svasdssvasds

IMD Digital Competitiveness จัดให้ไทยได้อันดับ 38 จาก 64 ประเทศ คือดีแล้วมั้ย?

IMD Digital Competitiveness จัดให้ไทยได้อันดับ 38 จาก 64 ประเทศ คือดีแล้วมั้ย?

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ประจำปี 2564 โดย IMD (2021 IMD World Digital Competitiveness Ranking) หากดูคะแนนโดยรวม ไทยเลื่อนอันดับขึ้นจาก 39 ในปี 2563 เป็นอันดับที่ 38 ในปี 2564

แม้ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศไทย ประจำปี 2564 โดย IMD ไทยได้อันดับที่ 38 (จากทั้งหมด 64 ประเทศ) ขยับขึ้นจากอันดับที่ 39 ในปี 2563 (จากทั้งหมด 65 ประเทศ) แต่เมื่อดูอันดับของไทยที่ได้จากการพิจารณาองค์ประกอบย่อย บางตัวก็ร่วงจนน่าวิตก!

Source : 2021 IMD World Digital Competitiveness Ranking

อันดับ 38 กับความ(ไม่)พร้อมในการแข่งขันทางดิจิทัลของไทย

องค์ประกอบที่ใช้พิจารณาเพื่อจัดอันดับแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และความพร้อมในอนาคต ซึ่งต่างก็มีองค์ประกอบย่อยที่ใช้พิจารณาและผลการจัดอันดับแตกต่างกันไป ดังที่ปรากฏในวงเล็บด้านล่างนี้

  • องค์ความรู้ (42)
    • ความสามารถพิเศษ (39)
    • การฝึกอบรมและการศึกษา (56)
    • ความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ (36)
  • เทคโนโลยี (22)
    • โครงสร้างการควบคุม (29)
    • เงินทุน (19)
    • โครงสร้างเทคโนโลยี (22)
  • ความพร้อมในอนาคต (44)
    • ทัศนคติที่พร้อมปรับตัว (53)
    • ความคล่องตัวทางธุรกิจ (34)
    • การบูรณาการด้านไอที (43)

................................................................................................

บทความก่อนหน้าเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล

................................................................................................

อันดับของไทยไม่ดีตรงไหน? เอาปากกามาวง

ถ้าดูภาพรวมย้อนหลัง 3 ปี (2562-2564) ประเทศ/เขตปกครองพิเศษที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวีเดน เดนมาร์ก และ สิงคโปร์ โดย สหรัฐอเมริกา ยืน 1 ตลอด 3 ปี

ส่วนไทยไต่ขึ้นมาทีละอันดับ นั่นคือ จากอันดับ 40 ขึ้นมาเป็น 39 แล้วเลื่อนขึ้นเป็น 38 

Source : 2021 IMD World Digital Competitiveness Ranking

Source : 2021 IMD World Digital Competitiveness Ranking

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า เหตุที่ไทยได้อันดับรวมดีขึ้น 1 อันดับ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นขององค์ประกอบที่นำมาพิจารณาในด้าน ความรู้ (Knowledge) และ ความพร้อมในอนาคต (Future Readiness) คือ จากอันดับ 43 และ 45 ในปี 2563 ขึ้นมาเป็นอันดับ 42 และ 44 ในปี 2564 ตามลำดับ

2 เรื่องที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล

  • การฝึกอบรมและการศึกษา (56)

เป็นองค์ประกอบย่อยที่อยู่ภายใต้กกลุ่ม ความรู้ ซึ่งเลื่อนลง 1 อันดับ จาก 55 ในปี 2563 มาเป็นอันดับ 56 ในปี 2564 โดยตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการฝึกอบรมและการศึกษา คือ ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา ที่ได้อันดับ 58 ขยับมาเป็น 59 และ จำนวนเฉลี่ยของนักศึกษาต่ออาจารย์ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ที่ได้อันดับ 54 แล้วขยับลงมาเป็น 56 ส่งผลให้ประเด็นการฝึกอบรมและการศึกษาร่วงลงไปอยู่อันดับต่ำสุดในบรรดาหัวข้อย่อยทั้งหมด 

Source : 2021 IMD World Digital Competitiveness Ranking

  • ทัศนคติที่พร้อมปรับตัว (53)

เป็นองค์ประกอบย่อยที่อยู่ภายใต้ ความพร้อมในอนาคต ซึ่งไทยอยู่ในอันดับ 53 ติดกัน 2 ปี โดยตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อทัศนคติที่พร้อมปรับตัว คือ ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต ซึ่งอยู่ในอันดับ 58 ทั้งในปี 2563 และ 2564

กล่าวโดยสรุป อันดับที่ไทยได้ยังค่อนไปในทางไม่ค่อยดี จากนี้ไปจึงต้องพัฒนาอีกหลายองค์ประกอบหรือตัวชี้วัดเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัล เปิดรับการเรียนรู้และความเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ใครหรือหน่วยงานใดจะก้าวขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศได้อย่างแท้จริง?

................................................................................................

ที่มา

related