svasdssvasds

Climate Change มหันตภัยร้ายซ้ำเติมความยากจน ทำความเหลื่อมล้ำพุ่ง

Climate Change มหันตภัยร้ายซ้ำเติมความยากจน ทำความเหลื่อมล้ำพุ่ง

Climate Change การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ยังคงเป็นมหันตภัยร้ายซ้ำเติมความยากจน สร้างความเหลื่อมล้ำให้คนไทยระหว่างคนรวย กับคนจน ทำให้คนสูญเสียรายได้ ทรัพย์สินมากมาย วันนี้สภาพัฒน์ มีข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหานี้

ปัญหา Climate Change การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยยังคงเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ และเดินหน้าเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะปัญหาดังกล่าวส่อเค้าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไป ที่สำคัญปัญหา Climate Change การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย ทำให้สูญเสียรายได้ เสียทรัพย์สิน พร้อมกันนี้ยังเป็นการซ้ำเติมปัญหาความยากจนร้ายแรงขึ้นไป และยังเป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยให้สูงขึ้นอีกด้วย 

โดยล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้รายงานโครงการติดตามประเมินผลช่วงครึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ภายใต้ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำของสังคม หนึ่งในนั้นมีการแจ้งถึงมาตรการป้องกันผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ของไทยล่าสุดว่าเป็นอย่างไรบ้าง ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้การประเมินบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ตัวชี้วัดจำนวนมากอาจไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เมื่อถึงช่วงเวลาสิ้นสุดแผนฯ 12  สาเหตุมากจากกระบวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะหลังขาดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานล่าง จึงเป็นความเร่งด่วนที่จะต้องมีนโยบายและมาตรการเพื่อยกระดับการมีส่วนในกระบวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเรื่องของ Climate Change สศช. มีข้อเสนอดังนี้

  • Climate Change ซ้ำยากจน-เหลื่อมล้ำ  การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ ทรัพย์สิน โดยประชาชนแต่ละกลุ่มได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไม่เท่ากัน คนจน ผู้มีฐานะทางสังคมเศรษฐกิจไม่ดี คนชายขอบ มักจะได้รับผลกระทบมากกว่า จังทำให้ปัญหาความยากจนร้ายแรงขึ้น เพิ่มความเหลื่อมล้ำในประเทศด้วย ทำให้กลุ่มเปราะบางยิ่งมีความเปราะบางมากกว่าเดิมความเหลื่อมล้ำในสังคมยังมีผลทำให้ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในประเทศนั้นรุนแรงมากขึ้น
  • กำหนดนโยบาย Climate Change ให้เป็น 2 ประเภท

1.การลดระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ (mitigation) เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน การอุดหนุนพลังงานทดแทน การฟื้นฟูป่าและทะเล เป็นต้น

2.การปรับตัว (adaptation) เช่น การสร้างระบบเตือนภัย การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดความเสียหายจากอุบัติภัย การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การเพิ่มการเข้าถึงบริการทางแพทย์ อาหาร และน้ำสะอาด

  • เร่งปัญหา Climate Change ในไทย ซึ่งประเทศไทยได้มีการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและได้ร่วมให้สัตยาบันเป็นภาคีในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีสารเกียวโต และภาคีความตกลงปารีส ในนโยบายระดับประเทศ  ขณะที่รัฐบาลได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรรจุปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ ฉบับที่11 รวมถึงได้จัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้นด้วย 
  • ข้อเสนอรับมือ Climate Change ของสศช.

-ให้รัฐดำเนินการอย่างแข็งขันทั้งในด้านการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก Climate Change 

-เสริมสร้างความสามารถในการรับมือและปรับตัวให้กับประชาชนทุกกลุ่มต่อไป

-ให้ความสนใจกับคนยากจน คนชายขอบ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษ และเนื่องจากความเหลื่อมล้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบซึ่งกันและกัน 

- การดำเนินนโยบายด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงต้องมีการคำนึงถึงผลกระทบของนโยบายต่อ Resilience ของประชาชนแต่ละกลุ่มและความเหลื่อมล้ำด้วย และดำเนินนโยบายด้วยความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายทั้งในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม 

-เสริมสร้างความสามารถในการรับมือและปรับตัว และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมกัน และเลือกการผสมผสานนโยบาย (policy mix) ที่เหมาะสมกับสถาณการณ์ในประเทศไทย เมื่อจำเป็นต้องมีการ trade-off ขึ้นระหว่างเป้าหมาย

 

 

 

related