svasdssvasds

เปิด 6 มาตรการ แก้ไขปัญหา “ก๊าซหุงต้ม LPG” ใหม่ทั้งระบบ ช่วยเหลือประชาชน

เปิด 6 มาตรการ แก้ไขปัญหา “ก๊าซหุงต้ม LPG” ใหม่ทั้งระบบ ช่วยเหลือประชาชน

พาไปดูการแก้ไขปัญหาระบบการค้าและความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน หรือ (ก๊าซหุงต้ม) ของกรมธุรกิจพลังงาน กับ 6 มาตรการ แก้ปัญหาก๊าซหุงต้ม LPG ใหม่ ที่จะช่วยเหลือประชาชน มีอะไรบ้าง

ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่มีความสำคัญในปัจจุบัน ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือน  ร้านอาหาร ภัตตาคาร พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และในรถยนต์ เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่ขนส่งสะดวกไม่เปลืองที่เก็บ และที่สำคัญคือ เผาไหม้แล้วเกิดเขม่าน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น โดยแหล่งที่มาของก๊าซมี 2 แหล่ง

ได้แก่ 1. ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งจะได้ก๊าซโปรเปนและบิวเทนประมาณ 1-2% และ 2.ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะมีก๊าซโปรเปนและบิวเทนในก๊าซธรรมชาติประมาณ 6-10% ก๊าซธรรมชาติ ที่นำขึ้นมาจะส่งเข้าสู่โรงแยกก๊าซ ( gas separation plant )  เพื่อทำการแยกเอาสารไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในก๊าซธรรมชาติ ออกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าก๊าซหุงต้ม LPG มีความจำเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำนวนวันของผู้คน และภาคธุรกิจ ถ้าหากช่วงเวลาใดที่ราคาก๊าซหุงต้ม LPG ปรับตัวสูงขึ้นก็จะสูงผลกระทบกับพี่น้องประชาชน ภาคธุรกิจ อย่างเช่นที่ผ่านมาราคาก๊าซหุงต้ม LPG บ้านเรามีบางจังหวะที่ผันผวน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พยายามเดินหน้าแก้ไขปัญหากันอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้กระทบกับพี่น้องประชาชน

ล่าสุดนางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยแนวทางแก้ไขปัญหาระบบการค้าและความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน หรือ (ก๊าซหุงต้ม) กรมธุรกิจพลังงานโดยคณะทำงานแก้ไขปัญหาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในภาคครัวเรือน ได้จับมือร่วมกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อกำหนดมาตรการร่วมกัน ดังนี้

1. กำหนดมาตรฐานและคุณภาพถังก๊าซหุงต้ม โดยกรมฯผู้ค้าก๊าซหุงต้ม และผู้แทนโรงบรรจุและร้านจำหน่าย ร่วมกันพิจารณาเกณฑ์การคัดสภาพถังกลาง เพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินการร่วมกัน พร้อมทั้งขอให้โรงบรรจุรับคืนถังเสื่อมสภาพจากร้านจำหน่าย เพื่อส่งผู้ค้าฯ ดำเนินการต่อไป

2. มาตรการด้านกฎหมายความปลอดภัยโรงบรรจุและร้านจำหน่าย จัดทำขั้นตอนการตรวจตราและบันทึกการตรวจสอบ (Checklist) พร้อมซักซ้อมความเข้าใจสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ

3. มาตรการด้านกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา (ทป.) จัดทำขั้นตอนการดำเนินการเมื่อพบถังไม่ได้คุณภาพ

4. การร้องเรียนและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อยู่ระหว่างหารือผู้ค้าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดตั้ง Hotline รับเรื่องร้องเรียน คาดจะเริ่มดำเนินการภายในเดือนกันยายน 2566

5. การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียกเก็บและการซ่อมถังก๊าซหุงต้ม กรมได้ขอความร่วมมือผู้ค้าฯ ที่มีศักยภาพซ่อมถัง ให้เปิดรับบริการผู้ค้าฯ รายอื่น เพื่อลดข้อจำกัดการขนส่งและระยะเวลาการซ่อม ตลอดจนการประสานความร่วมมือเรียกเก็บถังทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งแนวทางอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดร่วมกับผู้ค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการภายในเดือนตุลาคม 2566

6. การแก้ไขปัญหาการลักลอบเติมถังก๊าซหุงต้มในสถานีบริการ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและลดการกระทำผิด กรมได้กำหนดอัตราปรับเต็มขั้น และกำชับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ออกตรวจตราเข้มข้นมากขึ้น

"ขอยืนยันเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาถังก๊าซหุงต้มทั้งระบบโดยประสานความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้ประชาชน และให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนโดยยึดประโยชน์ของภาคประชาชนเป็นสำคัญ  เพิ่มความถี่การตรวจตราและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และประกาศอัตราปรับเต็มขั้นที่ 25,000 บาทในครั้งแรก และมีรางวัลนำจับ 25% ของอัตราค่าปรับ"

สำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบประชาชนภายหลังคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ตรึงราคาก๊าซ LPG ที่ถังละ 423 บาท โดยจะไปสิ้นสุดวันที่ 31 ส.ค. 2566 นี้ คงต้องรอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ประชุมหารือว่าจะใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ มาพยุงราคาที่เท่าเดิมต่อหรือไม่ เพราะหากตรึงไว้ที่เท่าเดิมก็สามารถทำได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงฐานะกองทุนน้ำมันฯ ด้วยเช่นกัน

related