svasdssvasds

“บ้านปู เพาเวอร์” รุกธุรกิจผู้นำผลิตพลังงานยั่งยืน และลดการปล่อย CO2

“บ้านปู เพาเวอร์” รุกธุรกิจผู้นำผลิตพลังงานยั่งยืน และลดการปล่อย CO2

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า เผยแผนธุรกิจสู่ทศวรรษ 2030 ขยายพอร์ตธุรกิจให้เป็นมากกว่าการผลิตไฟฟ้า และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2

ปี 2023-2024 นับเป็นปีที่เห็นที่มนุษย์โลกและสิ่งมีชีวิต ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ climate change มากอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนที่ยกระดับจากโลกร้อน เข้าสู่ภาวะโลกเดือด , น้ำท่วม , แผ่นดินไหว , ภัยแล้ง , ฝุ่น PM2.5 , เอลนีโญและลานีญ่า ทั้งหมดเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ หลายภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาทั้งหมด จึงร่วมมือและเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาแบบยั่งยึน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

นายอิศรา นิโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพระดับสากล  กล่าวว่า "จากความมุ่งมั่นในการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสู่สังคม (Powering Society with Quality Megawatts) และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 20 ปี ใน 8 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  BPP เล็งเห็นความต้องการด้านพลังงานในอนาคตที่มุ่งไปในทิศทางที่ยั่งยืนและทันสมัยมากขึ้น 

“บ้านปู เพาเวอร์” รุกธุรกิจผู้นำผลิตพลังงานยั่งยืน และลดการปล่อย CO2

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP จึงได้กำหนดแผนการเติบโตทางธุรกิจจากปัจจุบันสู่ทศวรรษ 2030 หรือจนถึงปี 2573 ที่จะขยายพอร์ตธุรกิจที่ไม่จำกัดเฉพาะภาคการผลิตไฟฟ้า โดยเปิดประตูสู่น่านน้ำใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตพลังงานอาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (Energy Infrastructure) โครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage: CCUS) และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS)

นอกจากนี้ ยังคงมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินงาน และการขยายโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ด้วยแนวทางนี้ เรามั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอแก่ผู้ถือหุ้น และสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจพลังงานยุคใหม่ที่ยั่งยืนและสอดรับกับบริบทใหม่ของสังคม"

“บ้านปู เพาเวอร์” รุกธุรกิจผู้นำผลิตพลังงานยั่งยืน และลดการปล่อย CO2

แผนการเติบโตทางธุรกิจ “บ้านปู เพาเวอร์”  

1. ขยายการเติบโตด้านพลังงานไฟฟ้าคุณภาพผ่านโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ

ขยายการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ CCGT (Combined Cycle Gas Turbines) โดยเน้นตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา จากปัจจุบันที่ BPP มีโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอยู่แล้ว2 แห่ง คือโรงไฟฟ้า Temple I และโรงไฟฟ้า Temple II ในรัฐเท็กซัส โดยโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ CCGT ถือเป็นสินทรัพย์ที่ส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากไม่เพียงสามารถสร้างกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอให้แก่บริษัทฯ แต่ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเทคโนโลยี CCGT ที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE) 

2. รักษาสมดุลระหว่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและตลาดไฟฟ้าเสรี 

รักษาสมดุลของพอร์ตธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) และตลาดไฟฟ้าเสรี (Merchant Market) เพื่อนำข้อได้เปรียบของรูปแบบการซื้อขายไฟฟ้าแต่ละประเภทมาก่อให้เกิดโอกาสในการสร้างรายได้สูงสุดจากการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า โดยสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคงจากรูปแบบสัญญา PPA และสร้างโอกาสการทำผลกำไรสูงจากรูปแบบตลาดไฟฟ้าเสรี  ทั้งนี้ BPP มีประสบการณ์การทำธุรกิจตลาดไฟฟ้าเสรี ERCOT (Electric Reliability Council of Texas) ในรัฐเท็กซัส เป็นอย่างดี และพร้อมแสวงหาโอกาสในตลาดไฟฟ้าเสรีอื่น ๆ  อีกทั้งกำลังพัฒนาธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่องในตลาดไฟฟ้าเสรี ทั้งธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า (Power Trading) และธุรกิจค้าปลีกไฟฟ้า (Power Retail) เป็นการต่อยอดจากธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน

“บ้านปู เพาเวอร์” รุกธุรกิจผู้นำผลิตพลังงานยั่งยืน และลดการปล่อย CO2

3. ลงทุนในโครงการ CCUS เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์

ขยายการลงทุนในโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) โดยในปี 2566 ได้ลงทุนในโครงการ Cotton Cove ซึ่งนับเป็นโครงการ CCUS แห่งแรกของ BPP ที่คาดจะสามารถเริ่มดำเนินการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ และคาดอัตรากักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 45,000 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีในระยะเริ่มแรก นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ในระหว่างการศึกษาอีกหลายโครงการ

4. ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่

มองหาโอกาสลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน อาทิ ระบบสายส่งไฟฟ้า (Electricity Transmission 
System) โดยมุ่งเน้นโครงการที่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้ทันทีและโครงการที่มีศักยภาพในการสร้างกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งในอนาคต และการลงทุนในโครงการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างในสินทรัพย์ที่มีอยู่ของ BPP ได้ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะช่วยเสริมความมั่นคงในการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ระบบนิเวศการใช้พลังงานที่ยั่งยืน

related