svasdssvasds

เปิดโมเดลฮับ "ศูนย์กระจายสินค้ารักษ์โลก" ประหยัดพลังงานทุกมิติ

เปิดโมเดลฮับ "ศูนย์กระจายสินค้ารักษ์โลก" ประหยัดพลังงานทุกมิติ

พามาดูโมเดลฮับศูนย์กระจายสินค้ารักษ์โลก ยุคใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานทุกมิติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการออกแบบอาคารติดกระจกกันความร้อน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการประหยัดพลังงานอื่นๆ

เทรนด์การทำธุรกิจวันนี้เห็นที่ทุกภาคธุรกิจจะต้องเอาใจลูกค้าด้วยการทำธุรกิจแบบรักษ์โลก และประหยัดพลังงานกันให้สุดๆ ปัจจุบันพบว่าธุรกิจไหน ๆก็หันมาใส่ใจรักษ์โลก ลดการปล่อยของเสีย และก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะหลังโควิด-19 มีหลายธุรกิจมีการเติบโตสูงขึ้น นั่นหมายความว่าการเติบโต และกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวก็มีผลต่อเรื่องของพลังงานและสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

โดยเฉพาะธุรกิจศูนย์กระจายสินค้า ที่เติบโตมากหลังธุรกิจออนไลน์ และการส่งออก เริ่มขยับตัวได้ดีขึ้น จึงทำให้ถูกมองว่าศูนย์กระจายสินค้า เป็นตัวการในการใช้พลังงานสิ้นเปลือง เพราะเกี่ยวข้องกับภาคขนส่ง โลจิสติกส์ อีกทั้งยังมีศูนย์กระจายสินค้าบางบางอาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ถูกมองว่าเป็นธุรกิจที่ใช้พลังานจำนวนมาก และมีการปล่อยมลพิษ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันนี้จะพามาเปิดโมเดลต้นแบบที่รักษ์โลก ประหยัดพลังงาน พร้อมเป็นการผลักดันไทยสู่ฮับศูนย์กระจายสินค้ารักษ์โลก พร้อมประหยัดพลังงานทุกมิติ โดยนายธิติ  คัณธามานนท์ ประธานบริหาร SIAMJNK ผู้ให้บริการคลังสินค้าให้เช่า พื้นที่ให้บริการรวม กว่า 60 ไร่ ครอบคลุมใจกลาง CBD เปิดเผยว่า โมเดล และรูปแบบการบริหารของธุรกิจคลังสินค้าของ SIAMJNK ปัจจุบันเน้นการักษ์โลก และให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อนุรักษณ์พลังงานมากที่สุด ให้เข้ากับเทรนด์โลก เทรนด์ลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ทั้งนี้หากถามว่า และศูนย์กระจายสินค้า จะช่วยรักษ์โลกได้อย่างไร คำตอบคือ SIAMJNK จะเน้นตั้งแต่การประหยัดพลังงานด้วยการเลือกทำเล ที่ใกล้กับลูกค้า และใกล้การขนส่ง เพื่อลดการประหยัดพลังงานในการขนส่ง สามารถประหยัดน้ำมัน ลดต้นทุนในการขนส่งได้ และหากการขนส่งใกล้ลงก็จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วย ไม่เพียงเท่านั้นการออกแบบอาคารยังเน้นในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ด้วยการติดกระจกให้อาคารมีความประหยัดพลังงาน ลดความร้อนที่จะเข้ามาในอาคารได้

เปิดโมเดลฮับ \"ศูนย์กระจายสินค้ารักษ์โลก\" ประหยัดพลังงานทุกมิติ  

 

พร้อมกันนี้ในอาคารยังมีการติดตั้งโซล่ารูฟท็อป เพื่อเป็นการดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในศูนย์กระจายสินค้า ในขณะเดียวกันระบบน้ำประปาจะใช้มิเตอร์น้ำดิจิทัลทำให้ลูกค้าสามารถดูผ่านระบบคลาวด์ได้ สามารถนำข้อมูลที่ได้แบบเรียลไทม์ไปต่อยอด วิเคราะห์ ควบคุมในการประหยัดน้ำได้ ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ แผนการดำเนินที่จะช่วยให้ธุรกิจประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนแผนงานอื่นๆ ล่าสุดมีการจัดสัมมนา “เจาะแผน Hub Logistics ไทย ร่วมเป็นนายหน้ามืออาชีพกับ SIAMJNK” เป็นความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นผลมาจากความเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในและปริมณฑล ที่ความต้องการคลังสินค้าให้เช่าคุณภาพสูงยังเป็นเทรนด์ของกลุ่มผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง 

อีกทั้งสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสต์ในภูมิภาคเอเชีย โดยตลาด e Commerce เป็นตัวเร่งอย่างสำคัญที่ทำให้รูปแบบของโลจิสติกส์ไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในช่วง Covid-19 ทำให้ตลาด e Commerceในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีตัวเลขขยายตัวถึง  26% ต่อปี ทำให้กลุ่มธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และกลุ่มหัวเมืองสำคัญในภูมิภาคโดยเฉพาะความสนใจในการเช่าพื้นที่คลังสินค้าสำเร็จ (Built-to-Suit) และ Warehouse ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกัน บุคคลากรที่เข้ามาเป็นตัวเชื่อมสำคัญคือ ตัวแทนนายหน้า หรือเอเย่นต์ อสังหาฯคลังสินค้าให้เช่า กลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุปสงค์และอุปทานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นโอกาสที่ท้าทายสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการแสวงหาโอกาสในการทำอาชีพตัวแทนนายหน้าอย่างยิ่ง

ขณะนี้ตลาดคลังสินค้ามีมูลค่าสูงถึง 900 ล้านบาท โดยช่วง 2-3 ปีที่เกิดโควิด-19 โตขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด จากการขายสินค้าออนไลน์และการหาพื้นที่ในการจัดเก็บสต๊อกสินค้า ซึ่งเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% และทิศทางหลังจากนี้คาดว่าจะมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นอีก โดยเห็นได้จากมีผู้เล่นเข้ามาในตลาดนี้เพิ่มมากขึ้น อาทิ กลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ที่เริ่มขยายเข้ามาในธุรกิจดังกล่าว ทำให้คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า มูลค่าตลาดมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว อยู่ที่ 1,800 ล้านบาท

เปิดโมเดลฮับ \"ศูนย์กระจายสินค้ารักษ์โลก\" ประหยัดพลังงานทุกมิติ

สำหรับ SIAMJNK GROUP เป็นผู้บริหารคลังสินค้าให้เช่ามากว่า 10 ปี ใน 5 ทำเลสำคัญใจกลาง CBD ประกอบ ด้วย สาทร,ราษฏร์บูรณะ,ลาดพร้าว,วิภาวดี- สุทธิสาร และพระสมุทรเจดีย์ ในเขตพื้นที่สีม่วงชิดกรุงเทพฯรวมพื้นที่กว่า 60 ไร่ มองเห็นโอกาสสำคัญผู้ที่ต้องการค้นหาศักยภาพตนเอง เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในการก้าวเข้าสู่เส้นทางสายตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ คลังสินค้าให้เช่า ซึ่งเป็นอาชีพที่สามารถเติมเต็มความฝัน และสร้างความมั่นคงได้ในแบบที่เรียกว่าเสือนอนกิน เพราะทุกครั้งที่มีการทำสัญญาเช่า ตัวแทนนายหน้าจะได้รับค่าคอมมิชชั่นทุกครั้งของการต่อสัญญาแล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละคลังสินค้า

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ธนา  วณิชย์กอบจินดา ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงข่ายโลจิสติกส์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงทิศทางการขยายโครงข่ายโลจิสติกส์ของภาครัฐว่าจากแผนปฎิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย(พ.ศ.2566 – 2570) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) มีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ระบบโลจิสติกส์เป็นกลไกผลักดันให้ไทยเป็นประตูการค้าในอนุภูมิภาค และภูมิภาค ด้วย 5 แนวทาง ประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ,การยกระดับมาตรฐานและการเพิ่มมูลค่าโซ่อุปทาน ,การพัฒนาพิธีการศุลกากรกระบวนการนำเข้า – ส่งออกที่เกี่ยวข้องและการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ,การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในไทย

และการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาบุคลากรและการติดตามผลด้านโลจิสติกส์ โดยมีตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์เป็นการลดสัดส่วนต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อ GDP ให้เหลือร้อยละ 5 ลดสัดส่วนด้านต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อ GDPให้เหลือร้อยละ  5 อันดับ LPI (Logistics Performance Index) ดรรชนีชี้วัดด้านศุลกากรระหว่างประเทศของไทยอยู่ในอันดับที่ 25 หรือไม่ต่ำกว่า 3.20 คะแนน และ LPIด้านสมรรถนะ และ LSPs (Logistics Service Provider) หรือผู้ประกอบการด้านธุรกิจโลจิสติกส์ภายนอก ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจอยู่ในอันดับที่ 25 หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 3.60 คะแนน ภายในปี พ.ศ.2570

ในทางปฏิบัติของกระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2558-2565 มุ่งยกระดับการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งทางราง ถนน น้ำ และอากาศ   อาทิ โครงการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมโยงอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออกและตะวันตก ระยะสั้น (การเดินเรือเฟอร์รี่) ,โครงการปรับปรุงและพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง 20G ที่ท่าเรือกรุงเทพ หรือการเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ในทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก และสายใต้ ซึ่งจะทำให้การเดินทางเชื่อมต่อของระบบขนส่งมวลชนทั้งทางราง ถนน น้ำและอากาศเป็นไปอย่างไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของรัฐบาลไทยในการพัฒนาภาคใต้ ภายใต้การเชื่อมโยงเส้นทางสายไหมทางทะเล หนึ่งในยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีน ที่ต้องการเชื่อมโยงแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจีน - คาบสมุทรอินโดจีนเข้าด้วยกัน ที่ภาครัฐของไทยใช้งบประมาณกว่าแสนล้านบาท เพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง คือท่าเรือระนองแห่งใหม่ ท่าเรือชุมพร ในรูปแบบ Smart port ที่ควบคุมการบริหารจัดการด้วยระบบ Automation มีความลึกถึง 15 เมตร เพื่อให้เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เทียบท่าได้ ควบคู่ไปกับการสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมระหว่าง 2 ท่าเรือ พร้อมทั้งก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (Moterway) ระหว่างท่าเรือทั้งสอง ที่มีตลอดความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร จะช่วยย่นระยะเวลาการขนส่งสินค้าระหว่างฝั่งทะเลอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามันลงได้ถึง 2 วัน อำนวยความสะดวกให้กับสินค้าระหว่างฝั่งทะเลทั้งสองกระจายไปได้ถึงท่าเรือ Colomboหรือท่าเรือมหินทรา ท่าเรือราชปักษาของศรีลังกา

ในขณะที่การพัฒนาโครงสร้างคมนาคมทางบกนั้น ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีนที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าใน 65 ประเทศบนเส้นทางสายไหมใหม่ ได้มีการพัฒนาเส้นทางรางและถนน เพื่อเชื่อมโยงอนุภูมิภาคและภูมิภาคหลายเส้นทาง อาทิ เส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง จีน -ลาว ความยาว 414 กิโลเมตรเชื่อมระบบการขนส่งทางรางจากเมืองคุนหมิงของจีนกับสิงคโปร์ โดยผ่านลาว ไทย และ มาเลเซีย ระบบรางถูกออกแบบให้สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ความเร็วได้มากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเป็นเส้นทางเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจจีน กับคาบสมุทรอินโดจีน ที่มีประเทศสมาชิก 6 ประเทศคือ จีน ,สิงคโปร์,พม่า,กัมพูชา,เวียดนามและมาเลเซีย แม้ไทยไม่ได้เป็นประเทศสมาชิก แต่มีความสามารถในการเชื่อมโยงได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน 

อีกทั้งการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แนวเหนือ- ใต้ (North-South Economic Corridor:NSEC) เส้นทางสาย R3A เชื่อมจีนตอนใต้ ลาว และไทยที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เส้นทาง R3B เชื่อมคุนหมิง – กรุงเทพ- รัฐฉานในพม่า  ,เส้นทาง R5 เชื่อมหนานหนิงเมืองหลวงของกว่างซีในจีน - ลาวเซิน เวียดนาม – สิ้นสุดที่ท่าเรือไฮฟองในเวียดนาม หรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้(Southern Economic Corridor:SEC) เส้นทางทวาย- ทิกิ – กรุงเทพ – อรัญประเทศ – โฮจิมินห์ - หวังเตา เป็นต้น ซึ่งจะทำให้อนุภูมิภาคและภูมิภาคถูกเชื่อมโยงกันทั้งหมด เปิดโอกาสให้สินค้าของไทยเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้มากขึ้นประกอบกับแผนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานคร 20 ปี(2556-2575) ภายใต้วิสัยทัศน์ “มหานครแห่งเอเชีย” มิติขนาดประชากร กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวนประชากรรวม 15 ล้านคน ใกล้เคียงกับเมืองใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น คือ เขตนครโอซาก้า โกเบ และ เกียวโต ซึ่งมีประชากรประมาณ 17 ล้านคน ในด้านมิติขนาดเศรษฐกิจ กรุงเทพฯ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 8.2 ล้านล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดเศรษฐกิจของกรุงมะนิลา ของฟิลิปปินส์ ที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่าเขตนครโอซาก้า โกเบ และเกียวโตถึง 3 เท่า

 

related