svasdssvasds

คลิปน่ารัก ครอบครัวช้างป่าเอเชียหลับพักเอาแรง ส่องช้างป่าเอเชีย มีกี่ชนิด

คลิปน่ารัก ครอบครัวช้างป่าเอเชียหลับพักเอาแรง  ส่องช้างป่าเอเชีย มีกี่ชนิด

ชวนดู คลิปวิดีโอน่ารัก เอาใจคนรักสัตว์ หัวใจ Keep The World โดยเป็น คลิปวิดีโอเรียกรอยยิ้ม เป็นเหตุการณ์ขณะที่ครอบครัวช้างเอเชีย กำลังงีบหลับปุ๋ย อย่างสบายอกสบายใจ

สำนักข่าวซินหัว เผยแพร่ คลิปวิดีโอ น่ารัก เอาใจคนรักสัตว์ หัวใจ Keep The World  โดยเป็น คลิปวิดีโอน่ารัก เรียกรอยยิ้มขณะครอบครัวช้างเอเชีย ที่งีบหลับปุ๋ยอย่างสบายอกสบายใจ 

โดยมีช้างเอเชีย โตเต็มวัยรายล้อมกลุ่มลูกช้างตัวน้อย บริเวณริมฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งในเมืองผู่เอ่อร์ มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

ชมคลิปได้ที่นี่ 

คลิปน่ารัก! ครอบครัวช้างป่าเอเชียหลับพักเอาแรง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ ช้างเอเชีย Asian elephant แบ่งเป็นประเภทอย่างไรได้บ้าง ? 

ช้างเอเชีย (Asian elephant, Elephas maximus) คือ ช้างที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยหรือสปีชีส์ย่อยได้เป็น 4 ชนิด ประกอบด้วย

1. ช้างเอเชียแผ่นดินใหญ่ หรือ ช้างอินเดีย (Mainland or Indian elephant, E. m. indicus) พบได้ในทวีปเอเชียตั้งแต่ประเทศอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน พม่า ลาว เวียดนาม ไทยและมาเลเซีย เป็นชนิดย่อยที่มีการกระจายมากที่สุดเมื่อเทียบกับชนิดย่อยอื่น ๆ

2. ช้างศรีลังกา (Sri Lankan Elephant, E. m. maximus) พบได้ในประเทศศรีลังกาเท่านั้น เป็นช้างเอเชียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และผิวหนังมีสีคล้ำที่สุด

3. ช้างสุมาตรา (Sumatran elephant, E. m. sumatranus) พบได้เฉพาะที่เกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ช้างสุมาตราเป็นช้างที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดเนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลายและมีจำนวนเหลือไม่ถึง 3,000 ตัวทั่วโลก

4. ช้างบอร์เนียว (Borneo elephant, E. m. borneensis) หรือช้างแคระบอร์เนียว เป็นช้างที่มีขนาดตัวเล็กที่สุดในสัตว์ตระกูลช้างที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน  ช้างบอร์เนียวมีการกระจายตัวอยู่ตามหย่อมป่าบนเกาะบอร์เนียวของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียและบรูไน

ทั้งนี้ ช้างเอเชีย สามารถพบได้ในประเทศเนปาล บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และสุมาตรา 

ช้างเอเชีย Asian elephant

โดยการประมาณจำนวนช้างป่าเอเชียล่าสุดคาดว่า ทั่วเอเชียเหลือช้างทั้งหมด 41,410 - 52,345 ตัว  แม้ในปัจจุบันจะยังสามารถพบได้ตามพื้นที่อนุรักษ์ทั่วไป จำนวนช้างป่าไทยคาดว่าเหลืออยู่เพียง 2,500 - 3,200 ตัว  ซึ่งส่วนใหญ่ถูกจำกัดด้วยขนาดของพื้นที่ที่เล็กลงทุกขณะ ถูกคุกคามด้วยการล่า และกิจกรรมอื่น ๆ ของมนุษย์ การขยายตัวของชุมชนรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีผลลบโดยตรงต่อช้าง 

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างกำลังเป็นโจทย์สำคัญที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ เนื่องจากมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นและอาจขยายไปในพื้นที่อนุรักษ์กว่า 20 แห่งทั่วประเทศในอนาคตอันใกล้
ช้างเอเชีย Asian elephant

ประโยชน์ของมูลช้าง 

ทราบหรือไม่ว่า การถ่ายมูลของช้าง มีความสำคัญกับระบบนิเวศมาก  นอกจากมูลที่เป็นปุ๋ยอย่างดีแล้ว การที่ช้างเดินทางในระยะไกลยังเป็นการพาเมล็ดพืชที่ช้างกินเข้าไปให้ไปเกิดในที่ที่ห่างจากต้นแม่  โดยเฉพาะเมล็ดพืชที่มีขนาดใหญ่ที่อาจไม่สามารถกระจายเมล็ดได้เลยถ้าไม่มีสัตว์บกขนาดใหญ่อย่างช้าง นอกจากนี้ มูลช้างยังเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่ที่สำคัญของแมลงป่าหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พบว่ามีแมลงอย่างน้อย 29 วงศ์ กินมูลช้างเป็นอาหาร โดยแมลงเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่ช่วยรักษาสมดุลของป่าอีกต่อหนึ่ง

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ช้าง เป็นสัตว์ที่ให้ร่มเงาแก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ (Umbrella species) ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ เป็นสัตว์ที่เป็นเป้าหมายหลักในการอนุรักษ์ (Flagship species) เพราะถ้าหากเราสามารถอนุรักษ์ช้างได้ เราก็จะสามารถอนุรักษ์สัตว์ได้อีกหลายชนิด ซึ่งอยู่อาศัยในพื้นที่เดียวกันกับสัตว์สำคัญชนิดนี้ได้ 

ที่มา wcs

humanelephantvoices

related