svasdssvasds

เอลนีโญรุนแรงกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ร้อนจัด แล้ง ฝนถล่ม คาดเริ่ม ก.ค.

เอลนีโญรุนแรงกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ร้อนจัด แล้ง ฝนถล่ม คาดเริ่ม ก.ค.

เอลนีโญรุนแรงกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลกเตรียมรับมืออากาศร้อนจัด แห้งแล้ง ฝนตกหนัก คาดว่าจะเกิดเอลนีโญขึ้นในเดือนในเดือน ก.ค. นี้ 60% และขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในเดือน ก.ย. จะพุ่งขึ้น 80% .ในส่วนของประเทศไทยเตรียมรับภัยแล้ง กักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร

รายงานจาก World Meteorological Organization, WMO หรือองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เผยว่า เอลนีโญรุนแรงกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เตรียวรับมืออากาศร้อนจัด ความแห้งแล้ง ฝนตกหนัก โดยคาดว่ามีโอกาสเอลนีโญจะเริ่มเกิดขึ้นในระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 ประมาณ 60% และค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 70% และในบางช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมและกันยายน โอกาสที่จะเกิดเลนีโญอาจพุ่งสูงขึ้น 80% อย่างไรก็ตามถึงแม้รายงานนี้จะยังไม่มีการยืนยัน แต่จากที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

เอลนีโญรุนแรงกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ร้อนจัด แล้ง ฝนถล่ม คาดเริ่ม ก.ค.

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ทางด้าน Petteri Taalas เลขาธิการ WMO เผยว่าพัฒนาการของปรากฏการณ์เอลนีโญอาจทำให้ความร้อนทั่วโลกเพิ่มขึ้น และเพิ่มโอกาสทำลายสถิติอุณหภูมิ ทางองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้เตือนให้ทั่วโลกเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ในบางพื้นที่อากาศร้อนจัด เจอความแห้งแล้งหนัก และในบางพื้นฝนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งสถานการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วทั่วโลก และจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบกับหลายประเทศทั่วโลก ตัวเองเช่น ประเทศฝรั่งเศสและสเปนที่เจอภัยแล้งหนักสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันประเทศแถบแอฟริกาเจอฝนถล่ม ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตัดมาในส่วนของประเทศแถบเอเชียที่ได้เจอกับคลื่นความร้อนจนทุบสถิติไปแล้วหลายประเทศ

ในส่วนของเอลนีโญที่จะกระทบภูมิภาคแปซิฟิกและประเทศไทยนั้น ปรากฏการณ์เอลนีโญจะทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างยาวนาน โดยปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน 12-18 เดือน ส่งผลทำอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น และกระทบต่อประเทศที่ประสบปัญหาจากสภาพอากาศแต่เดิมอยู่แล้ว เช่น คลื่นความร้อน ภัยแล้ง และไฟป่า และจะเห็นได้ว่า คลื่นความร้อนมาเร็วกว่าปกติ ส่งผลไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะภาคอีสานที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง จึงจำเป็านต้องมีการกักเก็บน้ำไว้เพื่อทำการเกษตรหรือเพาะปลุก

 

ที่มา : IFLScience / Spring News