svasdssvasds

รู้จักวันคุ้มครองโลก (Earth Day) 22 เมษายน มีตั้งแต่เมื่อไร เพราะอะไรต้องมี?

รู้จักวันคุ้มครองโลก (Earth Day) 22 เมษายน มีตั้งแต่เมื่อไร เพราะอะไรต้องมี?

วันที่ 22 เมษายนของทุกปี เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day ซึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม การลดก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ลดกิจกรรมที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม เสริมความแข็งแรงให้โลก เรามาย้อนเวลากลับไปดีกว่าว่าวันคุ้มครองโลกมีมาตั้งแต่เมื่อไร?

วันคุ้มครองโลก (Earth Day) เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 โดยเกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) ผลักดันให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้าสู่วาระแห่งชาติ เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะและทรัพยากรธรรมชาติ เป้าหมายของวันคุ้มครองโลกครอบคลุมทั้งปัญหาของสภาพอากาศ การอนุรักษ์ป่า สัตว์สิ่งมีชีวิตและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

รู้จักวันคุ้มครองโลก (Earth Day) 22 เมษายน มีตั้งแต่เมื่อไร เพราะอะไรต้องมี?

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Environmental Protection Agency : EPA)  พาย้อนกลับไปเหตุการณ์ก่อนหน้าปี ค.ศ. 1970 ที่โรงงานสามารถปล่อยควันพิษมหาศาลสู่แหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง โดยที่ไม่มีใครหรือหน่วยงานใดสามารถหยุดยั้งการกระทำนี้ได้ สร้างมลภาวะมากมาย และในขณะนั้นยังไม่มี EPA ไม่มีการลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับอากาศสะอาด แหล่งน้ำสะอาด และยังไม่มีมาตรการ กลไกในการป้องกันสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการผลักดันและปลุกเร้าสํานึกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ในประเทศไทยเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2533 โดยเฉพาะหลังจากสืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง กระทําอัตวินิบาตกรรมและเมื่ออาจารย์และนักศึกษาร่วมกัน 16 สถาบันได้จัดงาน วันคุ้มครองโลกขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสําคัญของป่าอนุรักษ์ และตระหนักถึงวิกฤตการณ์ ทําลายสัตว์ป่าและป่าไม้ประเทศไทย ยังมีการจัดงานเพื่อหาทุนเข้ามูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อใช้ในการปกป้องรักษาผืนป่าที่เป็นมรดกของโลกอีกด้วย วันคุ้มครองโลก (Earth Day) 22 เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันสําคัญของขบวนอนุรักษ์ธรรมชาติทั่วโลก 

เป้าหมายของวันคุ้มครองโลก

1. เพื่อลดอัตราการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ

2. เพื่อกําจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอนซึ่งเป็นตัวทําลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อน

3. เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ

4. เพื่อห้ามการซื้อ-ขาย สิ่งมีชีวิตที่อาจทําให้ภาวการณ์เจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป

5. เพื่อคงสภาพระดับประชาชนไว้ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

6. เพื่อสร้างพลังอํานาจจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ให้ร่วมกันปกป้องชั้นบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่นๆให้พ้นจากการกระทําที่มิชอบของมนุษย์

7. เพื่อสร้างสํานึกในอันที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชนและชาติ

 

ที่มา : งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด มหาวิทยาลัยรามคําแหง / สำนักงานนโยบายแและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม