svasdssvasds

‘ซูเปอร์บลูมูน’ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ครั้งที่ 2 ของเดือน พลาดรออีก 14 ปี

‘ซูเปอร์บลูมูน’ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ครั้งที่ 2 ของเดือน พลาดรออีก 14 ปี

‘ซูเปอร์บลูมูน’ (Super Blue moon) ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี และเป็นครั้งที่ 2 ของเดือน ดวงจันทร์จะใหญ่กว่าปกติ สามารถชมซูเปอร์บลูมูนได้วันที่ 30 สิงหาคม ถึงรุ่งเช้า 31 สิงหาคม 2566 หากพลาดปรากฏการณ์ครั้งนี้ รออีก 14 ปี

ปรากฏการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน” (Super Blue moon) หรือดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร และในคืนดังกล่าวยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ บลูมูน (Blue Moon)

‘ซูเปอร์บลูมูน’ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ครั้งที่ 2 ของเดือน พลาดรออีก 14 ปี

ในคืนวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ที่ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และความสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15% เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวง “ซูเปอร์บลูมูน” (Super Blue moon) ในครั้งนี้ คือช่วงเย็นวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ดูได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์อีกด้วย

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

www.narit.or.th

บลูมูน (Blue moon) ไม่ได้หมายถึงดวงจันทร์สีน้ำเงิน แต่ในทางดาราศาสตร์แล้ว บลูมูน หมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน ซึ่งปรากฏการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน” (Super Blue moon) เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยปกติแล้วดวงจันทร์จะมีการโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน ในขณะที่หนึ่งเดือนในปฏิทินที่เราใช้กันมี 30-31 วัน ส่งผลให้เมื่อวันเวลาผ่านไป บางเดือนมีวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งในช่วงต้นเดือนและปลายเดือนซึ่งนานทีจะเกิดขึ้น และอาจทำให้ใครหลายคนนึกถึงสำนวนภาษาอังกฤษอย่าง Once in a blue moon ที่หมายถึงอะไรที่เกิดขึ้นได้ยาก หรือนานๆ จะเกิดขึ้นที

เราสามารชม “ซูเปอร์บลูมูน” ด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ ในช่วงที่ฟ้าใสไร้เมฆหรือถ้าอยากเห็นแบบเต็มตาสามารถดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ หรือสามารถชมได้ที่หอดูดาวทั้ง 4 แห่งที่เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และฉะเชิงเทรา ด้าน NASA ได้เผยว่า Super Blue moon ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในปี 2037 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า 

 

ที่มา : NARIT / Science Alert

ภาพ : pixabay