svasdssvasds

อาณาจักรสีเขียว ปตท.สผ. สูตรธุรกิจยั่งยืนในวันที่โลกเดือด-ดิสรัปฯพลังงาน

อาณาจักรสีเขียว ปตท.สผ. สูตรธุรกิจยั่งยืนในวันที่โลกเดือด-ดิสรัปฯพลังงาน

“อาณาจักรสีเขียว” ของ “ปตท.สผ.” สูตรสำเร็จธุรกิจยั่งยืน ผ่านองค์ความรู้และโซลูชันใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ ในวันที่โลกเดือดและดิสรัปชั่นพลังงาน

เมื่อโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อน รัฐบาลทั่วโลกขยับตัววางเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) และหันมาให้ความสำคัญกับพลังงานสีเขียว โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) จากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม มาเป็นการใช้พลังงานรูปแบบใหม่แทนการใช้ฟอสซิลให้มากขึ้น 

คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลจาก World Population Data 2023 ระบุว่าประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงถึง 9.7 พันล้านคนในปี 2050 นั่นหมายถึงความต้องการพลังงานจะมีมากขึ้น เพราะพลังงานนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 

คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)

ลากจุดเชื่อมโอกาสกับโจทย์ท้าทาย “ธุรกิจพลังงาน” ในอนาคต

เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมพลังงาน และสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (จำกัด) มหาชน หรือ ปตท.สผ. จึงปรับตัว ทั้งการขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่นอกเหนือจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมซึ่งเป็นธุรกิจหลัก โดยเน้นพลังงานรูปแบบใหม่ของอนาคต และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป้าหมายการเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำและการเติบโตในอนาคตอย่างยั่งยืน

“จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้น ทุกภาคอุตสาหกรรมจึงต้องปรับตัวเพื่อเป็นส่วนหนี่งในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมพลังงาน ที่เข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด แต่การเปลี่ยนผ่านนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในข้ามคืนด้วยปัจจัยหลาย ๆ ประการ ปตท.สผ. จึงมุ่งมั่นที่จะผลิตพลังงานรูปแบบเดิมให้มีความสะอาดมากยิ่งขึ้น รวมถึงค้นหาและพัฒนาพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศให้มีความต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับสนับสนุนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” 

คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) กล่าว

คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)

คำตอบอยู่ที่ 3 กลยุทธ์การดำเนินงานมุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน และรองรับความท้าทายของธุรกิจพลังงานในอนาคต ตอบสนองต่อเป้าหมายสำคัญในการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน จากภายในสู่ภายนอก (From We to World) และสนับสนุนเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: SDGs) ที่คำนึงผลประโยชน์ร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม  

กลยุทธ์ที่ 1 Drive Value สร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (E&P) และเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเฉพาะการตอบสนองความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย เน้นการลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติ รวมถึงธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โดยมุ่งเน้นการลงทุนในส่วนของต้นน้ำ และกลางน้ำ

กลยุทธ์ที่ 2 Decarbonize เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเน้นการบริหารจัดการ E&P Portfolio เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 (ปี 2050) ครอบคลุม Scope 1 และ Scope 2 ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (E&P) ซึ่ง ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ (Operational Control) ผ่านการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนงาน และหาโอกาสจากการพัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและมองหาพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่เพื่อนำมาใช้ในพื้นที่ปฏิบัติการ เร่งพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) รวมถึงดำเนินการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Offsetting) อย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการปลูกป่าและการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยมหาสมุทร (Blue Carbon) ภายใต้กลยุทธ์ทะเลเพื่อชีวิต (Ocean for Life)

กลยุทธ์ที่ 3 Diversify เพื่อสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ (Beyond E&P) เช่น ธุรกิจย่อยของ ปตท.สผ. อย่างบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี ซึ่งเน้นการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ 

“ปตท.สผ. ยังแสวงหาโอกาสลงทุนในเทคโนโลยีดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CCUS รวมไปถึงการต่อยอดเชื้อเพลิงไฮโดรเจน และพลังงานในอนาคต และยังมองหาโอกาสการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ปตท.สผ. ในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรม” คุณมนตรี อธิบาย 

ล่าสุด ปตท.สผ. โดยบริษัท ฟิวเจอร์เทค เอนเนอร์ยี่ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ FTEV ได้เปิด โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ “ลานแสงอรุณ" มีกำลังการผลิต 9.98 เมกะวัตต์ โดยเริ่มการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา  

อาณาจักรสีเขียว ปตท.สผ. สูตรธุรกิจยั่งยืนในวันที่โลกเดือด-ดิสรัปฯพลังงาน

สูตรสำเร็จ “ปตท.สผ.” พลิกโฉมธุรกิจ กับเส้นทาง 10 ปี ลดก๊าซเรือนกระจก

สิ่งที่ ปตท.สผ. ต้องการให้เกิดขึ้น คือ “ความยั่งยืน” ในแง่มุมธุรกิจและองค์กร จากแนวคิดหลัก คือการใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ปรับใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นำกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ใหม่ อนุรักษ์และฟื้นฟูดูแลทรัพยากรธรรมชาติ นิเวศทางทะเลอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ซึ่งเรื่องราวหลังจากนี้ คือรากฐานที่เข้มแข็ง และเป้าหมายของ ปตท.สผ. ในอนาคต

เส้นทางการหลีกเลี่ยงและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับโครงการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 ส่งผลให้ในปี 2565 ปตท.สผ. ลดความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าร้อยละ 25 จากปีฐาน 2555 โดยมีปริมาณการหลีกเลี่ยงและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมทั้งหมดประมาณ 8.9 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 

ความสำเร็จนี้มาจากโครงการหลักของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการ Portfolio (Portfolio Management) การนำก๊าซส่วนเกินและก๊าซที่จะเผาทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาเข้ากระบวนการผลิต (Flare Gas Recovery and Utilization) การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรและกระบวนการผลิต (Production Efficiency Improvement) การปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) 

ในปี 2565 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครอบคลุม Scope 1 และ Scope 2 ซึ่ง ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ สนับสนุนเป้าหมายองค์การสหประชาชาติเป้าหมายที่ 13 (UN SDG 13) เรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงสนับสนุนเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2608 

ผ่านแนวคิด “EP Net Zero 2050” โดย E มาจาก “Exploring for Lower Carbon E&P Portfolio” คือการเน้นบริหารจัดการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อมุ่งสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ โดยเลือกลงทุนในโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero Greenhouse Gas Emissions  เช่น ลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติ และนำปัจจัยเกี่ยวกับความเข้มของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาพิจารณาในการลงทุนโครงการใหม่ในอนาคต

ส่วน P มาจาก Production and Planet in Balance คือ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต โดยเดินหน้าโครงการ CCS ที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอาทิตย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ ในอ่าวไทย ซึ่งจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในปริมาณมาก เรียกได้ว่าเป็นการริเริ่มโครงการลักษณะนี้ครั้งแรกในประเทศไทย และยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS ในประเทศมาเลเซีย นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ศึกษาโอกาสและเทคโนโลยีที่จะนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์ (Carbon Capture and Utilization: CCU) โดยเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าหรือวัสดุเพื่ออนาคต 

ไม่เพียงเท่านี้ ปตท.สผ. ยังมุ่งสู่การปล่อยก๊าซส่วนเกินซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียมเป็นศูนย์ (Zero Routine Flare) สำหรับโครงการใหม่ ๆ ในอนาคต โดยการนำก๊าซที่เกิดขึ้นจากการเผาทิ้งในกระบวนการผลิตปิโตรเลียมกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี CCS รวมทั้ง การเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) อาทิ การติดตั้งโซล่าเซลล์ และกังหันลม รวมถึงการหาโอกาสในการใช้พลังงานรูปแบบใหม่ในอนาคต เช่น ไฮโดรเจน เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ ให้มากขึ้น 

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ “ลานแสงอรุณ" มีกำลังการผลิต 9.98 เมกะวัตต์

“ปลูกป่า-ลงทุนเทคโนโลยีขั้นสูง” ชดเชยปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กลยุทธ์การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องตามแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ของ ปตท.สผ. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ Carbon Credit Portfolio จากการจัดหาคาร์บอนเครดิตในประเทศที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ภายใต้แนวทางการจัดหาคาร์บอนเครดิตต่าง ๆ เช่น การดำเนินงานโครงการด้วยตนเอง การทำโครงการความร่วมมือระยะยาวกับหน่วยงานต่าง ๆ และการจัดหาคาร์บอนเครดิตจากแพลทฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ มีโครงการสำคัญ ได้แก่ การปลูกป่า ทั้งป่าบก ป่าชายเลน และการดำเนินงานร่วมกับภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก (Carbon Removal Project) มองหาโอกาสการลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูงในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศมากักเก็บ (Advanced Tech) เช่น Direct Air Capture (DAC) เป็นต้น

โครงการปลูกป่าชายเลน

ธุรกิจอยู่รอดอย่างยั่งยืนต้องปักหมุดแนวคิดแบบ ESG เพื่อโลก

การดำเนินงานของธุรกิจในยุคนี้ไม่ใช่แค่การคำนึงถึงธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่องค์กรต้องตระหนักถึงองค์รวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจ ชุมชนรอบข้าง หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปตท.สผ. เป็นองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มองแค่การดำเนินกิจการในภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความยั่งยืน จากการสร้างสมดุลที่เหมาะสม ระหว่างธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการพัฒนา “กรอบแนวคิดด้านความยั่งยืน” สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ควบคู่ไปกับการดูแลใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็น "Energy Partner of Choice" ตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้

“เพราะบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าการสร้างความยั่งยืนจากภายในองค์กร โดยมีการดำเนินงานที่ดี บนรากฐานที่แข็งแกร่งและมีจิตสำนึกที่คำนึงถึงคุณค่าในระยะยาวต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายแล้ว จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้แก่สังคมโดยรวมได้ในที่สุด” คุณมนตรี กล่าว พร้อมอธิบายกรอบแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ ปตท.สผ. ที่มุ่งสู่ องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (HPO - High Performance Organization) เน้นการดำเนินงานที่เป็นเลิศในทุกองค์ประกอบของธุรกิจด้วยมาตรฐานระดับสากล เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 

กำกับดูแลกิจการที่ดี บริหารความเสี่ยง และกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (GRC Governance, Risk Management and Compliance) เน้นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนให้กับองค์กร โดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล การกำกับดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

รวมทั้ง สร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน (SVC - Sustainable Value Creation) มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชุมชนและสังคม โดยกรอบแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ปตท.สผ. และประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ทั้ง 17 เป้าหมายอีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือ เส้นทางการดำเนินธุรกิจของ ปตท.สผ. ที่มุ่งผสานธุรกิจและความยั่งยืนเข้าด้วยกัน ผ่านองค์ความรู้และโซลูชันใหม่ ๆ สะท้อนให้เห็นว่าทุกกลยุทธ์และแนวทางดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการสร้างการเติบโตในธุรกิจพลังงาน ในฐานะองค์กรคาร์บอนต่ำ และสร้างความยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เชื่อมโยงชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงและโอกาสที่สำคัญจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดประตูสู่หนึ่งในองค์กรแห่งความยั่งยืนที่สมบูรณ์ 

related