 โครงการ เช่น โครงการ TTP มีการว่าจ้างนักวิจัยกว่า 7,000 ตำแหน่ง
สำหรับประเทศไทยทาง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ออก 3 เครื่องมือที่จะเป็น ประเทศดึงดูดคนเก่ง ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานในไทย ไว้ดังนี้
- อำนวยความสะดวกวีซ่าและใบอนุญาตทำงานสำหรับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ
- Smart Visa ให้กับกลุ่มคนที่เป็น นักลงทุน ผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน สตาร์ทอัพ
- การออกวีซ่าพำนักระยะยาว (Long-term Residence Visa หรือ LTR) ให้กับกลุ่มที่มีความมั่นคงทางการเงินสูง ผู้เกษียณอายุที่มีบำนาญสูง และพนักงานบริษัทชั้นนำที่เข้ามาทำงานในประเทศ
โดยมี 7 นิเวศน์เศรษฐกิจ (Ecosystem) หรือเป็นนิเวศทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการลงทุนและการทำงานของบุคลากรทักษะสูง ต้องประกอบด้วย 7 เรื่องที่สำคัญ
- ระเบียบราชการที่ทันสมัย
- โครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานด้านดิจิทัล
- โครงสร้างพื้นฐานสำหรับเฉพาะทาง เช่นห้องแล็บและการคมนาคมสะดวก
- กฏระเบียบที่เอื้อต่อเศรษฐกิจ สตาร์ทอัพ
- นโยบายการจัดการดูแลแรงงานข้ามชาติ
- ความพร้อมของบุคลากรสำหรับรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายเพียงพอกับความต้องการ
- เงื่อนไขทางด้านภาษี
ส่วนไทยก็คำถึงผลลัพธ์กระทบกับ ภาวะสมองไหล นอกจากเหตุผลทางการเมือง ที่ก่อให้เกิดกลุ่มการรวมตัวกันโดยใช้ชื่อว่า ย้ายประเทศกันเถอะ แล้วนั้น ยังรวมถึงผู้บริหารประเทศในปัจจุบันและภาวะเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ที่มีผลกับการตัดสินใจ เริ่มต้นหรือโยกย้ายหาโอกาสในต่าง ประเทศดึงดูดคนเก่ง ที่มีเตรียมปัจจัยความพร้อมและนำเสนอตัวเลือกที่มากกว่า