SHORT CUT
ปรากฏการณ์“ลานีญา” ทำฝนตกชุกทั่วไทย ส่งผลกระทบอย่างหนักกับพืชเศรษฐกิจ ทั้งเกิดโรคเชื้อรา หนอนเยอะ รากเน่ามาครบ ทำเอาเกษตรกรระทม แถมน้ำฝนยังชะล้างหน้าดินทำเอาผักงามช้า ทำเสียโอกาสในการค้าขาย
ช่วงนี้ประเทศไทยกำลังเจอพายุเข้า โดย กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนฉบับ 2 เฝ้าระวังช่วงวันที่ 3-7 ก.ย. 67 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เนื่องจากมรสุมเข้าไทย ผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก แถมไทยยังเสี่ยงกับปรากฏการณ์ลานีญา และที่สำคัญสถานการณ์น้ำท่วมก็ยังไม่คลี่คลายเต็ม100%
แน่นอนว่าปรากฏการณ์ลานีญา ทำฝนตกชุกย่อมไม่ส่งผลดีต่อพืชผัก และผลไม้แน่นอน เพราะหากได้รับน้ำในปริมาณมาก หรือน้ำขัง ก็จะทำให้เกิดโรค และความเสียหายอื่นๆ ตามมา ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า 5 โรคพืชที่มากับฝน และน้ำท่วม น้ำขัง ให้เกษตกรเฝ้าระวัง และรับมือ มีดังนี้
ใบจะเป็นจุดละเอียดสีดำ เป็นกลุ่มเล็กๆ และใต้ใบ มีราสีขาวอมเทาอ่อน คล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่ว มีแผลเกิดก่อนแล้วลุกลามขึ้นไปยังใบที่อยู่สูงขึ้นไป ใบที่มีเชื้อราขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลือง ใบจะร่วง และแห้ง สำหรับแนวทางการป้องกัน คือ เกษตรกรสามารถฉีดพ่น ป้องกันกำจัดเชื้อราไตรโคเดอร์มา สลับกับบีเอส
จะมีจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ใต้ใบตรงกันข้ามจะเป็นตุ่มขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบ และลำต้น เกษตรกรควรป้องกันด้วยการป้องกันด้วยการฉีดพ่นให้ใบด้วยไตรโคเดอร์มา สลับ กับ บีเอส อัตราที่แนะนำ หากมีฝนตกซุกให้ผสมสารจับใบ หรือคลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยไตรโดเตอร์มา และเลือกใช้เมล็ดจากแหล่งที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อนดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูก อย่าให้ชื่นแฉะเกินไป
มักจะเกิดขึ้นที่แปลงต้นกล้าจากการหว่านเมล็ดที่แน่นทึบ อับลม ต้นเบียดกัน เนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่า และแห้งรวดเร็วมาก ถ้าถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหัก พับ ต้นเหี่ยวแห้งตายเร็ว สำหรับแนวทางการป้องกันให้เตรียมแปลงให้มีการระบายน้ำดี อย่าให้น้ำขังแฉะในแปลง ใช้เมล็ดพันธุ์ดีไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ติดมากับเมล็ด และมีความงอกสูง ไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป
อาการจะเหี่ยวอย่างช้าๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีหลือง ร่วงในที่สุด จากนั้นใบจะเหี่ยวทั้งต้น เมื่อผ่าสำต้นบริเวณเหนือระดับดินตามยาวจะพบว่า ท่อน้ำ ท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล การผิดปกติของท่อน้ำ ท่ออาหารนี้จะลงไปถึงส่วนราก แนวทางการป้องกันต้องกำจัดแบบอินทรีย์ หากพบโรคในแปลง ต้องถอนต้นที่เป็นโรคมาทำลาย ควรปรับสภาพคืนด้วยปูนขาว และปุ๋ยคอก ก่อนปลูกโดยเฉพาะพริก
ต้นกล้าจะพบจุดแผลเล็กๆ สีน้ำตาลที่บริเวณใบโคนต้น ต้นโตแล้วใบมีแผลวงกลม สีน้ำตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แผลมีทั้งเล็กและใหญ่ บนแผลมักจะมีเชื้อราชั้นบางๆ เป็นผงสีดำ ผักบางชนิดและบางพันธุ์มีแผลที่ก้านใบเล็ก เป็นจุดลีน้ำตาลปนดำ เนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย วิธีป้องกัน คือ ต้องทำลายต้นเป็นโรค ขุดถอนไปเผาทิ้ง หรืออาจต้องปลูกพืชหมุนเวียน สิ่งที่ไม่ควรทำ คือการให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอย ต้องแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 30 นาที จะต้องคลุกเมล็ดด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดเชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเกษตรกรต้องฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดเชื้อไตรโดเดอร์มา ทุก 7 วัน
พามาดูเสียงสะท้อนจากติ๊กต๊อกเกอร์ด้านการเกษตรชื่อดัง ที่ลาออกจากงานประจำมาปลูกผักขาย ในพื้นที่ภาคอีสาน คุณบุ๋ม “มยุรี บุญศรี” ช่อง bumbim9105 บอกเล่าผ่านคลิปว่า หน้าฝนปี2567 ค่อนข้างสาหัสกว่าทุกปีที่ผ่าน
ซึ่งปกติจะได้รับผลกระทบประมาณเดือน กันยายน ตุลาคม แต่ปี2567 มาเร็ว มาแรงกว่าที่คิดพร้อมกันนี้ยอมรับหน้าฝนปลูกผักยากกว่าหน้าแล้งที่ผ่านมา ทั้งค้างฟักแฟงจากดินอุ้มน้ำแล้วยุบ โรคเยอะขึ้นทั้งรา รากเน่า หนอนที่เยอะขึ้น อีกทั้งยังเจอกับน้ำฝนชะล้างหน้าดินทำผักงอกงามช้า
ทั้งหมดคือ ปัญหาที่เกษตรกรไทยที่ปลูกพืชเศรษฐกิจจำหน่าย หรือปลูกไว้รับประทานในครอบครัว กำลังเผชิญกับ “ลานีญา” ที่ทำฝนตกชุก ส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจเกิดโรค ทั้งเชื้อรา หนอนเยอะ รากเน่า มาครบ นับว่าเป็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นทุกวัน!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง