svasdssvasds

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

รู้ไหมว่าการที่ลุ่มน้ำมีการปรากฎหรือการอพยพเข้ามาของปลาพันธุ์ต่างถิ่น ส่งผลกระทบกับปลา สัตว์น้ำในท้องถิ่น รวมถึงระบบนิเวศในพื้นที่นั้นด้วย กรมชลประทานจึงได้มีการนำระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำมาใช้ในโครงการน้ำยวม

ระบบป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำบ้านสบเงา นวัตกรรมของโครงการน้ำยวม ที่ช่วยผู้คน และสิ่งแวดล้อมอยู่รวมกันได้อย่างยั่งยืน

ความท้าทายของโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล ด้วยการผันน้ำจากแม่น้ำยวมที่อยู่ในลุ่มน้ำสาละวิน มาเติมให้กับอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลที่อยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาคือ มาตรการดูแลในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องการอพยพของสัตว์น้ำ และการป้องกันปลาพันธุ์ต่างถิ่นหลุดรอดข้ามลุ่มน้ำ

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

โครงการผันน้ำยวมมีองค์ประกอบหลักคือ อุโมงค์ส่งน้ำเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เมตร ความยาวกว่า 61.52 กิโลเมตร ที่ใช้สำหรับผันน้ำยวมจากอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปยังบ้านแม่งูด ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมชลประทานได้มีโครงการลักษณะเดียวกันนี้ ได้แก่ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่าวเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่มีการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากแม่น้ำแตง มายังอ่างเก็บน้ำแม่งัด ผันน้ำจากแม่งัดมาอ่างเก็บน้ำแม่กวง

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่าวเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการผันน้ำในลุ่มน้ำเดียวกัน แตกต่างจากส่วนโครงการผันน้ำยวมที่จำเป็นต้องผันน้ำจากแม่น้ำยวมในลุ่มน้ำลุ่มน้ำสาละวิน ที่กำลังไหลออกนอกประเทศโดยไม่เกิดประโยชน์ มาเติมให้กับลุ่มน้ำปิง ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลเรื่องปลาในลุ่มน้ำสาละวินจะเล็ดลอดผ่านอุโมงค์ส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือ เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) ได้

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

เนื่องจากชนิดของปลาของทั้งสองฝั่งของอุโมงค์ส่วนใหญ่แล้วถึงแม้จะเป็นชนิดที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็เป็นปลาพื้นถิ่นของทั้งสองลำน้ำที่ได้แยกจากกันอย่างชัดเจน จนอาจทำให้มีลักษณะทางพันธุกรรม และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในกรณีของปลาเฉพาะถิ่นของลุ่มน้ำสาละวิน เช่น ปลาพลวง ปลากดหัวเสียม ปลากดหมู หรือปลากระสูบขีดสาละวิน ถ้ามีการหลุดเข้าไปในอุโมงค์ส่งน้ำ แล้วสามารถปรับตัวอาศัยในแม่น้ำปิงได้นั้น อาจจะส่งผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศทั้งด้านลบได้โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างประชากร และสมดุลของห่วงโซ่อาหาร

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

กรมชลประทานได้ระบุว่า เรามีการสำรวจนิเวศวิทยาทางน้ำ และเก็บตัวอย่าง ปลา แพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดิน รวม 8 สถานี เพื่อศึกษาและหามาตรการป้องกัน โดยในเรื่องความกังวลปลาในลุ่มน้ำสาละวินเล็ดลอดผ่านอุโมงค์ส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ทางกรมชลประทานได้มีการเตรียมมาตรการรองรับ ได้แก่ การติดตั้งตะแกรงเพื่อป้องกันเศษไม้ ขยะ วัชพืช รวมทั้งปลาขนาดใหญ่เข้าสู่บริเวณสถานีสูบน้ำบ้านสบเงา โดยมีการติดตั้งระบบการยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง โดยแบ่งระดับเสียงออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับ Acoustic Sound (20 Hz ถึง 20 kHz) กับระดับ Infrasound (0.01-20 Hz) เพื่อรบกวน และขับไล่สัตว์น้ำไม่ให้ว่ายน้ำเข้ามาในเขตบริเวณที่ตั้งเครื่องสูบน้ำ รวมทั้งยังมีการติดตั้งอุปกรณ์รวบไข่ลอย และไข่กึ่งลอยกึ่งจม (Surface Skimmer) ออกจากสถานีสูบน้ำ และติดตั้งตะแกรงขนาดเล็กหลายขนาด เพื่อป้องกันไข่ และสัตว์น้ำวัยอ่อนไม่ให้เข้าไปในสถานีสูบน้ำ

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

นายธนา สุวัฑฒน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน ได้เผยถึง นวัตกรรมของโครงการน้ำยวม และการเตรียมพร้อมของกรมชลประทานในเรื่องมาตรการดูแลความกังวลที่เกิดขึ้นจากโครงการ ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม การอพยพของปลา และปลาเอเลี่ยนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่อาจหลุดรอดสู่ลุ่มเจ้าพระยาว่า ได้มีการนำเอานวัตกรรมระบบป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำบ้านสบเงามาใช้ โดยมีการติดตั้งระบบการยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง โดยแบ่งระดับเสียงออกเป็น 2 ระดับ เพื่อรบกวน และขับไล่สัตว์น้ำไม่ให้ว่ายน้ำเข้ามาในเขตบริเวณที่ตั้งเครื่องสูบน้ำ และระบบป้องกันสัตว์น้ำที่จะสามารถขับไล่ปลา กำจัดลูกปลา และไข่ปลาที่หลุดเข้าสู่พื้นที่สถานีสูบน้ำได้ โดยที่ผ่านมาได้ทำการทดสอบการทำงานของเครื่องแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

นอกจากนี้ปลาในแม่น้ำยวมส่วนหนึ่งเป็นปลาที่อพยพมาจากลุ่มน้ำสาละวินตอนล่าง ทั้งปลาสะแงะ หรือ ปลาตูหนา, ปลาคม หรือปลาพลวง, ปลากดหัวเสียม และปลากดหมู ซึ่งจะอพยพมาหากิน และทำการวางไข่ในแม่น้ำยวมช่วงที่ระดับน้ำตามธรรมชาติเริ่มสูงในระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม และย้ายกลับไปช่วงที่ระดับน้ำตามธรรมชาติเริ่มลดลงระหว่างเดือน ธันวาคม - มกราคม ของทุกปี ทำให้มีความกังวลเรื่องการสร้างเขื่อนแม่น้ำยวมที่อาจจะเป็นอุปสรรคในการอพยพของปลา

กรมชลประทานได้ชี้แจ้งในเรื่องนี้ว่า ได้มีประสานกับกรมประมง และให้งบประมาณกับทางกรมประมงในการการศึกษาวิจัยหาวิธีการเพาะขยายพันธุ์ และอนุบาลลูกปลาเพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ รวมไปถึงการรวบรวม และลำเลียงพ่อแม่ปลาที่จับได้จากบริเวณท้ายเขื่อน แล้วนำไปปล่อยบริเวณเหนือเขื่อน เพื่อช่วยในเรื่องการอพยพย้ายถิ่นของปลาในน้ำยวม คาดว่าปลาที่ปล่อยลงในอ่างเก็บน้ำยวมเมื่อเติบโตขึ้น แล้วถึงฤดูน้ำหลากบางส่วนสามารถว่ายลงสู่ท้ายน้ำเข้าสู่แม่น้ำเมย หรือลำน้ำยวมตอนบน ลำน้ำเงา และลำน้ำสาขาที่เชื่อมต่อกัน ทำให้ผลผลิตปลาในลำน้ำต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ระบบยับยั้งปลาด้วยคลื่นเสียง นวัตกรรมป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำโครงการน้ำยวม

โดยกรมชลประทานได้มีการสนับสนุนงบประมาณในการติดตามการเปลี่ยนแปลงนิเวศวิทยาทางน้ำ ซึ่งครอบคลุมลักษณะทางชีววิทยาประชากร และพลวัตประชากรปลาในแม่น้ำยวม และลำน้ำสาขาต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนป้องกัน และลดผลกระทบ รวมทั้งได้มีแผนการพัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาพิจารณาปรับปรุงมาตรการป้องกันผลกระทบที่เหมาะสม จนกว่ามาตรการต่าง ๆ จะสามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อทรัพยากรสัตว์น้ำได้ตามที่ตั้งเป้าไว้

นวัตกรรมของโครงการน้ำยวม ทั้งระบบป้องกันปลาข้ามลุ่มน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำบ้านสบเงา ที่ป้องกันพันธุ์ปลาต่างถิ่นหลุดรอดข้ามลุ่มน้ำ ไปจนถึงแนวคิดในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาจากลุ่มน้ำสาละวิน เพื่อเพาะขยายพันธุ์แล้วปล่อยลงสู่อ่างเก็บน้ำยวม เป็นอีกความท้าทายของโครงการผันน้ำยวมในการศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ ก่อนก่อสร้างอย่างรอบคอบ และมีแผนป้องกันแก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้ทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น และรักษาระบบนิเวศเดิมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน