svasdssvasds

ไทยอากาศร้อนจัด ระดับวิกฤต ติดอันดับ 8 ของโลก อุณหภูมิโลกสูงเฉลี่ย 2.7 องศา

ไทยอากาศร้อนจัด ระดับวิกฤต ติดอันดับ 8 ของโลก อุณหภูมิโลกสูงเฉลี่ย 2.7 องศา

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ หากอุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของโลก โดยเฉพาะ อินเดีย ไนจีเรีย และอินโดนีเซีย จะเป็นประเทศที่ประชากรมีความเสี่ยงมากที่สุด

จากรายงานของ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองประธานฯ ที่มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ที่ระบุว่า ปี 2023 เป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า จะเป็นปีที่ร้อนที่สุด แต่อุณหภูมิเฉลี่ยกลับเพิ่มขึ้นกว่า 1.48oC เมื่อ 100 ปีที่แล้ว และสูงกว่าปี 2016 ที่เคยเป็นสถิติสูงสุด ปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง มาจากปรากฏการณ์ El Nino ที่กำลังเกิดขึ้น

คาดการณ์ว่าจะแตะระดับสูงสุด ในเดือนมกราคมปีนี้ ดังนั้นการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง สภาพอากาศสุดขั้วต่างๆ จึงเกิดตามมา โดยไม่สามารถควบคุมได้ ดังตัวอย่างการเกิดคลื่นความร้อน และไฟป่าในแคนาดา US และยุโรป น้ำท่วมใหญ่ในแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งน้ำท่วมรุนแรง ในภาคใต้ประเทศไทย

จากข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในปี 2023 ยังบ่งชี้ว่า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายวัน ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (173 วันที่อุณหภูมิสูงเกิน 1.5 oC) ตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีการใช้พลังงานฟอสซิล ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ จึงยังคงไม่มั่นใจว่า เหตุการณ์ความรุนแรง จากสภาพอากาศสุดขั้วใด จะเกิดขึ้นบ้าง และจะเกิดขึ้นเมื่อไรในอนาคต

ด้าน UN หรือองค์การสหประชาชาติเปิดเผยข้อมูลว่า อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2.7 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ หรือภายในปี 2100 แต่ถ้าช่วยกันควบคุมอุณหภูมิให้ไม่สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จะสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้มากกว่า 1,500 ล้านคน โดยทุกๆ 0.1°C ของอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นจะส่งผลกระทบต่อประชากร 140 ล้านคนทั่วโลก ที่จะต้องเผชิญกับความร้อนระดับอันตราย

10 ประเทศเสี่ยงอากาศร้อนเป็นอันตรายมากที่สุดภายในปี 2070

  1. อินเดีย คาดว่าจะมีประชากรได้รับผลกระทบถึง 617.7 ล้านคน
  2. ไนจีเรีย คาดว่าจะมีประชากรได้รับผลกระทบ 323.4 ล้านคน
  3. อินโดนีเซีย คาดว่าจะมีประชากรได้รับผลกระทบ 95.2 ล้านคน
  4. ฟิลิปปินส์ คาดว่าจะมีประชากรได้รับผลกระทบ 85.6 ล้านคน
  5. ปากีสถาน คาดว่าจะมีประชากรได้รับผลกระทบ 84.1 ล้านคน
  6. ซูดาน คาดว่าจะมีประชากรได้รับผลกระทบ 79.5 ล้านคน
  7. ไนเจอร์ คาดว่าจะมีประชากรได้รับผลกระทบ 72 ล้านคน
  8. ประเทศไทย คาดว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบ 54.1 ล้านคน
  9. ซาอุดีอาระเบีย
  10. บูร์กินาฟาโซ

ผลกระทบของระดับความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก จะส่งผลกระทบมากมาย เช่น ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ผลผลิตจากแรงงานลดลง การเรียนรู้ที่บกพร่อง สุขภาพประชากรในประเทศ ผลผลิตทางการเกษตรลดลง รวมถึงการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อที่มากขึ้น ทั่วโลกจึงจำเป็นที่จะต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเร่งควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงไปมากกว่านี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related