svasdssvasds

อัปเดตสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก น้องๆ เป็นอย่างไร? เพิ่มหรือลดจำนวนแค่ไหน

อัปเดตสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก น้องๆ เป็นอย่างไร? เพิ่มหรือลดจำนวนแค่ไหน

ช่วงนี้มีข่าวการพบเห็นสัตว์ทะเลหายากบ่อยๆหลายคนคงอยากรู้ว่าสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยเป็นอย่างไร? เรามาอัปเดตกันหย่อยดีกว่าว่าน้องๆ เป็นอย่างไรกันบ้างเพิ่มหรือลดจำนวนแค่ไหน?

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊คส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat อัปเดตสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากในประเทศไทย ซึ่งมีข่าวดีหลายอย่างเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ทั้งการเพิ่มจำนวนและแผนการอนุรักษ์

อัปเดตสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก น้องๆ เป็นอย่างไร? เพิ่มหรือลดจำนวนแค่ไหน

  • วาฬบรูด้า - อยู่ดีมีสุข วันนี้ผ่านร่างประกาศท่องเที่ยวดูวาฬ จะเป็นกม.นำร่องของไทยในการดูแลเรื่องท่องเที่ยวสัตว์ทะเลหายาก ผมปรับแก้ระยะห่างของโดรนกับระยะห่างในน้ำนิดหน่อย เพื่อความปลอดภัยของน้องวาฬ ห่างสักนิดดีกว่านะครับ
  • ฉลามวาฬ - มีรายงานเรื่อยๆ ต้องอาศัยอาสาสมัครช่วยด้วย มีตายบ้างแต่ยังน้อยเมื่อเทียบกับประชากรที่เจอตอนนี้กำลังเน้นก้าวต่อไป อยากให้ชุมพรเป็นจังหวัดนำร่อง เพราะอยู่ไม่ไกลฝั่ง กรมทะเลมีศูนย์ใหญ่อยู่ที่นั่น
  • พะยูน - พบ 273 ตัวดูดีนะ เพิ่มมากกว่านี้เป็นไปได้ แต่ต้องดูสมดุลระหว่างพะยูนกับแหล่งหญ้าทะเล พะยูนมีคณะพะยูนแห่งชาติช่วยวางแผน งบประมาณมาจากทางนั้นมากกว่า
  • โลมาอิรวดีสงขลา - กระแสมา อะไรก็ดูดีขึ้น มีการสำรวจต่อเนื่อง เริ่มเจอน้องบ่อยขึ้น วันนี้พิจารณาแผนอนุรักษ์ระยะยาว 10 ปี ครบถ้วนทุกหน่วยงาน หากได้งบประมาณตามขอ เรื่องนี้จะเป็นก้าวกระโดดของการดูแลสัตว์หายากไทย ปัญหาคือต้องรอผ่านครม. ก็คงต้องสักแป๊บครับ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

อัปเดตสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก น้องๆ เป็นอย่างไร? เพิ่มหรือลดจำนวนแค่ไหน

  • เต่า - ข้อมูลยังไม่ครบปี (งบประมาณ) แต่มีข่าวดีหลายอย่าง ได้แก่ โรงพยาบาลสัตว์หายากระยองใกล้เสร็จแล้ว รักษาได้ 40 ตัว (ตอนนี้มีน้องๆ ป่วยอยู่ 23 ตัว) ผมอยากให้ติดตามแม่เต่ามะเฟืองด้วยดาวเทียม ฯลฯ คงได้เริ่มในไม่ช้า (หากไม่ติดงบประมาณ) ปีนี้มีเต่าวางไข่ 13 รัง ลูกเต่ามะเฟืองลงทะเล 900+ ตัว
  • ฉลาม - ฉลามเสือดาวน่าจะเป็นสัตว์คุ้มครองในไม่ช้า (เสนอไปแล้ว) ที่เหลือยังต้องพยายามต่อไป การอนุรักษ์ฉลามต้องช่วยกันหลายทาง เพราะคณะสัตว์หายากเน้นสัตว์ที่มีกม.คุ้มครองแน่ชัดครับ
  • โรนิน - ไม่มีรายงานเลย
  • วาฬสีน้ำเงิน - สัตว์สงวนรายล่าสุด คณะผมเสนอเป็นสัตว์คุ้มครอง ได้รับการอัปเกรดเป็นสัตว์สงวนโดยคณะกรรมการสัตว์สงวน/คุ้มครองสัตว์ป่า เมื่อเป็นสัตว์สงวน เราต้องมีงานสำรวจพื้นฐานพื้นที่แรกคือเป็นทะเลห่างฝั่งรอบสุรินทร์สิมิลัน จะมาเล่าให้ฟังอีกที

การอนุรักษ์ - พื้นที่คุ้มครองพะยูนที่ตรังเรียบร้อยแล้ว กำลังจะประกาศเพิ่มที่กระบี่และพังงา การอนุรักษ์รายตัวเริ่มจากมาตรการท่องเที่ยววาฬบรูด้า ในอนาคตจะหาทางขยายไปตัวอื่นๆ

การสำรวจ - ตอนนี้ได้โดรนใหญ่ 4 ตัว (UAV ปีกนิ่ง) ประจำการ 4 ศูนย์ (ระยอง ชุมพร ตรัง ภูเก็ต) แต่ละตัวครอบคลุมพื้นที่ 15 ตร.กม. ยังมีโดรนตัวเล็กประจำการทุกศูนย์

ผมเชื่อว่าใน 1-2 ปีนี้ เราจะก้าวกระโดดในเรื่องการสำรวจสัตว์หายาก เพราะอุปกรณ์ที่ได้จาก MMPA (เคยเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟังหลายหนแล้ว) ช่วยทำให้เรารุดหน้าไปได้ แต่แน่นอนว่า อาสาสมัครนักบินอย่างลุงเอ๊ด คุณทอม ช่วยเราได้มากๆ  จุดเปลี่ยนสำคัญอีกประการคือการสำรวจสัตว์ทะเลหายากห่างฝั่ง เป็นกลุ่มที่เราแทบไม่เคยมีข้อมูล แต่ต่อจากนี้เราจะเริ่มแล้วครับ เรากำหนดพื้นที่ไว้แล้ว เอาไว้จะเล่าให้ฟังเป็นระยะ

"สรุปง่ายๆ คือ 8-9 ปีที่ทำมา เราก้าวไปข้างหน้าครับ แม้งบประมาณด้านนี้จะจำกัด (มากๆ) แต่กระแสสัตว์หายากมีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะวนกลับไปช่วยสนับสนุนงบประมาณในอนาคต ขอบคุณเพื่อนธรณ์ทุกท่านที่ช่วยกัน หากอยากแนะนำอะไร ขอเชิญเลยนะครับ"

อัปเดตสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก น้องๆ เป็นอย่างไร? เพิ่มหรือลดจำนวนแค่ไหน

ที่มา : FB Thon Thamrongnawasawat